พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

วฏังสกิยเถราปทานที่ ๙ (๑๔๙) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยพวงมาลัย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41142
อ่าน  327

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 501

เถราปทาน

ฉัตตวรรคที่ ๑๕

วฏังสกิยเถราปทานที่ ๙ (๑๔๙)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยพวงมาลัย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 501

วฏังสกิยเถราปทานที่ ๙ (๑๔๙)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยพวงมาลัย

[๑๕๑] พระสยัมภูผู้ไม่พ่ายแพ้ มีพระนามชื่อว่าสุเมธะ เมื่อ ทรงเพิ่มพูนวิเวก จึงเสด็จเข้าป่าใหญ่ เราเห็นดอกไม้ช้างน้าว กำลังบาน จึงเอามาร้อยเป็นพวงมาลัย บูชาแด่พระพุทธเจ้า ผู้เป็นนายกของโลกเฉพาะพระพักตร์.

ในสามหมื่นกัปแต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วย ดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล แห่งพุทธบูชา.

ในกัปที่ ๑,๙๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง ทรงพระนามว่านิมมิตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านั้น คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระวฏังสกิยเถระได้กล่าวคาถานี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบสฏังสกิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 502

๑๔๙. อรรถกถาวฏังสกิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระสฏังสกิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุเมโธ นาม นาเมน ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระมุนินทพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สุเมธะ ท่านได้เกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว ดำรงชีวิตอยู่ ในเพศฆราวาส แต่เพราะมองเห็นโทษในเพศฆราวาสนั้น จึงละเรือน ออกบวชเป็นฤๅษี อยู่ในป่ามหาวัน. ในสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง พระนามว่า สุเมธะ. ได้เสด็จมาถึงป่านั้น เพื่อประสงค์ความสงัด. ครั้งนั้น ดาบสนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีใจเลื่อมใส เก็บเอา ดอกช้างน้าวซึ่งกำลังแย้มบานมาร้อยเป็นพวงมาลัย วางบูชาที่บาทมูลของ พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำการอนุโมทนาแล้ว เพื่อให้เขามีจิตเลื่อมใส. ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลก และมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติ เจริญวัยแล้ว มีศรัทธาเลื่อมใส จึงได้บวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า สุเมโธ นาม นาเมน ดังนี้. บทว่า วิเวกมนุพฺรูหนฺโต

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 503

ความว่า ทรงละความระคนด้วยหมู่ชน เมื่อจะเพิ่มพูนเจริญความสงัดจาก หมู่ชน และความสงัดจิต จึงได้เสด็จเข้าไปยังป่าใหญ่แล. คำที่เหลือมี เนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาวฏังสกิยเถราปทาน