พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นฬินเกสริยเถราปทานที่ ๓ (๒๔๓) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 พ.ย. 2564
หมายเลข  41241
อ่าน  445

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 664

เถราปทาน

ตุวรทายิวรรคที่ ๒๕

นฬินเกสริยเถราปทานที่ ๓ (๒๔๓)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 664

นฬินเกสริยเถราปทานที่ ๓ (๒๔๓)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว

[๒๔๕] เราเป็นนกกาน้ำ เที่ยวอยู่ในท่ามกลางชาตสระ ครั้งนั้น เราได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เสด็จไปใน อากาศ เรามีใจผ่องใส เอาจะงอยปากคาบดอกบัว บูชาแด่ พระพุทธเจ้าพระนามว่า ติสสะ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก.

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง พุทธบูชา.

ในกัปที่ ๗๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า สัตตปัตตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระนฬินเกสริยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบนฬินเกสริยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 665

๒๔๓. อรรถกถานฬินเกสริยเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ชลกุกฺกุโฏ ได้แก่ นกกาน้ำเที่ยวอยู่ในชาตสระ. บทว่า ตุณฺเฑน เกสรึ คยฺห ความว่า เราได้เอาจะงอยปากคาบดอกบัว ยกขึ้นบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ ผู้เสด็จไปทางอากาศ.

จบอรรถกถานฬินเกสริยเถราปทาน