พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

มัคคทายกเถราปทานที่ ๗ (๑๔๗) ว่าด้วยผลแห่งการกระทําหนทาง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41140
อ่าน  334

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 495

เถราปทาน

ฉัตตวรรคที่ ๑๕

มัคคทายกเถราปทานที่ ๗ (๑๔๗)

ว่าด้วยผลแห่งการกระทําหนทาง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 495

มัคคทายกเถราปทานที่ ๗ (๑๔๗)

ว่าด้วยผลแห่งการกระทำหนทาง

[๑๔๙] พระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุเสด็จขึ้นสู่ท่าน้ำแล้ว เสด็จ ดำเนินไปสู่ป่า เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า สิทธัตถะ มีพระลักษณะอันประเสริฐพระองค์นั้น.

จึงได้ถือเอาจอบและปุ้งกี๋มาปราบหนทางให้ราบเรียบ เรา ได้ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส.

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย.

ในกัปที่ ๕๗ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอม ประชาชนพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่าสุปปพุทธะ เป็นผู้นำ เป็นใหญ่กว่านระ.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระมัคคทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบมัคคทายกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 496

๑๔๗. อรรถกถามัคคทายกเถราปทาน

อปทานของท่านพระมัคคทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อุตฺตริตฺวาน นทิกํ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระชินวรพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญเพื่อจะบรรลุพระนิพพานไว้เป็นเวลาหลาย ภพ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิทธัตถะ ท่านได้ เกิดในตระกูลที่ชาวโลกยกย่องนับถือ เจริญวัยแล้ว ก็คงยังอยู่ในฆราวาส วิสัย วันหนึ่ง เขาได้พบเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จข้ามแม่น้ำแห่งหนึ่ง แล้ว จะเสด็จไปป่า มีความเลื่อมใสว่า เวลานี้ ควรที่เราจะปราบหนทาง ให้ราบเสมอเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล้ว จึงถือจอบและปุ้งกี๋มา ทำหนทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จผ่านมาให้ราบเรียบเสมอ เกลี่ย ทรายลงแล้ว ก็ไปไหว้ที่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งความ ปรารถนาไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยผลแห่งการที่ได้ปรับหนทาง ให้สวยงามนี้ ขอให้ข้าพระองค์จงได้เป็นผู้ควรแก่การบูชาในทุกๆ ที่ที่ได้ ไปเกิดแล้วเถิด อนึ่ง ขอให้ข้าพระองค์จงได้บรรลุพระนิพพานด้วยเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำอนุโมทนาด้วยพระดำรัสว่า เธอปรารถนา อย่างใด ขอจงสำเร็จอย่างนั้นเถิด แล้วก็เสด็จหลีกไป.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ทุกๆ ภพได้เป็นผู้มีคนบูชาแล้ว. ก็ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดใน ตระกูลแห่งหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียง (ต่อมา) เลื่อมใสในพระศาสดา จึงได้บวช เจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต ทราบถึงบุพกรรมของ ตนได้โดยประจักษ์ชัด เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 497

ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อุตฺตริตฺวาน นทิกํ ดังนี้. ในบทนั้นมีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า นที เพราะเปล่งเสียง ส่ง เสียงไป, นทีนั่นแลเป็นนทิกา, อธิบายว่า ขึ้นคือข้ามแม่น้ำนั้น. บทว่า กุทาลปิฏกมาทาย ความว่า แผ่นดินท่านเรียกว่า กุ ชื่อว่า กุทาลํ เพราะเป็นไปในการทำลาย ถาก ฟัน ซึ่งแผ่นดินนั้น, หาบสำหรับหาบ ดินฝุ่นและทรายเป็นต้น คือภาชนะที่ทำด้วยใบตาล หวายและเครือเถา เป็นต้น ท่านเรียกว่า ปิฏกะ, จอบและปุ้งกี๋ ชื่อว่า จอบและปุ้งกี๋ ความว่า ถือเอาจอบและภาชนะ (ปุ้งกี๋) นั้นมาแล้ว. คำที่เหลือมีเนื้อความง่าย ทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามัคคทายกเถราปทาน