จะพิจารณาธรรมอย่างไร เพื่อให้ปัญญาเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

 
Nareopak
วันที่  27 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4117
อ่าน  1,220

ได้เห็นผู้หนึ่งแสดงอาการโกรธทั้งทางกาย วาจา เมื่อจะพิจารณาเป็นธรรมะ พิจารณาตามนี้จะถูกต้องหรือไม่อย่างไร ตาเห็นรูป (สีหน้า ท่าทางแสดงว่าโกรธ) หูได้ยินเสียง (น้ำเสียงและคำพูดแสดงความไม่พอใจ) และสิ่งที่เห็นเป็นธรรมะ คือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงแต่ไม่มีอยู่จริง ขอได้โปรดแสดงความเห็นที่ถูกต้องให้ทราบด้วยค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 27 มิ.ย. 2550

ควรทราบความเจริญขึ้นของปัญญาที่เป็นไปตามลำดับ ตั้งแต่การฟังให้เข้าใจว่าทุกขณะเป็นเพียงสภาพธรรมะอย่างหนึ่ง เพราะการฟังจนเข้าใจอย่างมั่นคง จึงทำให้เข้าใจในทุกขณะว่าเป็นธรรมะ จึงค่อยๆ เข้าใจมากยิ่งขึ้น รู้ธรรมะตามความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น แม้จะเห็น ได้ยินสิ่งใดๆ ก็ตามก็รู้อย่างนี้ ไม่ใช่การคิดเป็นคำๆ แต่เป็นความเข้าใจ ส่วนความคิดต่างๆ ย่อมมีตามมาเป็นปกติเป็นธรรมดา ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 27 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรม แต่เริ่มต้น เราก็ยังไม่รู้จริงๆ ว่าเป็นธรรม ได้แต่คิดนึกในสิ่งที่ดับไปแล้ว แต่ก็ต้องเริ่มจากปัญญาขั้นการฟังก่อนครับ ว่าธรรมคือ อะไร และให้เข้าใจความจริงว่า ขณะที่คิดนึก ขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะของธรรมแต่ก็เป็นการคิดถูกต้อง แต่ที่น่าพิจารณาที่สุดคือ ธรรมไม่ใช่การนำมาใช้ที่จะไม่โกรธ เพราะธรรมเป็นอนัตตาแต่ควรรู้ตามความเป็นจริงของธรรมที่เกิดขึ้น

ครับว่าเป็นธรรม แม้ยังไม่รู้ตอนนี้ก็เริ่มจากการฟังพระธรรมที่ถูกต้อง ที่แสดงในสภาพธัมมะที่มีจริง ทางตา ... ใจ ว่าเป็นธรรม ปัญญาจะเจริญขึ้นเพราะ ฟังในสิ่งที่ถูกสอบถาม และพิจารณาอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงครับ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 27 มิ.ย. 2550

ไม่มีหนทางอื่น นอกจากการฟัง การศึกษาธรรมให้เข้าใจ แล้วปัญญาจะค่อยๆ เจริญขึ้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แวะเข้ามา
วันที่ 27 มิ.ย. 2550

พิจารณาสภาพธรรมบ่อยๆ จนกว่าความเข้าใจจะเพิ่มขึ้น จนกว่าจะเห็นว่าเป็นเพียงสภาพธรรมเท่านั้นจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ลัดดาวัลย์
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

ขอให้อธิบายคำว่า พิจารณา ให้ละเอียดกว่านี้ด้วยคะ ขอยกตัวอย่างทางตาให้เห็นชัดๆ ด้วยคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
keaw10
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

ผมว่าทุกอย่างต้องมีจุดเริ่มต้นการศึกษา ผมคิดว่าควรจากง่ายไปหายาก การดูความโกรธดูตัวเองจะดีกว่าหรือทุกครั้งที่โกรธมา คิดว่ามีเหตุใดที่ทำให้เราโกรธคิดหาเห็นผล (ไม่ใช่เห็นผลเข้าข้างตัวเอง) ดูจากทุกแง่มุม อาจทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น

อย่าพึ่งคิดว่ามันเป็นสถาพธรรมอะไรเลยคับจากปวดหัวเปล่าๆ เราเข้าใจธรรมอะไรแม้อธิบายให้ใครฟังไม่ได้ แต่ใจเราใจเป็นสุขก็น่าจะเพียงพอแล้วนิคับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จากความเห็นที่ 5 ก่อนอื่นต้องเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่า อะไรพิจารณา เราพิจารณาหรือ ธรรมพิจารณา ต้องเป็นธรรมครับ ธรรมอะไรหละที่ทำหน้าที่พิจารณา ก็เป็นสติและปัญญา คำว่าพิจารณานั้น เป็นหน้าที่ของสติและปัญญา ที่ระลึกสภาพธัมมะที่มีจริงในขณะนี้ เช่นทางตา ขณะที่เห็น ต้องมีสิ่งที่เห็น (สี) เมื่อ เห็นมีจริง สิ่งที่ปรากฏทางตามีจริง สติปัฏฐานก็สามารถเกิดระลึกสภาพธัมมะที่เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา (สี) และการเห็นได้ ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ขณะที่สติเกิดระลึกสภาพธัมมะที่มีในขณะนั้น ก็ชื่อว่าพิจารณา แต่จุดที่สำคัญที่ต้องไม่ลืมว่า สติเป็นอนัตตา บังคับให้เกิดไม่ได้ แล้วแต่ว่าจะเกิดหรือไม่เกิด บังคับเลือกให้รู้เฉพาะทางตาไม่ได้ ถ้าขณะนั้นเลือก ก็ไม่รู้ความจริงว่าขณะที่เลือก ไม่ใช่สติแต่เป็นความต้องการ (โลภะ) ที่จะจดจ้องอยู่ที่สภาพธัมมะนั้นครับ สรุปก็คือ การพิจารณาสภาพธัมมะมีหลายระดับ เช่น ขั้นคิดนึกถึงเรื่องราวของสภาพธัมมะที่ได้ศึกษามาซึ่งขณะนั้นที่คิดนึก ก็ไม่ได้พิจารณาลักษณะของสภาพธัมมะ แต่ขณะที่สติปัฏฐานเกิดระลึกสภาพธัมมะ ว่าเป็นธัมมะไม่ใช่เรา ขณะนั้นเป็นการพิจารณาลักษณะของสภาพธัมมะครับ

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

การพิจารณาสภาพธรรม ก็โดยการอาศัยปัญญาจากขั้นการฟัง (สุตมยปัญญา) ซึ่งจะโดยการฟังพระธรรม หรือการศึกษาปริยัติก็ได้ เมื่อความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น ย่อมเป็นปัจจัยให้สติเกิดขึ้นระลึกพร้อมกับปัญญาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ ว่ามีลักษณะอาการอย่างไร ตรงกับที่ได้ศึกษามาอย่างไร ค่อยๆ หมั่นพิจารณาจนกว่าจะเข้าใจขึ้น ชัดขึ้น ทั่วขึ้น โดยไม่เจาะจงว่าต้องเป็นอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด เป็นภายในหรือภายนอก (ของเราหรือของคนอื่น) ปัญญาก็จะคมกล้าขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อถึงพร้อมด้วยเหตุปัจจัย ก็จะสามารถแทงตลอดซึ่งสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ โดยปราศจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ข้อสำคัญต้องไม่ขาดการพิจารณา เพราะการฟังและการอ่านเพียงอย่างเดียวโดยไม่พิจารณาย่อมไม่ทำให้ความเข้าใจแจ่มแจ้ง อันจะนำมาซึ่งปัญญาอีกขั้นหนึ่ง คือจินตามยปัญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 27 ธ.ค. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ