พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธัมมสัญญกเถราปทานที่ ๔ (๓๐๔) ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 พ.ย. 2564
หมายเลข  41306
อ่าน  331

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 753

เถราปทาน

ปทุมเกสริยวรรคที่ ๓๑

ธัมมสัญญกเถราปทานที่ ๔ (๓๐๔)

ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 753

ธัมมสัญญกเถราปทานที่ ๔ (๓๐๔)

ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรม

[๓๐๖] ได้มีการฉลองพระมหาโพธิ์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี พระสัมพุทธเจ้าเชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ กว่านระ ปรากฏเหมือนว่าประทับอยู่ ณ โคนไม้โพธิ์.

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรง ประกาศ (อริย) สัจจะ ๔ ทรงเปล่งอาสภิวาจา พระสัมพุทธเจ้าผู้มีกิเลสดังหลังคาเปิดแล้ว ทรงแสดงโดยย่อ และทรง แสดงโดยพิสดารแล้ว ทรงยังมหาชนให้ดับร้อน.

เราได้ฟังธรรมของพระองค์ผู้เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ ถวายบังคมแทบพระบาทของพระศาสดาแล้ว บ่ายหน้ากลับ ไปทางทิศอุดร.

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ฟังธรรมใด ในกาลนั้น ด้วย การฟังธรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการฟัง ธรรม.

ในกัปที่ ๓๓ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์หนึ่ง เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีพระนามว่า สุตวา มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระธัมมสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบธัมมสัญญกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 19 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 754

๓๐๔. อรรถกถาธัมมสัญญกเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มหาโพธิมโห อหุ ความว่า ได้มีการบูชาต้นไม้ที่ได้นาม ว่า ต้นโพธิ์ เพราะเป็นสถานที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้ทรงไว้ซึ่งจตุมรรคญาณ. บทว่า รุกฺขฏฺสฺเสว สมฺพุทฺโธ พระสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเชษฐบุรุษของโลก ผู้องอาจกว่านรชน ย่อมปรากฏ เหมือนว่าประทับอยู่ ณ โคนไม้โพธิ์ ของมหาชนผู้ประชุมกันแล้วใน สมัยที่บูชาต้นโพธิ์นั้น. บทว่า ภควา ตมฺหิ สมเย ความว่า ในสมัยนั้น คือในเวลาที่ทำการบูชาต้นโพธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระภิกษุสงฆ์ แวดล้อมข้างหน้า. บทว่า วาจาสภิมุทีรยํ ความว่า เมื่อจะทรงเปล่งเสียง อันอ่อนสละสลวยหวานและสูงสุด จึงทรงประกาศ คือแสดงสัจจะ ๔ ไว้. บทว่า สงฺขิตฺเตนํ จ เทเสนฺโต ความว่า เมื่อจะทรงแสดงคล้อยตาม อัธยาศัยของเวไนสัตว์และบุคคล จึงทรงแสดงไว้โดยย่อบ้าง โดยพิสดาร บ้าง. บทว่า วิวฏฺฏจฺฉโท ความว่า พระสัมพุทธเจ้าผู้มีกิเลสดังหลังคา อันเปิดแล้ว เพราะหลังคาที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้คือ ราคะเป็นหลังคา, โทสะเป็นหลังคา, โมหะเป็นหลังคา, กิเลสทั้งหมดเป็นหลังคา ดังนี้ ถูก เปิดแล้ว ถูกเพิกแล้ว ถูกกำจัดแล้ว, อธิบายว่า ทรงยังมหาชนนั้นให้ ดับร้อนด้วยเทศนาพิเศษ คือระงับความเร่าร้อนลงได้. บทว่า ตสฺสาหํ ธมฺมํ สุตฺวาน ได้แก่ ได้ฟังพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงแสดงอยู่.

จบอรรถกถาธัมมสัญญกเถราปทาน