กิลัญชทายกเถราปทานที่ ๔ (๒๓๔) ว่าด้วยผลแห่งการให้เสื่อลําแพน
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 653
เถราปทาน
อุทกาสนทายิวรรคที่ ๒๔
กิลัญชทายกเถราปทานที่ ๔ (๒๓๔)
ว่าด้วยผลแห่งการให้เสื่อลําแพน
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 653
กิลัญชทายกเถราปทานที่ ๔ (๒๓๔)
ว่าด้วยผลแห่งการให้เสื่อลำแพน
[๒๓๖] ในกาลนั้น เราเป็นช่างสาน อยู่ในนครติวราอันน่า รื่นรมย์ หมู่ชนในนครนั้นเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้ส่องโลกให้สว่างไสว.
หมู่ชนเที่ยวแสวงหาเสื่อลำแพน เพื่อบูชาพระโลกนาถ เราได้ให้เสื่อลำแพนแก่ชนทั้งหลายผู้ทำพุทธบูชา.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการให้เสื่อ ลำแพน.
ในกัปที่ ๗๗ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนาม ว่า ชลันธระ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกิลัญชทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.
จบกิลัญชทายกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 654
๒๓๔. อรรถกถากิลัญชทายกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ติวรายํ ปุเร รมฺเม มีวิเคราะห์ว่า ติวรา เพราะแวดล้อม ป้องกันด้วยกำแพงถึง ๓ ชั้น. ชื่อว่า รัมมะ เพราะเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ เพราะประกอบด้วยเครื่องอุปโภคมีของเคี้ยวและของกินเป็นต้น ประกอบ ด้วยผ้าและเครื่องอาภรณ์เป็นต้น และประกอบด้วยการฟ้อนและการ ขับร้องเป็นต้น, เชื่อมความว่า เราได้เป็นช่างสานอยู่ในพระนครติวรา อันน่ารื่นรมย์ใจนั้น.
จบอรรถกถากิลัญชทายกเถราปทาน