พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ติณสูลกเถราปทานที่ ๗ (๑๕๗) ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกมะลิซ้อน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 พ.ย. 2564
หมายเลข  41150
อ่าน  327

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 523

เถราปทาน

พันธุชีวกวรรคที่ ๑๖

ติณสูลกเถราปทานที่ ๗ (๑๕๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกมะลิซ้อน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 523

ติณสูลกเถราปทานที่ ๗ (๑๕๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกมะลิซ้อน

[๑๕๙] มีภูเขาชื่อภูตคณะอยู่ในที่ไม่ไกลแต่ภูเขาหิมวันต์ พระชินพุทธเจ้าองค์หนึ่ง สละโลกแล้วมาอยู่ ณ ภูเขานั้น เราถือ เอาดอกมะลิซ้อนไปบูชาแด่พระพุทธเจ้า เราไม่ตกลงใน จตุราบายตลอด ๙๙,๙๙๙ กัป.

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่าธรณีรุหะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระติณสูลกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบติณสูลกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 524

๑๕๗. อรรถกถาติณสูลกเถราปทาน

อปทานของท่านพระติณสูลกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพที่เกิดแล้วจะสั่งสมไว้แต่กุศลเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี ท่านได้เกิดในเรือนอันมี ตระกูล ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส เห็นโทษในเพศฆราวาสนั้น จึงละเพศ ฆราวาสนั้นแล้วบวชเป็นดาบสอยู่ (วันหนึ่ง) พบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า สิขี พระองค์กำลังเพิ่มพูนวิเวกอยู่เพียงพระองค์เดียว ประทับ อยู่ที่ภูเขาชื่อภูตคณะ ใกล้กับภูเขาหิมวันต์แล้ว มีใจเลื่อมใส ถือเอาดอก มะลิซ้อนไปบูชาที่บาทมูล (ของพระพุทธเจ้า). แม้พระพุทธเจ้าก็ทรง ทำการอนุโมทนาแก่เขา.

ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองนั้นแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิด ในตระกูลแห่งหนึ่ง ซึ่งสมบูรณ์ไปด้วยสมบัติ ในกรุงสาวัตถี เจริญวัย แล้วเลื่อมใสพระศาสนา จึงได้บวชแล้ว เพราะเขาเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย อุปนิสัย ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้ว ในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้. บทว่า ภูตคโณ นาม ปพฺพโต ความว่า ภูเขาชื่อว่า ภูตคณะ เพราะเป็นที่อยู่ ของหมู่ภูต คือ หมู่แห่งเทวดาและยักษ์ เพราะเป็นเช่นกับภพ และเพราะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 525

เป็นไปโดยความไม่งอกงามเจริญ. พระชินเจ้าคือพระพุทธเจ้าผู้ทรงชำนะ มารได้แล้ว พระองค์เดียวคือไม่มีสอง ย่อมประทับอยู่ที่ภูเขานั้น คือ ย่อมประทับอยู่ด้วยทิพยวิหาร พรหมวิหาร อริยวิหาร และอิริยาบถวิหารแล. บทว่า เอกูนสตสหสฺสํ กปฺปํ น วินิปาติโก ความว่า ด้วย ผลที่ทำการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกมะลิซ้อนนั้น เราจึงไม่ต้องตกลงไป ในอบาย พ้นจากอบายทั้ง ๔ ได้ เข้าถึงเฉพาะแต่ภพคือสวรรค์สมบัติ อย่างเดียว ตลอด ๙๙,๙๙๙ กัปหาระหว่างมิได้. คำที่เหลือมีเนื้อความ พอจะรู้ได้ง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถาติณสูลกเถราปทาน