พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

กณิการฉทนิยเถราปทานที่ ๕ (๑๖๕) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยร่มดอกกรรณิการ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 พ.ย. 2564
หมายเลข  41160
อ่าน  315

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 547

เถราปทาน

สุปาริจริยวรรคที่ ๑๗

กณิการฉทนิยเถราปทานที่ ๕ (๑๖๕)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยร่มดอกกรรณิการ์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 547

กณิการฉทนิยเถราปทานที่ ๕ (๑๖๕)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยร่มดอกกรรณิการ์

[๑๖๗] พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู เชษฐบุรุษของโลก ผู้ประเสริฐกว่านระ เป็นมุนี เสด็จเข้าป่าใหญ่เพื่อทรงพัก กลางวัน.

เวลานั้น เราเก็บเอาดอกกรรณิการ์มาทำเป็นร่ม ได้ทำ หลังคา (เพดาน) ดอกไม้บูชาแด่พระพุทธเจ้า.

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

ในกัปที่ ๒๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์ ๘ ครั้ง ทรงพระนามว่าโสณณาภา ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระกณิการฉทนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบกณิการฉทนิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 548

๑๖๕. อรรถกถากณิการฉทนิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระกณิการฉทนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า เวสฺสภู นาม สมฺพุทฺโธ ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า เวสสภู ท่านได้เกิดในเรือนอันมีตระกูล บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้เป็นผู้ สมบูรณ์ด้วยศรัทธา. ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า เวสสภู ทรงมีพระประสงค์จะเพิ่มพูนความวิเวก จึงเสด็จเข้าไปประทับ นั่งยังป่าใหญ่. ลำดับนั้น แม้อุบาสกคนนั้น ก็ไปในป่าใหญ่นั้นด้วย การงานบางอย่าง ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งโพลงดุจกองไฟ ฉะนั้น มีใจเลื่อมใส เก็บดอกกรรณิการ์มาทำเป็นฉัตรแล้ว กั้นเป็นเพดาน บูชาเบื้องบนพระแท่น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับแล้ว ด้วยอานุภาพ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เพดานดอกไม้นั้น ตั้ง ๗ วันผ่านมาก็ยังไม่ เหี่ยวแห้ง คงดำรงอยู่เหมือนเดิมทุกอย่าง. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังคง เข้าผลสมบัติและนิโรธสมาบัติอยู่. เขามองเห็นความอัศจรรย์นั้นแล้ว เกิด ความโสมนัสใจ ไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนประคองอัญชลีอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาบัติแล้ว ได้เสด็จไปยังพระวิหารเดิม นั้นนั่นแล.

ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้เสวยสมบัติในเทวโลกและมนุษยโลกเสร็จ แล้ว ในพุทธุปนาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีตระกูลในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธา ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 549

ศาสดาแล้ว ไม่ติดใจในเพศฆราวาส บวชแล้ว ทำพระศาสนาของ พระชินเจ้าให้งดงามด้วยข้อวัตรปฏิบัติ ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่อง ราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อนนั้น จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า เวสฺสภู นาม สมฺพุทฺโธ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวสฺสภู มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า เวสสภู เพราะย่อมข่มคือครอบงำพวกแพศย์ ได้ แก่ผู้เป็นพ่อค้าได้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เวสสภู เพราะย่อมครอบงำ ท่วมทับพวกแพศย์ คือมารทั้ง ๕ อย่างเสียได้. ชื่อว่า สัมพุทธะ เพราะ ทรงตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยพระองค์เอง, อธิบายว่า พระสัมพุทธเจ้าทรง พระนามว่า เวสสภู. โดยพระนาม. บทว่า ทิวาวิหาราย มุนี มีวิเคราะห์ ว่า ชื่อว่า ทิวา เพราะย่อมรุ่งเรือง ส่องสว่าง คือทำวัตถุนั้นๆ ให้ ปรากฏชัดเจน. การอยู่คือความเป็นไปด้วยอิริยบถ ๔ ชื่อว่า วิหาร กำหนดเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน, การอยู่ในเวลา กลางวัน ชื่อว่า ทิวาริหาร, อธิบายว่า พระพุทธมุนีเจ้าผู้องอาจกว่านระ ประเสริฐที่สุดในโลก เสด็จเข้าไปยังป่าใหญ่เพื่อประทับในเวลากลางวัน. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถากณิการฉทนิยเถราปทาน