พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

กิสลยปูชกเถราปทานที่ ๖ (๑๙๖) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกย่างทราย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 พ.ย. 2564
หมายเลข  41191
อ่าน  363

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 611

เถราปทาน

ตมาลปุปผิยวรรคที่ ๒๐

กิสลยปูชกเถราปทานที่ ๖ (๑๙๖)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกย่างทราย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 611

กิสลยปูชกเถราปทานที่ ๖ (๑๙๖)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกย่างทราย

[๑๙๘] สวนดอกไม้ของเรามีอยู่ในนครทวารวดี ในสวนดอกไม้ นั้นมีบ่อน้ำ และเป็นที่งอกงามแห่งต้นไม้ทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้กล้าแข็งด้วย กำลังของพระองค์ ไม่ทรงพ่ายแพ้อะไรๆ พระองค์จะทรง อนุเคราะห์เรา จึงเสด็จไปในอากาศ.

เราไม่เห็นอะไรๆ อื่นอันควรจะบูชาแด่พระองค์ผู้แสวงหา คุณอันใหญ่หลวง เห็นแต่ใบอ่อนของต้นอโศก จึงเอาโยน ขึ้นไปในอากาศ.

ก้าน ขั้ว ใบอ่อนเหล่านั้น ตามไปเบื้องพระปฤษฎางค์ ของพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จไป เราเห็นดังนั้นแล้วเกิดตื่นเต้นว่า โอ พระพุทธเจ้ามีพระคุณใหญ่หลวง.

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยใบไม้อ่อน ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

ในกัปที่ ๒๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์ หนึ่ง ทรงพระนามว่าเอกิสสระ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 612

ทราบว่า ท่านพระกิสลยปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบกิสลยเถราปทาน

๑๙๖. อรรถกถากิสลยปูชกเถราปทาน

บทว่า ฉฏฺเ นคเร ทฺวารวติยา ความว่า ทวารวดีนคร เพราะ เป็นพระนครที่สมบูรณ์ด้วยประตูใหญ่ บานหน้าต่าง และแผ่นกระดานมาก มาย และสมบูรณ์ด้วยรั้ว กำแพง หอคอย ซุ้มประตู และคูน้ำที่มีโคลน เลน, ที่ท่านเรียกว่า นคเร ทฺวารวติยา เพราะประชาชนทั้งหลายย่อม เรียกกันว่า นครทวารวดี เพราะกำหนดประตูและรั้วของพระนครขึ้น เป็นประธาน, อธิบายว่า สวนดอกไม้ได้มีแก่เราแล้ว. บทว่า เต กิสลยา ได้แก่ ใบอ่อนของต้นอโศกเหล่านั้น.

จบอรรถกถากิสลยปูชกเถราปทาน