เทสปูชกเถราปทานที่ ๔ (๑๖๔) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาสถานที่
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 544
เถราปทาน
สุปาริจริยวรรคที่ ๑๗
เทสปูชกเถราปทานที่ ๔ (๑๖๔)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาสถานที่
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 544
เทสปูชกเถราปทานที่ ๔ (๑๖๔)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาสถานที่
[๑๖๖] ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี เชษฐบุรุษ ของโลก ผู้ประเสริฐกว่านระ เสด็จขึ้นสู่เวหาส เสด็จไป ในอากาศ.
พระศาสดามหามุนี เหาะขึ้นไปประทับอยู่ ณ ประเทศใด เรามีจิตเลื่อมใสได้บูชาไปทางประเทศนั้น ด้วยมือทั้งสอง ของตน.
ในกัปที่ ๑,๘๐๐ แต่กัปนี้ เราได้เห็นพระมหามุนีใด ด้วย การเห็นนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา ประเทศ.
ในกัปที่ ๑,๑๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่าโคสุชาต ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระเทสปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.
จบเทสปูชกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 545
๑๖๔. อรรถกถาเทสปูชกเถราปทาน
อปทานของท่านพระเทสปูชกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อตฺถทสฺสี ตุ ภควา ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ท่านได้เกิดในเรือนอันมีสกุล เจริญวัยแล้ว มีศรัทธาเลื่อมใส ได้เป็นพุทธมามกะ ธัมมามกะ สังฆมามกะ. ในคราวนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อัตถทัสสี มีหมู่แห่งภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว เสด็จไปทางอากาศ ดุจพระจันทร์และดุจพระอาทิตย์โคจรไปในอากาศ ฉะนั้น. อุบาสกคนนั้นได้เอาของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น มาบูชา ทางทิศาภาคที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้ว ได้ยืนประคองอัญชลี นมัสการแล้ว.
ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ไปเกิดในเทวโลก ได้เสวยสวรรค์สมบัติ แล้ว มาเกิดในมนุษยโลก ได้เสวยมนุษยสมบัติแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้มาเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ ด้วยเครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภค ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใส ไม่ติดใจในเพศฆราวาส บวชแล้ว เป็นพระที่ สมบูรณ์ด้วยวัตร ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ระลึกถึงบุพกรรมของ ตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อตฺถทสฺสี ตุ ภควา ดังนี้. ถ้อยคำนั้น มีเนื้อความตามที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 546
อนิลญฺชเส ความว่า ชื่อว่า อนิลัญชสะ เพราะอัญชสะ ได้แก่ทางเป็น ที่ไปแห่งอนิละ คือลม เพราะคำว่าทางท่านกล่าวไว้โดยปริยายว่า มคฺโค ปนฺโถ ปโถ ปชฺโช อญฺชสํ วฏุมํ อายนํ (ศัพท์ทั้งหมดนี้แปลว่า ทาง, หนทาง, ถนน.) ดังนี้. ความว่า ในทางแห่งลมนั้น คือในอากาศ. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาเทสปูชกเถรปทาน