พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สีหาสนทายกเถราปทานที่ ๕ (๑๗๕) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาของหอมและถวายอาสนะทอง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 พ.ย. 2564
หมายเลข  41170
อ่าน  286

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 574

เถราปทาน

กุมุทวรรคที่ ๑๘

สีหาสนทายกเถราปทานที่ ๕ (๑๗๕)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาของหอมและถวายอาสนะทอง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 574

สีหาสนทายกเถราปทานที่ ๕ (๑๗๕)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาของหอมและถวายอาสนะทอง

[๑๗๗] เมื่อพระโลกนาถผู้เป็นนายกพระะนามว่าปทุมุตตระ เสด็จ นิพพานไปแล้ว เรามีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายอาสนะ ทอง.

และได้บูชาด้วยของหอม และดอกไม้เป็นอันมาก ด้วย คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำสุขในปรโลกมาให้ ชนเป็น อันมากทำการบูชาในพระองค์แล้ว ย่อมดับ (เย็น).

เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ไหว้โพธิพฤกษ์อันอุดมแล้ว มิได้เข้าถึงทุคติเลย ตลอดแสนกัป.

ในกัปที่ ๑,๕๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ครั้ง พระเจ้าจักรพรรดิราชเหล่านั้น ทรงพระนามเหมือนกันว่า สิลุจจยะ.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสีหาสนทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบสีหาสนทายกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 575

๑๗๕. อรรถกถาสีหาสนทายกเถราปทาน

อปทานของท่านพระสีหาสนทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะทำบุญสร้างไว้เพื่อต้องการจะได้บรรลุพระนิพพาน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่าน ได้เกิดในตระกูลคฤหบดี บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนา ของพระศาสดา เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ นั้นปรินิพพานแล้ว ได้ช่วยกันสร้างอาสนะสีหะที่ขจิตไปด้วยรัตนะ ๗ ประการไว้แล้ว บูชาต้นโพธิ์แล้ว และได้บูชาด้วยมาลาของหอมและธูปเป็น จำนวนมากมาย.

ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ได้เสวยสมบัติในโลกทั้งสองนั้นแล้ว ได้รับแต่การบูชาในที่ทั้งปวง ใน พุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุลในกรุงสาวัตถี เจริญวัยแล้ว อยู่เป็นฆราวาส ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มีใจเลื่อมใส จึงละหมู่ญาติออกบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ระลึกถึงกุศล สมภารที่ตนได้สั่งสมไว้ในปางก่อนได้ เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศ ถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า นิพฺพุเต โลกนาถมฺหิ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีหาสนมทาสหํ มีวิเคราะห์ว่า อาสนะที่ขจิตไปด้วยรูปราชสีห์ เงิน ทองและรัตนะทั้งหลาย ชื่อว่า อาสนะสีหะ, อีกอย่างหนึ่ง อาสนะที่สมควรประทับนั่งของพระ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 576

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่กลัวต่อราชสีห์ ชื่อว่า อาสนะสีหะ, อีกอย่างหนึ่ง อาสนะสีหะก็คืออาสนะที่ประเสริฐสูงสุด ดังนั้นจึงชื่อว่า อาสนะสีหะ อธิบายว่า เราได้ถวายอาสนะสีหะนั้นแล้ว เราได้บูชาต้นโพธิ์แล้ว. คำที่ เหลือมีเนื้อความพอจะรู้ได้ง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถาสีหาสนทายกเถราปทาน