พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สาลทายกเถราปทานที่ ๙ (๑๓๙) ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกรัง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41132
อ่าน  341

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 472

เถราปทาน

โสภิตวรรคที่ ๑๔

สาลทายกเถราปทานที่ ๙ (๑๓๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกรัง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 472

สาลทายกเถราปทานที่ ๙ (๑๓๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกรัง

[๑๔๑] เวลานั้น เราเป็นราชสีห์พญาเนื้อมีสกุล เราแสวงหา ห้วง (บ่อ) น้ำบนเขา ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายก ของโลก.

จึงดำริว่า พระมหาวีรเจ้าพระองค์นี้ ย่อมยังมหาชน ให้ดับได้ ถ้าเช่นนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ผู้ประเสริฐ ว่าเทวดา ผู้องอาจกว่านระเถิด.

เราจึงหักกิ่งรัง แล้วนำเอาดอกมาพร้อมด้วยกระออมน้ำ (ใส่กระออมน้ำมา) เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ถวาย ดอกรังอันงาม.

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย ดอกไม้.

ในกัปที่ ๙ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง ทรงพระนามว่าวิโรจนะ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสาลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบสาลทายกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 473

๑๓๙. อรรถกถาสาลทายกเถราปทานที่ ๑๐

อปทานของท่านพระสาลทายถเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มิคราช ตทา อาสึ ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้น จะสั่งสมแต่กุศลกรรมไว้เป็นประจำเสมอ แต่เพราะถูกกรรมบางอย่างตัดรอน จึงได้บังเกิดในกำเนิดราชสีห์อยู่ในป่า หิมวันต์มีราชสีห์หลายตัวเป็นบริวาร. ในคราวนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง พระนามว่าสิขี ได้เสด็จไปยังป่าหิมวันต์เพื่อทรงอนุเคราะห์แก่เขา ราชสีห์ นั้น พอได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหา ก็มีใจเลื่อมใส หักกิ่งไม้ แล้ว เลือกเก็บเอาแต่ดอกสาละพร้อมทั้งดอกกรรณิการ์มาบูชาแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงกระทำอนุโมทนาแก่เขาแล้ว.

ด้วยบุญนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้ เสวยสมบัติในโลกทั้งสองเสร็จแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิด ในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้ว ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิด ความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วใน กาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า มิคราชา ตทา อาสึ ดังนี้. พึงทราบ วิเคราะห์ในคำว่า มิคราชา นั้นดังต่อไปนี้ ชื่อว่า มิคะ เพราะย่อมไปสู่ ความตาย. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มิคะ เพราะย่อมค้นหา คือแสวงหาอาหาร, ราชาแห่งมิคะทั้งหลาย ชื่อว่า มิคราชา แม้เมื่อราชาแห่งสัตว์สี่เท้าทั้งสิ้น มีอยู่ แต่ท่านเรียกว่า มิคราชา ก็เพราะทำมิคะให้เป็นประธานเพื่อสะดวก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 474

แก่กาลผูกคาถา. อธิบายว่า ในคราวที่เราได้เป็นมิคราชา ได้พบเห็น พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้หักกิ่งไม้สาละพร้อมทั้งดอกไม้มาบูชาแล้ว. บทว่า สโกสํ ปุปฺผมาหรึ ความว่า เราได้นำเอาดอกสาละพร้อมทั้งดอก กรรณิการ์มาบูชาแล้ว. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสาลทายกเถราปทาน