พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

จันทนปูชกเถราปทานที่ ๓ (๑๓๓) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยแก่นจันทน์หอม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41126
อ่าน  330

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 454

เถราปทาน

โสภิตวรรคที่ ๑๔

จันทนปูชกเถราปทานที่ ๓ (๑๓๓)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยแก่นจันทน์หอม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 454

จันทนปูชกเถราปทานที่ ๓ (๑๓๓)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยแก่นจันทน์หอม

[๑๓๕] เวลานั้น เราเป็นกินนรอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา และเรามี ดอกไม้เป็นภักษา เป็นผู้กินดอกไม้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า อัตถทัสสี เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่า นรชน เสด็จเหาะไปบนยอดไม้ในป่า ดังพญาหงส์ในอัมพร (เรากล่าวว่า)

ขอความนอบน้อมจงมี แด่พระองค์ผู้บุรุษอาชาไนย จิต ของพระองค์บริสุทธิ์ดี พระองค์มีสีพระพักตร์ผ่องใส.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระปัญญาดังแผ่นดิน มีเมธาดี เสด็จลงจากอากาศ ทรงปูลาดผ้าสังฆาฏิแล้ว ประทับนั่งโดย บัลลังก์ (ขัดสมาธิ).

เราถือเอาแก่นจันทน์หอมไปในสำนักพระชินเจ้า เรามี จิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้บูชาแด่พระพุทธเจ้า ถวายบังคม พระสัมพุทธเจ้าเชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ยังความ ปราโมทย์ให้เกิดแล้ว บ่ายหน้ากลับไปทางทิศอุดร. ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วย แก่จันทน์ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น ผลแห่งพุทธบูชา.

ในกัปที่ ๑,๔๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง มีพระนามชื่อว่าโรหิณี มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 455

อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระจันทนปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบจันทนปูชกเถราปทาน

จบภาณวารที่ ๘

๑๓๓. อรรถกถาจันทนปูชนกเถราปทาน (๑)

อปทานของท่านพระจันทนปูชนกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า จนฺทภาคานทีตีเร ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ท่านได้บังเกิดในกำเนิดกินนร อยู่ใกล้แม่น้ำจันทภาคาในป่าหิมพานต์ มีดอกไม้เป็นภักษา เป็นผู้กินดอกไม้ ประดับด้วยดอกไม้มีไม้จันทน์และ ไม้กฤษณาเป็นต้น เสวยความสุขนานัปการมีการเล่นในสวนและการเล่น ในน้ำเป็นต้น สำเร็จชีวิตอยู่ได้ คล้ายภุมเทวดา เสวยความสุขอยู่ในป่า หิมพานต์ฉะนั้น. ในกาลนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าอัตถทัสสี เพื่อจะทำการอนุเคราะห์แก่เธอ จึงเสด็จไปยังป่าหิมพานต์ ลงจากอากาศ แล้ว ให้ภิกษุปูลาดผ้าสังฆาฏิประทับนั่งแล้ว. กินนรนั้นได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รุ่งโรจน์ประทับนั่งในที่นั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส


๑. บาลีเป็น จันทนปูชกเถราปทาน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 456

ได้บูชาด้วยดอกไม้จันทน์หอมแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำ อนุโมทนาแก่เธอแล้ว.

ด้วยบุญอันนั้น เธอผู้มีจิตใจประกอบด้วยความโสมนัส ดำรงอยู่ จนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้น ได้บังเกิดในเทวโลก เสวยสมบัติ ในกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น ไปๆ มาๆ เสร็จแล้วได้เสวยจักรพรรดิสมบัติ รัชสมบัติ และประเทศรัชสมบัติ ในเมืองมนุษย์แล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนอันมีตระกูล บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็บวช ไม่นานนัก ได้บรรลุพระอรหัต ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าว คำเริ่มต้นว่า จนฺทภาคานทีตีเร ดังนี้. ที่ชื่อว่า จันทะ ในคำนั้น หมายถึง เกิดขึ้นแล้วคล้ายกับว่ารู้พระจันทร์ ใจ ความพอใจ อัธยาศัย, อธิบายว่า ชื่อว่า จันทภาคา เพราะเป็นเช่นกับส่วนแห่งพระจันทร์ เพราะที่ข้าง ทั้งสองประกอบด้วยพื้นทรายสีขาวเกลี่ยลาด เช่นกับลาดด้วยพื้นแก้วมุกดา มีน้ำใสสะอาดปราศจากมลทิน เหมือนมณฑลพระจันทร์. คือ ใกล้ฝั่ง แม่น้ำจันทภาคานั้น. คำที่เหลือทั้งหมด มีเนื้อความพอจะรู้ได้ง่าย เพราะ ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.

จบอรรถกถาจันทนปูชนกเถราปทาน

จบอรรถกถาภาณวารที่ ๘