พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เอกวันทนิยเถราปทานที่ ๑๐ (๒๓๐) ว่าด้วยผลแห่งการถวายบังคม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 พ.ย. 2564
หมายเลข  41228
อ่าน  312

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 647

เถราปทาน

อาลัมพนทายกวรรคที่ ๒๓

เอกวันทนิยเถราปทานที่ ๑๐ (๒๓๐)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายบังคม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 647

เอกวันทนิยเถราปทานที่ ๑๐ (๒๓๐)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายบังคม

[๒๓๒] เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระนามว่าเวสสภู ผู้องอาจ สามารถ มี ความเพียร ผู้ทรงชนะวิเศษ.

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายบังคม.

ในกัปที่ ๒๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรง พระนามว่า วิคตานันทะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี พละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเอกวนทนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบเอกวันทนิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 648

อรรถกถาวรรคที่ ๒๑ เป็นต้น

เบื้องหน้าต่อแต่นี้ไป ทุกๆ เรื่องทั้งหมด ข้าพเจ้าจักทำการ พรรณนาเฉพาะบทที่ยากเท่านั้น ส่วนในวรรคที่ ๒๑, ๒๒, และ ๒๓ ชื่อ ของพระเถระทั้งหมดได้แล้วด้วยบุญที่ตนเองได้กระทำไว้, จะต่างกันก็แต่ เพียงบุญที่กระทำไว้เท่านั้น, ชื่อและพระนครที่ประทับอยู่ของพระพุทธเจ้า ทุกๆ พระองค์ ผู้ทรงให้พยากรณ์เหล่านั้น แม้ทั้งหมดก็ง่ายทั้งนั้นแล เพราะมีเนื้อความตามที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในหนหลังแล. ส่วนเนื้อความ แห่งคาถาอปทาน บัณฑิตก็พอจะรู้ได้โดยง่ายทีเดียว ด้วยการประกอบ เทียบกับเนื้อความแล.

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาลัมพนทายกเถราปทาน ๒. อชินทายกเถราปทาน ๓. เทวรัตนิยเถราปทาน ๔. อารักขทายกเถราปทาน ๕. อพยาธิกเถราปทาน ๖. วกุลปุปผิยเถราปทาน ๗. โสวัณณวฏังสกิยเถราปทาน ๘. มิญชวฏังสกิยเถราปทาน ๙. สุกตาเวฬิยเถราปทาน ๑๐. เอกวันทนิยเถราปทาน.

ท่านผู้เห็นประโยชน์ทั้งหลายคำนวณคาถาได้ ๕๕ คาถา ฉะนี้แล.

จบอาลัมพนทายกวรรคที่ ๒๓