พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สัททสัญญกเถราปทานที่ ๔ (๒๙๔) ว่าด้วยผลแห่งการได้สัททสัญญา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 พ.ย. 2564
หมายเลข  41296
อ่าน  341

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 739

เถราปทาน

จิตกปูชกวรรคที่ ๓๐

สัททสัญญกเถราปทานที่ ๔ (๒๙๔)

ว่าด้วยผลแห่งการได้สัททสัญญา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 739

สัททสัญญกเถราปทานที่ ๔ (๒๙๔)

ว่าด้วยผลแห่งการได้สัททสัญญา

[๒๙๖] เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น ความเลื่อมใสของเรามีอย่าง ไพบูลย์ ความปรากฏแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้แสวง หาคุณใหญ่ ได้มีในโลก.

เราได้ฟังเสียงในความปรากฏนั้น แต่ไม่ได้เห็นพระชินเจ้า เมื่อเราจะทำกาลกิริยา ได้ระลึกถึงความจำหมายใน พระพุทธเจ้า. ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้สัญญาใด ในกาลนั้น ด้วย สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสัททสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบสัททสัญญกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 740

๒๙๔. อรรถกถาสัททสัญญกเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนุคฺคตมฺหิ อาทิจฺเจ ความว่า เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น คือเมื่อกาลปัจจุสมัยยังไม่ปรากฏ. บทว่า ปสาโท วิปุโล อหุ ความว่า ความเลื่อมใสแห่งใจของเราผู้ถูกโรคภัยเบียดเบียน ได้มีอย่างไพบูลย์มาก มายด้วยการระลึกถึงแต่พระพุทธเจ้า. เชื่อมความว่า ความปรากฏแห่ง พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ได้มีแล้วในโลก. บทว่า โฆสมสฺโสสหํ ตตฺถ ความว่า เมื่อความปรากฏนั้นกำลังเป็น ไปอยู่ เราได้ยินเสียงกึกก้องว่า เราเป็นไข้. พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น แล้ว. บทว่า น จ ปสฺสามิ ตํ ชินํ ความว่า เราไม่ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงชนะมารทั้ง ๕ พระองค์นั้น คือเพราะเราเป็น ไข้หนัก จึงไม่สามารถจะไปเห็นได้. บทว่า มรณญฺจ อนุปฺปตฺโต ความว่า ถึงเวลาใกล้จะตาย คือเป็นผู้จวนจะตาย. บทว่า พุทฺธสญฺมนุสฺสรี ความว่า เราได้ระลึกถึงพระนามว่า พระพุทธเจ้า คือได้ตั้งใจระลึกถึง พระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์.

จบอรรถกถาสัททสัญญกเถราปทาน