พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

รัตติยปุปผิยเถราปทานที่ ๓ (๑๗๓) ว่าด้วยผลแห่งการถวายถวายดอกอัญชัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 พ.ย. 2564
หมายเลข  41168
อ่าน  309

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 569

เถราปทาน

กุมุทวรรคที่ ๑๘

รัตติยปุปผิยเถราปทานที่ ๓ (๑๗๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายถวายดอกอัญชัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 569

รัตติยปุปผิยเถราปทานที่ ๓ (๑๗๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายถวายดอกอัญชัน

[๑๗๕] ในกาลก่อน เราเป็นนายพรานเนื้ออยู่ในป่าใหญ่ ได้ เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและ มนุษย์.

เราเห็นต้นอัญชันเขียวขึ้นอยู่บนแผ่นดิน มีดอกบานอยู่ กลางคืน จึงถอนขึ้นพร้อมทั้งราก น้อมเข้าไปถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่.

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราถวายดอกไม้ใด ด้วยการถวาย ดอกไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย ดอกไม้.

และในกัปที่ ๘ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรง พระนามว่าสุปปสันนะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี พละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระรัตติยปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบรัตติยปุปผิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 570

๑๗๓. อรรถกถารัตติยปุปผิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระรัตติยปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโท ปุเร อาสึ ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ท่านได้เกิดในตระกูลของนายพราน เที่ยวฆ่าเนื้อในป่า ได้พบเห็นพระผู้ มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ซึ่งเสด็จเที่ยวไปในป่าเพราะความกรุณา แก่เขาแล้ว มีใจเลื่อมใส เก็บเอาดอกไม้ชื่อว่าราตรีซึ่งบานแล้ว และดอก อัญชันพร้อมทั้งขั้วมาบูชา ด้วยจิตอันประกอบไปด้วยโสมนัส. พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงกระทำอนุโมทนาแล้ว ก็เสด็จหลีกไป.

ด้วยบุญอันนั้นนั่นแล เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองนั้นแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้ เกิดในเรือนอันมีตระกูล บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มองเห็นโทษในกามทั้งหลาย แล้วออกบวช ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต ระลึกถึงบุพกรรมของตน ได้ เกิดความโสมนัสใจว่า เราเป็นนายพราน ได้ทำกุศลกรรมไว้ดีหนอ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าว คำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโท ปุเร อาสึ ดังนี้. พึงทราบวิเคราะห์ในคำนั้น ว่า ชื่อว่า มิคลุททะ เพราะเป็นคนโหดร้าย ป่าเถื่อน ฆ่าเนื้อทั้งหลาย, อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า มิคลุททะ เพราะเป็นพรานมีความโลภในหมู่เนื้อ อธิบายว่า ในครั้งก่อนเราได้เป็นนายพราน. บทว่า รตฺติกํ ปุปฺผิตํ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 571

ทิสฺวา ความว่า ดอกไม้หลายชนิดมีดอกปทุมเป็นต้น ย่อมบานในเวลา กลางวันเพราะต้องแสงพระอาทิตย์ และหุบในเวลาราตรี อธิบายว่า ดอกไม้หลายชนิดมีดอกมะลุลีและดอกมะลิซ้อนเป็นต้น เป็นดอกไม้บาน ในเวลาราตรี ไม่บานในเวลากลางวัน, เพราะฉะนั้น เราจึงเก็บเอา ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมหลายชนิด อันมีชื่อว่าดอกราตรี เพราะบานในเวลา กลางคืน และเก็บดอกอัญชันมาบูชาแล้ว. คำที่เหลือมีเนื้อความง่าย ทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถารัตติยปุปผิยเถราปทาน