โคสีสนิกเขปกเถราปทานที่ ๕ (๒๙๕) ว่าด้วยผลแห่งการลาดไม้จันทน์ขาว
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 741
เถราปทาน
จิตกปูชกวรรคที่ ๓๐
โคสีสนิกเขปกเถราปทานที่ ๕ (๒๙๕)
ว่าด้วยผลแห่งการลาดไม้จันทน์ขาว
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 741
โคสีสนิกเขปกเถราปทานที่ ๕ (๒๙๕)
ว่าด้วยผลแห่งการลาดไม้จันทน์ขาว
[๒๙๗] เราออกจากประตูพระอารามแล้ว ได้ลาด (ทอด) ไม้ จันทน์ขาวไว้ (เพื่อให้สงฆ์เดิน) เราได้เสวยกรรมของตน นี้เป็นผลแห่งบุรพกรรม.
ม้าสินธพอาชาไนย มีกำลังวิ่งเร็วดังลม เป็นพาหนะเร็ว เราได้เสวยผลนั้นทั้งหมด นี้เป็นผลแห่งการลาดไม้จันทน์ขาว โอ กุศลสมภารน้อย (กลับ) ให้ผลมากมาย เราทำดีในเขตดี ผลอื่นไม่ได้เสี้ยวแห่งกุศลสมภารที่เราทำในสงฆ์.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ลาดไม้จันทน์ขาว ด้วยกรรม นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการลาดไม้จันทน์ขาว.
ในกัปที่ ๗๕ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์ หนึ่ง มีพระนามว่า สุปติฏฐิตะ มีเดชมาก มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโคสีสนิกเขปกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.
จบโคสีสนิกเขปกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 742
๒๙๕. อรรถกถาโคสีสนิกเขปกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อารามทฺวารา นิก ขมฺม ความว่า ที่หนทางประตูออก ของพระสงฆ์ จากประตูพระอาราม. บทว่า โคสีสํ สนฺถตํ มยา ความว่า ที่หนทางประตูออกนั้น เราได้ลาดไม้จันทร์ขาวไว้เพื่อสำหรับ เหยียบเดิน ด้วยมีเจตนาว่า คู่พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า และคู่ เท้าของภิกษุสงฆ์ อย่าได้เหยียบลงไปที่โคลนเลย. บทว่า อนุโภมิ สกํ กมฺมํ ความว่า ด้วยกำลังแห่งกรรมคือการลาดไม้จันทน์ขาวของตน เรา จึงได้เสวยผล มีม้าอาชาไนย ที่เร็วไวดุจสายลม มีม้าสินธพซึ่งเป็น พาหนะที่เร็วพลันเป็นต้น. บทว่า อโห การํ ปรมการํ ความว่า กิจ แม้เล็กน้อยที่เรากระทำไว้ด้วยดีในพระสงฆ์ซึ่งเป็นเขตที่ดี เพราะทานที่มี ผลมากมาย จึงให้ผลอันยิ่งคือสูงสุด จัดเป็นความอัศจรรย์จริง. ท่าน กล่าวคำอธิบายไว้ว่า เราได้กระทำกรรมดคือการลาดไม้จันทน์ขาวไว้ในเขต แห่งพระสงฆ์ผู้มีกายสมาจารและวจีสมาจารอันบริสุทธิ์ ปราศจากโทษมี ราคะและโทสะเป็นต้น การกระทำเช่นนี้ ย่อมให้ผลมากมาย เปรียบเหมือน ดังข้าวสาลีที่บุคคลหว่านลงในนาทั้งหลาย ที่ปราศจากโทษมีหญ้าเป็นต้น ย่อมให้ผลมากมายฉะนั้นแล. บทว่า น อญฺํ กลมคฺฆติ เชื่อมความว่า กรรมอื่นที่ทำในศาสนาอื่นภายนอก มีผลไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ส่วนที่ ๑๖ แห่งการบูชาสักการะที่บุคคลทำแล้วในพระสงฆ์เลย.
จบอรรถกถาโคสีสนิกเขปกเถราปทาน