พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สปริวาริยเถราปทานที่ ๔ (๑๔๔) ว่าด้วยผลแห่งการถวายไพรทีไม้จันทน์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41137
อ่าน  300

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 487

เถราปทาน

ฉัตตวรรคที่ ๑๕

สปริวาริยเถราปทานที่ ๔ (๑๔๔)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายไพรทีไม้จันทน์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 487

สปริวาริยเถราปทานที่ ๔ (๑๔๔)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายไพรทีไม้จันทน์

[๑๔๖] พระชินสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระเชษฐบุรุษของ โลกผู้ประเสริฐกว่านระ รุ่งเรืองดังกองอัคคี ปรินิพพานแล้ว.

เมื่อพระมหาวีรเจ้านิพพานแล้ว ได้มีสถูปอันกว้างใหญ่ ชนทั้งหลายเอาสิ่งของอันจะพึงถวายเข้าไปตั้งไว้ที่สถูป ใน ห้องพระธาตุอันประเสริฐสุด.

ในกาลนั้น เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ทำไพรที ไม้จันทน์อันหนึ่ง อันสมบูรณ์แก่สถูปและถวายธูปและของ หอม.

ในภพที่เราเกิด คือ ในความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ เรา ไม่เห็นความที่เราเป็นผู้ต่ำทรามเลย นี้เป็นผลแห่งบุญกรรม.

ในกัปที่ ๑,๕๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ครั้ง ทรงพระนามว่าสมัตตะทุกครั้ง มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสปริวาริยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบสปริวาริยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 488

๑๔๔. อรรถกถาสปริวาริยเถราปทาน

อปทานของท่านพระสปริวาริยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อนๆ สั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานตั้งหลายชาติเป็น ประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้เกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นผู้มีทรัพย์มาก มี โภคสมบัติมาก. ครั้งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ปรินิพพานแล้ว มหาชนเก็บพระบรมธาตุของพระองค์ไว้แล้ว ช่วยกัน สร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่ไว้บูชา ในเวลานั้น อุบาสกคนนี้ได้มีส่วนสร้าง เรือนครอบพระเจดีย์ด้วยแก่นไม้จันทร์ไว้เป็นบนพระเจดีย์นั้นแล้ว ได้ ทำการบูชาอย่างใหญ่ยิ่ง ด้วยบุญอันนั้นนั่นแหละ เขาจึงได้ท่องเที่ยวไป ในเทวโลกและมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองจนครบถ้วน ใน พุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุล เจริญวัยแล้ว สร้างแต่ กุศลกรรม ต่อมาได้บวชในพระศาสนาด้วยความศรัทธา ไม่นานนักก็ได้ เป็นพระอรหันต์.

ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้เกิดความโสมนัส ใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอมตฺตํ ความว่า เราไม่เห็น คือไม่รู้จักความเลวทรามต่ำช้า หรือว่าความเป็นผู้ถึงทุกข์เลย ได้แก่เราไม่เคยเห็นว่าเราต่ำช้าเลย. คำที่ เหลือมีเนื้อความปรากฏชัดแจ้งแล้วทีเดียว.

จบอรรถกถาสปริวาริยเถราปทาน