พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

รโหสัญญิกเถราปทานที่ ๕ (๑๓๕) ว่าด้วยผลแห่งสัญญาในการเลื่อมใส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41128
อ่าน  314

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 460

เถราปทาน

โสภิตวรรคที่ ๑๔

รโหสัญญิกเถราปทานที่ ๕ (๑๓๕)

ว่าด้วยผลแห่งสัญญาในการเลื่อมใส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 460

รโหสัญญิกเถราปทานที่ ๕ (๑๓๕)

ว่าด้วยผลแห่งสัญญาในการเลื่อมใส

[๑๓๗] ภูเขาชื่อวสภะมีอยู่ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ ที่เชิงเขา วสภะนั้น มีอาศรมที่เราสร้างไว้ในกาลนั้น.

เราเป็นพราหมณ์บอกมนต์กะศิษย์ประมาณ ๓,๐๐๐ เรา สั่งสอนศิษย์เหล่านั้นแล้วเข้าอยู่ (ในที่สงัด) ณ ที่สมควรส่วน ข้างหนึ่ง.

พราหมณ์ผู้รู้จบมนต์ นั่งอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง แล้ว ระลึกถึงพระญาณของพระพุทธเจ้าแล้วยังจิตให้เลื่อมใสในพระญาณ ครั้นเรายังจิตให้เลื่อมใสในพระญาณแล้ว นั่งคู้บัลลังก์อยู่บนสันถัตใบไม้ กระทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น.

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วย สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการได้สัญญา.

ในกัปที่ ๒๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่าสิรีธระ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระรโหสัญญิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบรโหสัญญิกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 461

๑๓๕. อรรถกถารโหสัญญกเถราปทาน (๑)

อปทานของท่านพระรโหสัญญกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺ- ตสฺสาวิทูเร ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ในภพนั้นๆ ได้สั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน เป็นประจำเสมอ ในกาลที่ว่างจากพระพุทธเจ้ากาลหนึ่ง เขาได้บังเกิด ในตระกูลพราหมณ์ ในมัชฌิมประเทศ เจริญวัยแล้ว สำเร็จการศึกษา ในศิลปะของตนแล้ว มองไม่เห็นสาระในศิลปะนั้น อย่างดีก็เพียงยัง ท้องให้เต็มเท่านั้น มองเห็นแต่อกุศลมีโกธะ มทะ และมานะเป็นต้น จึง ละเพศฆราวาส เข้าป่าหิมพานต์บวชเป็นฤาษี มีดาบสหลายร้อยคนเป็น บริวาร สร้างอาศรมอยู่ใกล้ภูเขาวสภะ อยู่ที่ภูเขาหิมวันต์เท่านั้น จน ตลอด ๓,๐๐๐ ปี มีความคิดว่า เราเป็นอาจารย์ของพวกศิษย์มีประมาณ เท่านี้ เป็นครุฐานียะควรแก่ความเคารพ ควรแก่การกราบไหว้โดยชอบ แต่เสียใจว่า อาจารย์ของเราไม่มี จึงให้ประชุมพวกศิษย์ทั้งหมดนั้นแล้ว ประกาศความไม่มีการบรรลุพระนิพพาน เพราะความไม่มีพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย ตนเองผู้เดียวนั่งในที่ลับอันสงัด กระทำความสำคัญว่าพระพุทธเจ้าไว้ในใจ คล้ายนั่งอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าฉะนั้น เกิด ความปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ นั่งคู้บัลลังก์ในศาลากระทำกาละแล้ว ได้เกิดในพรหมโลก.

ในชาตินั้น ท่านอยู่ได้นานเพราะมีฌานเป็นประธาน ในพุทธุปบาท กาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนอันมีตระกูล มีความเบื่อหน่ายในกามทั้งหลาย พอมีอายุได้ ๗ ปีก็บวช พอปลายมีดโกนจรดที่ผมเท่านั้น ก็ได้บรรลุ


๑. บาลีว่า รโหสัญญิกเถราปทาน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 462

พระอรหัต เป็นผู้ได้อภิญญา ๖ ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ด้วยปุพเพนิวาสญาณ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้. บทว่า วสโภ นาม ปพฺพโต ความว่า ภูเขาที่ถึงการนับว่า วสภะ เพราะสูงที่สุด เพราะประเสริฐที่สุดกว่าภูเขาที่เหลือทั้งหลาย เว้นภูเขา หิมวันต์. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถารโหสัญญกเถราปทาน