พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เอกทีปิยเถราปทานที่ ๗ (๑๗๗) ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีป

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 พ.ย. 2564
หมายเลข  41172
อ่าน  347

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 580

เถราปทาน

กุมุทวรรคที่ ๑๘

เอกทีปิยเถราปทานที่ ๗ (๑๗๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีป


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 580

เอกทีปิยเถราปทานที่ ๗ (๑๗๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีป

[๑๗๙] เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ถวายประทีปดวงหนึ่ง ไว้ที่ไม้สน อันเป็นโพธิพฤกษ์อันอุดม ของพระมุนีพระนามว่า ปทุมุตตระ.

ในภพที่เกิด เมื่อการสั่งสมบุญเกิดแล้ว เราไม่รู้จักทุคติ เลย นี้เป็นผลแห่งการถวายประทีป.

ในกัปที่ ๑๖,๐๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง ทรงพระนามว่าจันทาภา มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเอกทีปิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบเอกทีปิยเถราปทาน

๑๗๗. อรรถกถาเอกทีปิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระเอกทีปิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส มุนิโน ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้สั่งสมกุศลกรรมทำไว้ในพระชินเจ้าผู้ประเสริฐ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 581

พระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้เกิดในตระกูลคฤหบดี เจริญวัยแล้ว มีศรัทธาเลื่อมใส ได้บูชาประทีปดวงหนึ่งไว้ที่ไม้สนอันเป็นโพธิพฤกษ์ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เริ่มตั้งน้ำมันและไส้ (ประทีป) ทำเป็นการถาวร เพื่อบูชาด้วย ประทีปดวงหนึ่งเป็นนิตย์. ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก เป็นผู้รุ่งเรืองในที่ทุกแห่ง มีดวงตาแจ่มใสดี ได้ เสวยความสุขในโลกทั้งสองแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดใน ตระกูลแห่งหนึ่ง ซึ่งสมบูรณ์ด้วยสมบัติในกรุงสาวัตถี บรรลุนิติภาวะ แล้ว เลื่อมใสในพระรัตนตรัย บวชแล้วไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต ปรากฏชื่อว่า เอกทีปิยเถระ เพราะบรรลุคุณวิเศษได้ด้วยการบูชาประทีป.

ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัส ใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึง กล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตตรสฺส มุนิโน ดังนี้. คำที่เหลือทั้งหมดนั้นมี เนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาเอกทีปิยเถราปทาน