พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปทุมปูชกเถราปทานที่ ๑๐ (๑๓๐) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41123
อ่าน  298

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 444

เถราปทาน

เสเรยยวรรคที่ ๑๓

ปทุมปูชกเถราปทานที่ ๑๐ (๑๓๐)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 444

ปทุมปูชกเถราปทานที่ ๑๐ (๑๓๐)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว

[๑๓๒] ในที่ไม่ไกลจากภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาชื่อโคตมะ ดาดาษ ด้วยต้นไม้ต่างชนิด เป็นที่อยู่ของหมู่มหาภูต (ยักษ์).

ในท่ามกลางภูเขานั้นมีอาศรมที่เราสร้างไว้ เราแวดล้อม ด้วยพวกศิษย์ของตน อยู่ในอาศรมนั้น ได้สั่งศิษย์ทั้งหลาย ว่า

คณะศิษย์ของเรา (เมื่อมาหาเรา) ขอจงนำเอาดอกบัวมา ให้เรา เราจักทำพุทธบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้จอมสัตว์ ผู้คงที่.

ศิษย์เหล่านั้นรับคำที่เราสั่งอย่างนี้แล้ว นำเอาดอกบัวมา ให้เรา เรากระทำเครื่องหมายอย่างนั้นบูชาแด่พระพุทธเจ้า.

ในกาลนั้น เราประชุมศิษย์ทั้งหลายแล้ว พร่ำสอนด้วยดี ว่า ท่านทั้งหลายอย่าประมาทนะ เพราะว่าความไม่ประมาท นำสุขมาให้.

ครั้นเราพร่ำสอนบรรดาศิษย์ของตน ผู้อดทนต่อคำสอน อย่างนี้แล้ว ประกอบตนในคุณ คือความไม่ประมาท ได้ทำ กาละในกาลนั้น.

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 445

ในกัปที่ ๕๑ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช มีนามว่าชลุตตมะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระปทุมปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบปทุมปูชกเถราปทาน

๑๓๐. อรรถกถาปทุมปูชกเถราปทาน

อปทานของท่านพระปทุมปูชกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญบุญมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ท่านได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว สำเร็จการศึกษา ในศิลปะของตน แต่มองไม่เห็นสาระประโยชน์ในศิลปะนั้น ไม่ได้รับ การแนะนำพร่ำสอน เพราะค่าที่ตนเกิดมาก่อนแต่ที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น จึงละเพศฆราวาส บวชเป็นฤๅษี สร้างอาศรมอาศัยบรรพตชื่อโคตมกะ ซึ่งไม่ไกลจากภูเขาหิมวันต์นัก ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้เกิดขึ้น แล้ว เป็นอยู่ด้วยความสุขในฌานนั่นแล. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ เป็นพระพุทธเจ้า ทรงรื้อขนสัตว์ทั้งหลาย ออกจากสงสาร ได้เสด็จไปยังหิมวันตประเทศเพื่ออนุเคราะห์เขา. ดาบส

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 446

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วมีจิตเลื่อมใส ให้ศิษย์ของตนทั้งหมดมาประชุม พร้อมกันแล้ว ก็ให้ศิษย์เหล่านั้นนำเอาดอกปทุมทั้งหลายมาบูชาแล้ว. ด้วย บุญอันนั้น ดาบสนั้นได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้เสวย สมบัติจนครบทั้ง ๒ แล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือน อันมีตระกูลในกรุงสาวัตถี มีศรัทธาเลื่อมใสได้บวชแล้ว ไม่นานนัก ก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศ เรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้. บทว่า โคตโม นาม ปพฺพโต ความว่า ภูเขา ที่ได้ปรากฏ ชื่อว่า โคตมะ เพราะเป็นที่อยู่ของพวกยักษ์และเทวดาเป็น อันมาก และเพราะเป็นที่อยู่ของท่านโคตมะด้วยอำนาจแรงอธิษฐาน. ชื่อว่า บรรพต เพราะเป็นไปมั่นคง. บทว่า นาครุกฺเขหิ สญฺฉนฺโน มีวิเคราะห์ ว่า ชื่อว่า รุกขะ เพราะงอกขึ้นตั้งอยู่, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า รุกขะ เพราะแทงแผ่นดินงอกขึ้น. ต้นไม้ทั้งหลายเช่นต้นจำปา การบูร กากะทิง กฤษณา และต้นจันทน์เป็นต้น หลายชนิดหลายอย่าง รวมเรียกว่า นานารุกขะ, เชื่อมความว่า ภูเขาโคตมะนั้น ดารดาษเกลื่อนกล่นไปด้วย ต้นไม้นานาชนิดเหล่านั้น. บทว่า มหาภูตคณาลโย มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ภูตะ เพราะมีขึ้นเกิดขึ้นอุบัติขึ้นและเจริญ, สัตว์เหล่านั้นมีมากด้วย เป็นภูตด้วย ดังนั้น จึงชื่อว่า มหาภูตะ. คณะคือหมู่ของมหาภูตทั้งหลาย ชื่อว่า มหาภูตคณะ, ที่อยู่ที่อาศัยของหมู่มหาภูต ชื่อว่า มหาภูตคณาลัย.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 447

บทว่า เอวมชฺฌิมฺหิ จ ตสฺสาสิ ความว่า อาศรมที่พระดาบส เนรมิต สร้างจนสำเร็จนั้นอยู่ในระหว่างท่ามกลางภูเขาโคตมะนั้น. คำที่ เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปทุมปูชกเถราปทาน

จบอรรถกถาเสเรยยวรรคที่ ๑๓

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เสเรยยกเถราปทาน ๒. ปุปผถูปิยเถราปทาน ๓. ปายาสทายกเถราปทาน ๔. คันโธทกิยเถราปทาน ๕. สัมมุขาถวิกเถราปทาน ๖. กุสุมาสนิยเถราปทาน ๗.ผลทายกเถราปทาน ๘. ญาณสัญญกเถราปทาน ๙. คันธปุปผิยเถราปทาน ๑๐. ปทุมปูชกเถราปทาน. บัณฑิตผู้เห็นแจ้ง

อรรถ รวมคาถาไว้ ๑๐๕ คาถา.

จบเสเรยยวรรคที่ ๑๓