พันธุชีวกเถราปทานที่ ๑ (๑๕๑) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยพวงมาลัยดอกชบา
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 507
เถราปทาน
พันธุชีวกวรรคที่ ๑๖
พันธุชีวกเถราปทานที่ ๑ (๑๕๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยพวงมาลัยดอกชบา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 507
พันธุชีวกวรรคที่ ๑๖
พันธุชีวกเถราปทานที่ ๑ (๑๕๑)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยพวงมาลัยดอกชบา
[๑๕๓] เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้ปราศจาก มลทิน บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ขุ่นมัวดังพระจันทร์ มีความเพลิด เพลินและมีภพสิ้นแล้ว ทรงข้ามตัณหาในโลกแล้ว.
ผู้ยังหมู่ชนให้ดับ ทรงข้ามเองแล้วยังหมู่ชนให้ข้าม เป็น มุนี เพ่งฌานอยู่ในป่า มีจิตเป็นอารมณ์เดียว ตั้งมั่นด้วยดี.
เราร้อยดอกชบาหลายดอกไว้ในเส้นด้ายแล้ว บูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้เผ่าพันธุ์ของโลก.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๗ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่าสมันตจักษุ เป็นจอมมนุษย์ มีบริวารมาก มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระพันธุชีวกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบพันธุชีวกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 508
อรรถกถาพันธุชีวกวรรคที่ ๑๖
๑๕๑. อรรถกถาพันธุชีวกเถราปทาน
อปทานของท่านพระพันธุชีวกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า จนฺทํ ว วิมลํ สุทฺธํ ดังนี้.
แม้ท่านพระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี ท่านได้เกิดในเรือนอันมีตระกูล บรรลุนิติภาวะแล้ว ดำรงอยู่ใน เพศฆราวาส ได้เห็นพระรูปกายสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม สิขีแล้ว มีจิตเลื่อมใส เก็บเอาดอกชบาหลายดอกมาบูชาที่แทบพระบาท พระผู้มีพระภาคเจ้า. เพื่อจะทรงทำจิตของเขาให้เกิดความเลื่อมใส พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงทำอนุโมทนาแก่เขา. เขาดำรงชีวิตอยู่จนตลอด อายุขัย ด้วยบุญอันนั้นนั่นแล เขาจึงได้บังเกิดในเทวโลก ได้เสวยกามาวจรสมบัติ ๖ ชั้นแล้ว ได้เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมบัติเป็นต้นในมนุษยโลกอีก ในกาลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเราพระองค์นี้อุบัติขึ้นแล้ว เขาได้ เกิดในตระกูลคฤหบดี ได้ฟังพระธรรมของพระศาสดาแล้วเกิดศรัทธา ละเรือนออกบวช ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.
ท่านระลึกถึงกุศลกรรม ที่ตนได้กระทำไว้ในกาลก่อนได้ ด้วย ปุพเพนิวาสญาณแล้ว เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า จนฺทํ ว วิมลํ สุทฺธํ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จนฺทํ ว วิมลํ สุทฺธํ เชื่อม ความว่า ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่าสิขี พระองค์ผู้ผ่องใส
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 509
บริสุทธิ์ เพราะไม่มีกิเลส ทรงปราศจากมลทิน เพราะละมลทินคืออุปกิเลส ๑,๕๐๐ เสียได้ดุจดวงจันทร์พ้นแล้วจากมลทิน คืออุปกิเลสเหล่านี้คือ เมฆ หมอก น้ำค้าง ควัน ธุลี ราหู ดังนี้. ชื่อว่า ไม่ขุ่นมัว เพราะไม่มี เปือกตมคือกิเลส. ชื่อว่า มีความเพลิดเพลินและภพสิ้นไปแล้ว เพราะ ความเสน่หาอันมีกำลัง คือความเพลิดเพลินและภพ สิ้นไปแล้วโดยรอบ ด้าน. บทว่า ติณฺณํ โลเก ความว่า ข้ามขึ้นพ้นจากโลกทั้ง ๓ ได้แล้ว บทว่า วิสตฺติกํ ความว่า ตัณหาท่านเรียกว่า วิสตฺติ, นิตฺตณฺหํ แปลว่า ไม่มีตัณหา. บทว่า นิพฺพาปยนฺตํ ชนตํ ความว่า พระองค์ทรงอยู่ในธรรม. ทรงยังหมู่ชนให้ดับ สงบระงับได้ด้วยความไม่มีความเร่าร้อน คือกิเลส. เชื่อมความว่า ซึ่งพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี พระองค์ทรงข้ามจาก สงสารแล้ว ทรงชักชวนสัตว์ทั้งปวงให้ข้ามพ้นจากสงสารบ้าง ทรง เป็นมุนีเพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการ. บทว่า วนสฺมึ ฌายมานํ ความ ว่า ทรงเพ่ง คิด ทรงอบรมจิตด้วยอารัมมณูปนิชฌานและลักขณูปนิชฌาน ในกลางป่า. เชื่อมความว่า เห็นแล้วซึ่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ทรง เป็นมุนีผู้มีจิตเป็นอารมณ์เดียว มีจิตตั้งมั่นด้วยดีในอารมณ์เดียว. บทว่า พนฺธุชีวกปุปฺผานิ ความว่า เป็นที่ดำรงชีวิตของเผ่าพันธุ์คือหมู่ญาติ คือ เป็นที่อาศัยเป็นอยู่เป็นที่รวมพันธุชีวกะ คือหัวใจ เนื้อและโลหิต เก็บ เอาดอกชบาที่มีสีดอกเสมอเหมือนกับหัวใจ เนื้อและโลหิต มาบูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก. คำที่เหลือมีเนื้อความ ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาพันธุชีวกเถราปทาน