พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปัญจังคุลิยเถราปทานที่ ๑๐ (๑๗๐) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยของหอม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 พ.ย. 2564
หมายเลข  41165
อ่าน  316

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 561

เถราปทาน

สุปาริจริยวรรคที่ ๑๗

ปัญจังคุลิยเถราปทานที่ ๑๐ (๑๗๐)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยของหอม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 561

ปัญจังคุลิยเถราปทานที่ ๑๐ (๑๗๐)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยของหอม

[๑๗๒] เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ามหามุนี พระนามว่าติสสะ ผู้เป็นนาถะของโลก ประเสริฐกว่านระ กำลังเสด็จเข้าพระคันธกุฎี อันเป็นพระวิหารสวยงาม.

จึงถือเอาของหอมและพวงดอกไม้ไปสู่สำนักพระชินเจ้า และเราเป็นผู้มีศรัทธาน้อยในพระสัมพุทธเจ้า ได้ถวายบังคม.

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยของ หอมใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง การถวายบังคม.

ในกัปที่ ๗๒ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช มีนามว่าสยัมปกะ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระปัญจังคุลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบปัญจังคุลิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 562

๑๗๐. อรรถกถาปัญจังคุลิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระปัญจังคุลิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ติสฺโส นามาสิ ภควา ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็น ประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ ท่านได้เกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว ดำรงอยู่ในเพศฆราวาส สมบูรณ์ด้วยสมบัติ มีศรัทธาเลื่อมใส เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ พระราชดำเนินไปตามหนทางเข้าไปยังพระวิหาร ได้ถือเอาดอกไม้ที่มีกลิ่น หอมหลากชนิดเช่นดอกมะลิเป็นต้น และเครื่องลูบไล้มีผงไม้จันทร์เป็นต้น แล้ว ไปยังพระวิหาร เอาดอกไม้ทั้งหลายบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เอานิ้วทั้ง ๕ แตะเครื่องลูบไล้ ลูบทาที่พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว ถวายบังคมหลีกไป.

ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้เสวยสมบัติทั้งสองในเทวโลกและมนุษยโลกแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในตระกูลแห่งหนึ่งซึ่งสมบูรณ์ ด้วยสมบัติ เจริญวัยแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มี ใจเลื่อมใส บวชแล้วไม่นานก็ได้เป็นพระอรหันต์ เมื่อจะระลึกถึงบุพกรรม ของตน ก็ทราบได้อย่างแจ่มชัด เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ ประพฤติมาแล้วในกาลก่อนว่า เราได้บำเพ็ญกุศลกรรมชื่อนี้ไว้ จึงได้รับ โลกุตรสมบัติเช่นนี้แล จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ติสฺโส นามาสิ ภควา ดังนี้. คำที่เหลือทั้งหมดนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปัญจังคุลิยเถราปทาน

จบอรรถกถาสุปาริจริยวรรคที่ ๑๗

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 563

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุปาริจริยเถราปทาน ๒. กณเวรปุปผิยเถราปทาน ๓. ขัชชทายกเถราปทาน ๔. เทสปูชกเถราปทาน ๕. กณิการฉทนิยเถราปทาน ๖. สัปปิทายกเถราปทาน ๗. ยุธิกปุปผิยเถราปทาน ๘. ทุสสทายกเถราปทาน ๙. สมาทปกเถราปทาน ๑๐. ปัญจังคุลิยเถราปทาน.

มีคาถา ๕๔ คาถา ฉะนี้แล.

จบสุปาริจริยวรรคที่ ๑๗