พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สมาทปกเถราปทานที่ ๙ (๑๖๙) ว่าด้วยผลแห่งการถวายเรือนยอด

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 พ.ย. 2564
หมายเลข  41164
อ่าน  340

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 558

เถราปทาน

สุปาริจริยวรรคที่ ๑๗

สมาทปกเถราปทานที่ ๙ (๑๖๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายเรือนยอด


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 558

สมาทปกเถราปทานที่ ๙ (๑๖๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายเรือนยอด

[๑๗๑] ได้มีการประชุมอุบาสกเป็นอันมากในพระนครพันธุมดี เราเป็นหัวหน้าของอุบาสกเหล่านั้น อุบาสกเหล่านั้นประพฤติ ตามปรารถนาของเรา.

เราประชุมอุบาสกทั้งหมดนั้น แล้วชักชวนในการทำบุญ ว่า เราทั้งหลายจักทำเรือนยอดเดียว (ศาลา) ถวายแก่สงฆ์ผู้ เป็นบุญเขตอันสูงสุด.

เขาเหล่านั้นรับคำแล้ว ได้กระทำไปตามอำนาจความพอใจ ของเรา เราทั้งหลายช่วยกันสร้างเรือนยอดเดียวนั้นสำเร็จ แล้ว ได้ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี.

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายเรือนยอดเดียวใดใน กาลนั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ ถวายเรือนยอดเดียว.

ในกัปที่ ๕๙ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้เป็น จอมชนพระองค์หนึ่ง มีพระนามชื่อว่า อาเวละ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสมาทปกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบสมาทปกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 559

๑๖๙. อรรถกถาสมาทปกเถราปทาน

อปทานของท่านพระสมาทปกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า พนฺธุมติยา นคเร ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลสมภารมาแล้ว ในสำนักของ พระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในหลายภพเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี ท่านได้เกิดในเรือนอันมีสกุล เจริญวัยแล้ว ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส ตั้งใจบำเพ็ญบุญเป็นนิตย์ มีศรัทธาเลื่อมใส สั่ง ให้ประชุมพวกอุบาสกเป็นจำนวนมากแล้ว ตนเองเป็นหัวหน้าคณะ (อุบาสก) ปรึกษาหารือกันว่า พวกเราจักช่วยกันสร้างเรือนยอดเดียว (ศาลา) แล้วชักชวนคนทั้งหมดเหล่านั้นให้ทำพื้นเรือนยอดหลังหนึ่งให้ เรียบเสมอ เกลี่ยทรายขาวสะอาดลงไปแล้ว น้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้บังเกิดในเทวโลก ได้เสวยสมบัติใน กามาวจร ๖ ชั้นแล้ว ได้เกิดในมนุษยโลก ได้เสวยจักรพรรดิสมบัติ เป็นต้นในหมู่มนุษย์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ฟังธรรมแล้ว มี ใจเลื่อมใส เกิดศรัทธาบวชแล้ว สมบูรณ์ด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยวัตรปฏิบัติ ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต.

ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงกุศลกรรมที่ตนกระทำไว้ได้ เกิดความ โสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาล ก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า พนฺธุมติยา นคเร ดังนี้. พึงทราบวิเคราะห์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 560

ในบทนั้นว่า ชื่อว่า พนฺธุ เพราะคนทั้งหลายผูกพันเกี่ยวเนื่องเป็นอันเดียว กัน ด้วยอำนาจแห่งชาติและโคตรเป็นต้น คือเป็นชาวพระนครเดียวกัน ทั้งหมด. ชื่อว่า พันธุมดี เพราะเป็นพวกพ้องกันมีอยู่ในพระนครนั้น, อธิบายว่า พวกอุบาสกหมู่ใหญ่ได้มีในพระนครชื่อว่า พันธุมดีนั้น. ใน บทว่า มาฬํ กสฺสาม สงฺฆสฺส๑ นี้ มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า มาฬํ เพราะ ย่อมนับถือกำหนดใจของพวกชนที่มาถึงแล้วทุกๆ คน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มาฬํ เพราะเป็นสถานที่เหมาะในการทำใจให้สงบสงัดแก่หมู่ภิกษุ ที่มาถึงแล้ว, มาฬํ นั่นแหละเป็น มาฬกํ, อธิบายว่า พวกเราจักสร้าง เรือนยอดเพื่อความอยู่สุขสบายถวายแด่ภิกษุสงฆ์. คำที่เหลือมีเนื้อความ ปรากฏชัดเจนอยู่แล้วทีเดียว.

จบอรรถกถาสมาทปกเถราปทาน


๑. บาลีว่า มาฬํ กริสฺสาม สงฺฆสฺส.