พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

กทัมพปุปผิยเถราปทานที่ ๖ (๑๕๖) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกกระทุ่ม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 พ.ย. 2564
หมายเลข  41149
อ่าน  324

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 520

เถราปทาน

พันธุชีวกวรรคที่ ๑๖

กทัมพปุปผิยเถราปทานที่ ๖ (๑๕๖)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกกระทุ่ม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 520

กทัมพปุปผิยเถราปทานที่ ๖ (๑๕๖)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกกระทุ่ม

[๑๕๘] มีภูเขาชื่อกุกกุฏะอยู่ในที่ไม่ไกลแต่ภูเขาหิมวันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๗ พระองค์อยู่ใกล้เชิงภูเขานั้น.

เราเห็นต้นกระทุ่มมีดอกบาน ดังพระจันทร์ขึ้นไปใน ท้องฟ้า จึงประคองด้วยมือทั้งสอง บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า ทั้ง ๗ พระองค์.

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย ดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล แห่งการบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้า.

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ครั้ง ทรงพระนามว่าปุปผะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละ มาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระกทัมพปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบกทัมพปุปผิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 521

๑๕๖. อรรถกถากทัมพปุปผิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระกทัมพปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺ- ตสฺสาวิทูเร ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ เมื่อโลกกำลังสูญจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้เกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้วอยู่ครองเรือน มองเห็นโทษ ในการอยู่ครองเรือนนั้น จึงละเพศฆราวาสบวชเป็นดาบส สร้างอาศรมอยู่ ที่ภูเขาชื่อว่า กุกกุฏะ ใกล้ภูเขาหิมวันต์ เขาได้พบเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๗ พระองค์ในสถานที่นั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส เลือกเก็บเอาดอกกระทุ่มที่ บานแล้วมาบูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้า เหล่านั้น ก็ได้กระทำอนุโมทนาแล้วด้วยดีว่า อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ดังนี้ เป็นต้น.

ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือน อันมีสกุลในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ระลึก ถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราว ที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺ- สาวิทูเร ดังนี้. คำนั้น มีเนื้อความดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล. บทว่า กุกฺกุโฏ นาม ปพฺพโต ความว่า ภูเขาที่เรียกกันว่า กุกกุฏะ เพราะยอด ภูเขาทั้งหลายมีลักษณะคล้ายกับหงอนไก่ ตรงที่ข้างทั้งสองของภูเขานั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 522

ชื่อว่า ปัพพตะ เพราะตั้งมั่นโดยอาการปิดขวาง. บทว่า ตมฺหิ ปพฺพตปาทมฺหิ แปลว่า ในที่ใกล้ภูเขาลูกนั้น. บทว่า สตฺต พุทฺธา วสนฺติ ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์นั้น ย่อมอยู่ ณ บรรณศาลา ใกล้เชิงภูเขากุกกุฏะนั้น. บทว่า ทีปราชํว อุคฺคตํ ได้แก่ พระราชาแห่ง ทวีปทั้งหลาย ชื่อว่า ทีปราชา อธิบายว่า พระราชา เป็นใหญ่แห่ง ทวีปทั้งสิ้น แต่พระจันทร์เป็นใหญ่แห่งหมู่ดาวที่ส่องแสงทั้งหมด จึง เรียกว่า ทีปราชา อีกอย่างหนึ่ง พระราชาเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ คือ ชมพูทวีป ปุพพวิเทหทวีป อปรโคยานทวีป และอุตตรกุรุทวีป กับทวีป เล็กๆ อีก ๒,๐๐๐ ทวีป อธิบายว่า เราได้เห็นต้นกระทุ่มซึ่งมีดอกเบ่งบาน สะพรั่ง คล้ายกับพระจันทร์ลอยเด่นท่ามกลางท้องฟ้าฉะนั้น แล้วเลือก เก็บดอกไม้จากต้นกระทุ่มนั้นแล้ว เอามือทั้งสองข้างประคอง คือถือเอา โดยวิธีอย่างหนึ่ง เกลี่ยด้วยดี คือได้บูชาโดยเอื้อเฟื้อซึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์นั้นแล้ว. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถากทัมพปุปผิยเถราปทาน