พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นาคปุปผิยเถราปทานที่ ๘ (๑๕๘) ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกสารภีที่ทางเสด็จ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 พ.ย. 2564
หมายเลข  41151
อ่าน  291

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 526

เถราปทาน

พันธุชีวกวรรคที่ ๑๖

นาคปุปผิยเถราปทานที่ ๘ (๑๕๘)

ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกสารภีที่ทางเสด็จ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 526

นาคปุปผิยเถราปทานที่ ๘ (๑๕๘)

ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกสารภีที่ทางเสด็จ

[๑๖๐] (เราเป็น) พราหมณ์มีนามชื่อว่าสุวัจฉะ เป็นผู้รู้จบมนต์ แวดล้อมด้วยพวกศิษย์ของตนอยู่ ณ ระหว่างภูเขา พระชินเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้สมควรรับเครื่องบูชา พระองค์ทรง ประสงค์จะรื้อถอน (ช่วยเหลือ) เรา จึงเสด็จมายังสำนักเรา.

เสด็จจงกรมอยู่บนเวหาส เหมือนประทีปอันโพลงฉะนั้น ทรงทราบว่าเรายินดีแล้ว บ่ายพระพักตร์กลับไปทางทิศประจิม.

ก็เราได้เห็นความอัศจรรย์อันไม่เคยเป็น มีขนพองสยอง เกล้านั้นแล้ว ได้เก็บเอาดอกสารภีไปโปรยลงที่ทางเสด็จไป.

ในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ เราโปรยดอกไม้ใด ด้วยจิต อันเลื่อมใสนั้น เราไม่เข้าถึงทุคติเลย.

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชมี พระนามว่ามหารถะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระนาคปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบนาคปุปผิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 527

๑๕๘. อรรถกถานาคปุปผิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระนาคปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุวจฺโฉ นาม นาเมน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐสุดพระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัย แห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว สำเร็จ การศึกษาในศิลปะประจำตัวมีไตรเพทเป็นต้น แต่มองไม่เห็นสาระใน ศิลปะนั้น จึงเข้าไปยังป่าหิมวันต์ บวชเป็นดาบส ปล่อยเวลาให้ล่วงไป ด้วยความสุขในฌานและสมาบัติ. ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง พระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เสด็จไปฝั่งสถานที่นั้น เพื่อทรงอนุเคราะห์ แก่เธอ. ดาบสนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว เพราะเหตุที่ตน ฉลาดในตำราลักษณะศาสตร์ มีความเลื่อมใสในพระลักษณะ และพระรูปสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ถวายบังคม ได้ยืนประคองอัญชลี แล. เพราะมิได้เสด็จลงจากอากาศ เมื่อเขาไม่ได้กระทำบูชาและสักการะ พระองค์เสด็จหลีกไปทางอากาศนั่นแล. ลำดับนั้น ดาบสนั้นพร้อมกับ ศิษย์ จึงเก็บดอกสารภีบูชาตามหนทางทิสาภาคที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ ไปแล้ว ด้วยดอกไม้นั้น.

ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก เสวยสมบัติในโลกทั้งสอง ได้รับการบูชาแล้วในที่ทั้งปวง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดในเรือนอันมีตระกูลในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้ว สมบูรณ์ ด้วยศรัทธา บวชแล้วทำพระศาสนาให้งอกงามด้วยข้อวัตรปฏิบัติอยู่ ไม่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 528

นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ เมื่อระลึกถึงกรรมในอดีตว่า ด้วยกุศลกรรมอะไรหนอ เราจึงได้รับโลกุตตรสมบัติอันนี้ ดังนี้ ก็ทราบได้ชัดแจ้ง ถึงบุพกรรมนั้น จึงเกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตน เคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า สุวจฺโฉ นาม นาเมน ดังนี้. พึงทราบวิเคราะห์ในบทนั้นว่า ชื่อว่า วจฺโฉ เพราะเกิดแล้วในวัจฉโคตร วัจฉะนั้นด้วย ดีด้วย รวมเป็นสุวัจฉะ แปลว่า วัจฉโคตรที่ดี. อธิบายว่า พราหมณ์มีชื่อว่า สุวัจฉะ ถึงฝั่งแห่งมนต์ คือถึงที่สุดทางมนตศาสตร์ทั้งสิ้นมีไตรเพทเป็นต้น. คำที่เหลือมีเนื้อความ ง่ายทั้งนั้น เพราะเนื้อความนั้นได้กล่าวไว้แล้วทั้งหมดในหนหลังแล.

จบอรรถกถานาคปุปผิยเถราปทาน