พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สาลปุปผิยเถราปทานที่ ๓ (๒๓๓) ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกรัง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 พ.ย. 2564
หมายเลข  41231
อ่าน  299

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 651

เถราปทาน

อุทกาสนทายิวรรคที่ ๒๔

สาลปุปผิยเถราปทานที่ ๓ (๒๓๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกรัง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 651

สาลปุปผิยเถราปทานที่ ๓ (๒๓๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกรัง

[๒๓๕] ในกาลนั้น เราเป็นคนทำขนมขายอยู่ในนครอรุณวดี เราได้เห็นพระชินเจ้าพระนามว่าสิขีเสด็จไปทางประตูบ้านเรา.

เรามีใจผ่องใสรับบาตรของพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จมาถึงพอดี แล้วได้ถวายดอกรังแด่พระองค์.

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายดอกไม้ใด ด้วยการ ถวายดอกไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย ดอกรัง.

ในกัปที่ ๑๔ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีนามว่า อมิตัญชละ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสาลปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้.

จบสาลปุปผิยเถราปทาน

๒๓๓. อรรถกถาสาลปุปผิยเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อรุณวติยา นคเร มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า อรุณ เพราะผุด

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 652

ขึ้นกระทำแสงสว่างไปรอบด้าน, ชื่อว่า อรุณวดี เพราะอรุณนั้นมีอยู่ใน พระนครนั้น อธิบายว่า พระอาทิตย์โผล่ขึ้นทำแสงสว่างไปทั่วพระนคร นั้น. แม้ในพระนครที่เหลือก็มีพระอาทิตย์ขึ้นเหมือนกัน แต่พึงทราบว่า ท่านมุ่งกล่าวให้เป็นคำพิเศษ ดุจคำว่า ชื่อว่า มหึส (กระบือ) เพราะ ย่อมนอนบนแผ่นดิน ทั้งๆ ที่สัตว์สี่เท้าทั้งหมดก็นอนบนแผ่นดินเหมือน กัน แต่พึงทราบว่าท่านมุ่งกล่าวด้วยอำนาจรุฬหีศัพท์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อรุณวดี อันมีแสงสว่างดุจการขึ้นไปแห่งอรุณ ประกอบด้วยแสง สว่างแห่งรัตนะ ๗ ประการ เช่น ทองคำ เงิน แก้วมณีและแก้วมุกดา เป็นต้น ส่องสว่างไปในที่เช่น กำแพง ปราสาท และถ้ำเป็นต้น, อธิบาย ว่า ข้าพเจ้าได้เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยการทำขนมขาย อยู่ในพระนครอรุณวดี นั่นแล.

จบอรรถกถาสาลปุปผิยเถราปทาน