พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ขัชชททายกเถราปทานที่ ๓ (๑๖๓) ว่าด้วยผลแห่งการถวายมะพร้าว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 พ.ย. 2564
หมายเลข  41158
อ่าน  332

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 541

เถราปทาน

สุปาริจริยวรรคที่ ๑๗

ขัชชททายกเถราปทานที่ ๓ (๑๖๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายมะพร้าว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 541

ขัชชททายกเถราปทานที่ ๓ (๑๖๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายมะพร้าว

[๑๖๕] ในปางก่อน เราได้ถวายผลไม้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าติสสะ และได้ถวายมะพร้าวที่สมมติกันว่าควร เคี้ยว.

ครั้นถวายผลมะพร้าวนั้นแด่พระพุทธเจ้า พระนามว่า ติสสะ ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวงแล้ว ย่อมบันเทิง มีความ ประสงค์สิ่งที่ต้องการ ก็เข้าถึง (ได้) ตามปรารถนา.

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.

ในกัปที่ ๑๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพระนามว่าอินทสมะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละ มาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระขัชชทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบขัชชทายกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 542

๑๖๓. อรรถกถาขัชชกทายกเถราปทาน

อปทานของท่านพระขัชชกทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ติสฺสสฺส โข ภควโต ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ ท่านได้เกิดในตระกูลศูทร ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีใจ เลื่อมใส ได้ถวายผลไม้น้อยใหญ่อันมีรสอร่อยอย่างละ ๑ ผล มีผลมะม่วง และผลชมพู่เป็นต้น มะพร้าวและขนมที่ควรเคี้ยว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสวยแล้ว ในขณะที่เขามองดูอยู่นั่นแล ก็เพื่อจะเจริญความเลื่อมใส แก่เขา ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้เสวยแต่สมบัติในสุคติโลกสวรรค์ อย่างเดียว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีตระกูลในกรุง สาวัตถี บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เกิดศรัทธา มีความเลื่อมใสและนับถือมาก บวชแล้วทำพระศาสนาให้ งดงามด้วยข้อวัตรปฏิบัติ มีศีลเป็นอลังการเครื่องประดับ ไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัต.

เมื่อท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนทราบว่า เราได้ทำกุศลอันดีงาม ไว้ในที่ดีในกาลก่อน ดังนี้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่อง ราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ติสฺสสฺส โข ภควโต ดังนี้ พึงทราบความหมายในบทนั้นว่า ชื่อว่า ติสสะ ด้วยอำนาจเป็นชื่อที่มารดาบิดาตั้งให้ เพราะตั้งแต่เกิดขึ้นมา มีแต่จะให้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 543

สมบัติในภพทั้งสาม. อีกความหมายหนึ่ง ชื่อว่า ติสสะ เพราะทรงเป็น พระพุทธเจ้าแล้ว ทรงยังมหาชนให้สบายใจด้วยไตรสรณคมน์ ทรงโอวาท พร่ำสอนให้หมู่คนผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุตั้งอยู่ในสมบัติทั้งสอง คือสวรรค์- สมบัติและนิพพานสมบัติ ชื่อว่า ภควา เพราะทรงประกอบไปด้วยภคธรรม ทั้งหลาย มีสมาบัติคุณเป็นต้น, อธิบายว่า ในกาลก่อน เราได้ถวาย ผลมะพร้าวและผลไม้อื่นนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ พระองค์นั้นแล้ว. บทว่า นาฬิเกรญฺจ ปาทาสึ ความว่า เราได้ถวาย ผลไม้อันเป็นไปโดยอาการแห่งต้นมะพร้าวชื่อว่า นาฬิเถระ นั้น. บทว่า ขชฺชกํ อภิสมฺมตํ ความว่า เราได้ถวายของที่ควรเคี้ยวที่สมมติกัน รู้กัน อย่างดียิ่งว่าขนมมีรสอร่อยดี ที่สำเร็จแล้วเพราะปรุงผสมกับน้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดเป็นต้นอย่างพิเศษ. คำที่เหลือมีเนื้อความพอจะรู้ได้ โดยง่ายทีเดียว.

จบอรรถกถาขัชชกทายกเถราปทาน