เอกรังสนิยเถราปทานที่ ๘ (๑๓๘) ว่าด้วยผลแห่งการเลื่อมใสในการฟังธรรม
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 469
เถราปทาน
โสภิตวรรคที่ ๑๔
เอกรังสนิยเถราปทานที่ ๘ (๑๓๘)
ว่าด้วยผลแห่งการเลื่อมใสในการฟังธรรม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 469
เอกรังสนิยเถราปทานที่ ๘ (๑๓๘)
ว่าด้วยผลแห่งการเลื่อมใสในการฟังธรรม
[๑๔๐] เราชื่อว่านารทะ แต่ชนทั้งหลายรู้จักเราว่าเกสวะ เรา แสวงหากุศลและอกุศลอยู่ ได้ไปอยู่สำนักพระพุทธเจ้า.
พระมหามุนีพระนามว่าอัตถทัสสี ทรงมีจิตเมตตา ประกอบด้วยกรุณา พระองค์ผู้มีจักษุ เมื่อทรงปลอบสัตว์ทั้งหลาย ให้เบาใจ ทรงแสดงธรรมอยู่.
เรายังจิตของตนให้เลื่อมใส ประนมกรอัญชลีเหนือเศียร เกล้าถวายบังคมพระศาสดาแล้ว บ่ายหน้ากลับไปทางทิศ ประจิม.
ในกัปที่ ๑,๗๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช เป็น ใหญ่ในแผ่นดิน พระนามว่าอมิตตตปนะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเอกรังสนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.
จบเอกรังสนิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 470
๑๓๘. อรรถกถาเอกปสาทนิยเถราปทาน (๑)
อปทานของท่านพระเอกปสาทนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นารโท อิติ เม นามํ ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ในหลายชาติที่ผ่านมาจะสั่งสมแต่กุศลกรรมไว้ ในกาล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อัตถทัสสี ท่านได้บังเกิดขึ้น ตระกูลพราหมณ์ ปรากฏชื่อว่า เกสวะ บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงละเพศ ฆราวาสออกบวช วันหนึ่งได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา มีใจ เลื่อมใส ประคองอัญชลี เกิดปีติโสมนัสอย่างเหลือล้นแล้วหลีกไป. เขา ดำรงชีวิตอยู่จนตลอดอายุ จึงกระทำกาละแล้ว เพราะความโสมนัส นั้นนั่นแล จึงได้ไปเกิดในเทวโลก ได้เสวยทิพยสมบัติในเทวโลกนั้นแล้ว ได้ไปบังเกิดในมนุษยโลก เสวยสมบัติในมนุษยโลกนั้นแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิดในเรือนอันมีตระกูลแห่งหนึ่ง พอเจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา ได้บวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงกุศลกรรมที่สร้างไว้ของตนได้ เกิด ความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วใน กาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า นารโท อิติ เม นามํ ดังนี้. บรรดา บทเหล่านั้น บทว่า นารโท มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า นารทะ เพราะ ละออง ธุลี มลทินของเขาไม่มี เพราะเขามีสรีระบริสุทธิ์ด้วยอำนาจแห่ง ชาติ จึงได้รับชื่อจากตระกูลว่า นารทะ เพราะทำการแปลง ช อักษร
๑. บาลีว่า เอกรังสนิยเถราปทาน.