ยุทธิกปุปผิยเถราปทานที่ ๗ (๑๖๗) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกเข็ม
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 553
เถราปทาน
สุปาริจริยวรรคที่ ๑๗
ยุทธิกปุปผิยเถราปทานที่ ๗ (๑๖๗)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกเข็ม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 553
ยุทธิกปุปผิยเถราปทานที่ ๗ (๑๖๗)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกเข็ม
[๑๖๙] เราเที่ยวไปตานกระแสน้ำ ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ณ ที่นั้นเราได้เห็นพระสยัมภูผู้ดังพญาไม้รังกำลังมีดอกบาน.
เราจึงถือเอาดอกเข็มเข้าไปเฝ้าพระมหามุนี เรามีจิต เลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้บูชาแด่พระพุทธเจ้า.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ ใดด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ บูชา.
ในกัปที่ ๖๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์ หนึ่งพระนามว่า สามุทธระ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระยุธิกปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.
จบยุทธิกปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 554
๑๖๗. อรรถกถายุทธิกปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระยุทธิกปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า จนฺทภาคานทีตีเร ดังนี้.
ท่านพระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระมุนินทพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้หลาย ชาติเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ผุสสะ นั้นนั่นแล ท่านได้เกิดในตระกูลศูทร เจริญวัยแล้ว ท่องเที่ยว ไปตามกระแสน้ำ ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ด้วยการงานบางอย่าง ได้พบ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ผุสสะ ซึ่งพระองค์ประสงค์ จะสรงสนาน ช่างงดงามรุ่งเรืองประดุจกองไฟ เกิดความโสมนัสใจ เลือกเก็บดอกเข็มที่เกิดในที่นั้นมาบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำอนุโมทนาแก่เขาแล้ว.
ด้วยส่วนแห่งบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและ มนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองนั้นแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุล เจริญวัยแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของ พระผู้มีพระภาคเจ้า มีใจเลื่อมใส บวชแล้ว ทำพระศาสนาให้งดงาม ด้วยข้อวัตรปฏิบัติ ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ระลึกถึงบุพกรรม ของตนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า จนฺทภาคานทีตีเร ดังนี้. คำที่เหลือทั้งหมดนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถายุทธิกปุปผิยเถราปทาน