พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

จัมปกปุปผิยเถราปทานที่ ๖ (๑๓๖) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกจําปา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41129
อ่าน  307

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 463

เถราปทาน

โสภิตวรรคที่ ๑๔

จัมปกปุปผิยเถราปทานที่ ๖ (๑๓๖)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกจําปา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 463

๖. จัมปกปุปผิยเถราปทานที่ ๖ (๑๓๖)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกจำปา

[๑๓๘] เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเวสสภู ผู้ โชติช่วงดังดอกกรรณิการ์ ประทับนั่งอยู่ที่ระหว่างภูเขา ทรง ยังทิศทั้งปวงให้สว่างดังดาวประกายพรึก.

มีมาณพ ๓ คนเป็นผู้ศึกษาดีในศิลปะของตน หาบสิ่งของ เต็มหาบไปตั้งข้างหลังเรา เราผู้มีกระบะใส่ดอกจำปา ดอก ไว้ในห่อ ถือดอกจำปาเหล่านั้นบูชา ในพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าเวสสภู.

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราบูชาพระพุทธญาณด้วยดอกไม้ ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ บูชาพระญาณ.

ในกัปที่ ๒๙ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่า วิหตาภา ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระจัมปกปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบจัมปกปุปผิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 464

๑๓๖. อรรถกถาจัมปกปุปผิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระจัมปกปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า กณิการํว โชตนฺตํ ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ในทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน เสมอมา ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าเวสสภู ท่าน ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว สำเร็จการศึกษาศิลปะของตน แต่มองไม่เห็นสาระในศิลปะนั้น จึงละเพศฆราวาส บวชเป็นฤาษีใน ระหว่างป่า นำเอาดอกจำปาที่พวกศิษย์นำมาแล้ว บูชาเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเวสสภู. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำ อนุโมทนาแล้ว. ด้วยกุศลกรรมนั้นนั่นแล เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลก และมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติทั้งสองครบถ้วนแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนอันมีตระกูล บรรลุนิติภาวะแล้ว มีความเบื่อหน่ายใน เพศฆราวาส เพราะกำลังแห่งวาสนาที่ตนได้อบรมมาในกาลก่อน จึงได้ บวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์

ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงบุญกรรมในครั้งก่อนของตนได้ เกิด ความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้ว ในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า กณิการํว โชตนฺตํ ดังนี้ บรรดาบท เหล่านั้น บทว่า กณิการํ ความว่า ชื่อว่า กณิการ์ เพราะในเวลาที่ ใบเหลืองทั้งหมดร่วงหล่นลงแล้ว ก็ออกดอก เป็นต้นไม้ชนิดเดียวกับ ต้นกัณณิการ์ คือ เพราะเก็บเอาแต่ดอกที่ตูม ซึ่งมีปกติอาการคล้ายดอก กัณณิการ์, บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ว่ากณิการ์ เพราะทำการลบ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 465

อักษรตัวหน้าเสียตัวหนึ่ง โดยนัยแห่งนิรุตติปกรณ์แล้วควรจะกล่าวว่า กัณณิการ์. อธิบายว่า เราได้พบเห็นพระพุทธเจ้าผู้รุ่งเรือง คล้ายต้น ดอกกัณณิการ์ที่บานแล้วนั้นฉะนั้น. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาจัมปกปุปผิยเถราปทาน