พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สัปปิทายกเถราปทานที่ ๖ (๑๖๖) ว่าด้วยผลแห่งการถวายเนยใส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 พ.ย. 2564
หมายเลข  41161
อ่าน  323

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 550

เถราปทาน

สุปาริจริยวรรคที่ ๑๗

สัปปิทายกเถราปทานที่ ๖ (๑๖๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายเนยใส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 550

สัปปิทายกเถราปทานที่ ๖ (๑๖๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายเนยใส

[๑๖๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าผุสสะ ผู้สมควรรับเครื่อง บูชา ผู้ประเสริฐ ทรงยังมหาชนให้ดับ เสด็จดำเนินไปตาม ถนน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึงสำนักของเราโดยลำดับ ลำดับนั้น เรารับบาตรแล้ว ได้ถวายเนยใสและน้ำมัน.

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ถวายเนยใสใดในกาลนั้น ด้วยการถวายเนยใสนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง การถวายเนยใส.

ในกัปที่ ๕๖ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์หนึ่งพระนามว่าสโมทกะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสัปปิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบสัปปิทายกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 551

๑๖๖. อรรถกถาสัปปิทายกเถราปทาน

อปทานของท่านพระสัปปิทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ผุสฺโส นามาถ๑ ภควา ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อนๆ ได้สั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยพระนิพพานเป็นประจำเสมอไว้ตั้ง หลายภพ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ผุสสะ ท่าน ได้เกิดในเรือนอันมีสกุล. ในกาลนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระภิกษุสงฆ์ แวดล้อมเสด็จไปตามหนทาง ถึงประตูเรือนของอุบาสกคนนั้นแล้ว. ครั้น พออุบาสกนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็มีใจเลื่อมใส ถวายบังคมแล้ว ได้ถวายเนยใส และน้ำมันจนเต็มบาตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำ อนุโมทนาแล้วเสด็จหลีกไป ด้วยความโสมนัสนั้นนั่นแล เขาดำรงชีวิต อยู่จนตลอดอายุขัย จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว. ด้วยบุญอันนั้นจึงได้ไปเกิด ในเทวโลก ได้เสวยทิพยสุขแล้ว และได้บังเกิดในหมู่มนุษย์ ทุกๆ ภพ ที่เขาเกิดแล้ว ก็ได้เสวยแต่ความสุขเพียบพร้อมไปด้วยอาหารมีรสอร่อย เช่นเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขา ได้เกิดในตระกูลแห่งหนึ่งในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้ว มีศรัทธาถึงพร้อม ด้วยปัญญา ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใส บวช แล้วเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยข้อวัตรปฏิบัติ ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

เมื่อระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะ ประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำ เริ่มต้นว่า ผุสฺโส นามาถ ภควา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผุสฺโส


๑. บาลีว่า นามาสิ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 552

ความว่า ผุสสะ เป็นพระนามที่พระมารดาและพระบิดาทรงตั้งให้ เพราะ พระองค์ประสูติโดยประกอบไปด้วยผุสสนักขัตฤกษ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ผุสสะ เพราะพระองค์ กระทบถูก เห็นชัด คือได้กระทำให้แจ่มแจ้งซึ่ง พระนิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ผุสสะ เพราะพระองค์ กระทบถูก เห็นชัด คือได้ทราบแล้ว ซึ่งพระบารมีธรรม ๑๐ ทัศ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการอย่างบริบูรณ์ และพระปริยัติธรรม คือพระไตรปิฎกทั้งสิ้น. ชื่อว่า ภควา เพราะพระองค์เพียบพร้อมไปด้วยส่วนแห่งบุญ เช่น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกอบด้วยความเป็นผู้มีโชค เป็นต้น. บทว่า อาหุตีนํ ปฏิคฺคโห ความว่า เครื่องบูชาและสักการะท่านเรียกว่า อาหุติ, ชื่อว่า อาหุตีนํ ปฏิคคฺโห เพราะพระองค์สมควรเพื่อจะรับเครื่องบูชา และสักการะเหล่านั้น. เชื่อมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนาม ว่า ผุสสะ ผู้แกล้วกล้า ทรงยังมหาชนให้ดับ เสด็จดำเนินไปในถนนใน ครั้งนั้นแล. คำที่เหลือมีเนื้อความปรากฏชัดแล้วทีเดียว.

จบอรรถกถาสัปปิทายกเถราปทาน