พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ถัมภาโรปกเถราปทานที่ ๒ (๑๔๒) ว่าด้วยผลแห่งการยกเสาธง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41135
อ่าน  314

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 481

เถราปทาน

ฉัตตวรรคที่ ๑๕

ถัมภาโรปกเถราปทานที่ ๒ (๑๔๒)

ว่าด้วยผลแห่งการยกเสาธง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 481

ถัมภาโรปกเถราปทานที่ ๒ (๑๔๒)

ว่าด้วยผลแห่งการยกเสาธง

[๑๔๔] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่าธัมมทัสสี ผู้ประเสริฐกว่า นระนิพพานแล้ว เราได้ยกเสาธงขึ้นไว้ที่เจดีย์ แห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.

ให้นายช่างสร้างบันไดสำหรับประชาชน จะได้ขึ้นสู่สถูป อันประเสริฐ แล้วถือเอาดอกมะลิไปโปรยบูชาที่พระสถูป โอ พระพุทธเจ้า โอ พระธรรม โอ ความถึงพร้อมแห่งพระศาสดาหนอ เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระสถูป.

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑๐ ครั้ง ทรงพระนามว่า ถูปสิขะ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระถัมภาโรปกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบถัมภาโรปกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 482

๑๔๒. อรรถกถาถัมภาโรปกเถราปทาน

อปทานของท่านพระถัมภาโรปกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้น จะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ธัมมทัสสี ได้เกิดในเรือนอันมีสกุล มีศรัทธาเลื่อมใส เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรินิพพานแล้ว ได้ปักเสายกธงไว้ที่ห้องพระบรมธาตุ (พระเจดีย์) ของ พระผู้มีพระภาคเจ้า. ได้ร้อยดอกมะลิเป็นอันมาก ขึ้นไปบนบันไดแล้ว บูชา.

เขาดำรงชีวิตอยู่จนตลอดอายุ ทำกาละแล้ว ได้ท่องเที่ยวไปใน เทวโลกและมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองจนครบถ้วนแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุลแห่งหนึ่ง ตั้งแต่เริ่มเป็น หนุ่มมา ก็เป็นผู้ควรแก่การบูชา มีศรัทธาเกี่ยวเนื่องกับพระศาสนา จึง ได้บวชแล้ว ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ ระลึกถึง บุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตน เคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ความว่า ก็เมื่อพระศาสดาผู้ทรงเป็นนาถะ ทรงเป็นประธาน ทรงเป็นที่พึ่ง อาศัยของชาวโลกทั้งสิ้น ปรินิพพานแล้วด้วยขันธปรินิพพาน ล่วงลับ ดับไปมองไม่เห็น คล้ายกับแสงประทีปที่ดับไปแล้วฉะนั้น. บทว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 483

ธมฺมทสฺสีนราสเภ มีรูปวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ธัมมทัสสี เพราะย่อมได้ เห็นสัจธรรม ๔ ประการ (อริยสัจ ๔) , อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธัมมทัสสี เพราะมีปกติได้เห็น ได้เห็นประจักษ์แจ้งซึ่งโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติปัฏฐานเป็นต้น. ชื่อว่า นราสโภ เพราะอาจหาญ ประเสริฐสูงสุด กว่านรชนทั้งหลาย, ธัมมทัสสีศัพท์ ๑ นราสภศัพท์ ๑ รวมเป็น ธัมมทัสสีนราสภะ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ธัมมทัสสี ผู้ ประเสริฐกว่านรชนพระองค์นั้น. บทว่า อาโรเปสึ ธชํ ถมฺภํ ความว่า เราได้ปักเสาที่ห้องพระเจดีย์ ยกธงไว้ที่เสานั้น ผูกประดิษฐานไว้แล้ว. บทว่า นิสฺเสณึ มาปยิตฺวาน มีรูปวิเคราะห์ว่า ชนทั้งหลาย ย่อมไป ย่อมเดินไป ย่อมขึ้นไปอาศัยบนสิ่งนั้น เหตุนั้น สิ่งนั้นจึงชื่อว่า บันได. เชื่อมความว่า เราได้ให้ช่างสร้างบันไดสำหรับประชาชนจะได้ขึ้นไปยัง สถูปอันประเสริฐได้.

บทว่า ชาติปุปฺผํ คเหตฺวาน มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ชาติสุมนะ เพราะเมื่อดอกไม้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมทำความดีใจให้แก่ชนทั้งหลาย, คือ ดอกมะลินั่นเอง ในเมื่อควรจะกล่าวว่า ชาติสุมนปุปผะ เพื่อสะดวกแก่ การผูกคาถา ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ชาติปุปผะ เพราะลบสุมนะศัพท์ออกเสีย ความว่า เก็บดอกมะลินั้นร้อยแล้วยกขึ้นไว้บนสถูป, ครั้นยกขึ้นแล้วก็บูชา. คำที่เหลือมีเนื้อความพอจะรู้ได้เองแล.

จบอรรถกถาถัมภาโรปกเถราปทาน