อาสนถวิกเถราปทานที่ ๖ (๓๑๖) ว่าด้วยผลแห่งการสรรเสริญ
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 769
เถราปทาน
อารักขทายกวรรคที่ ๓๒
อาสนถวิกเถราปทานที่ ๖ (๓๑๖)
ว่าด้วยผลแห่งการสรรเสริญ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 769
อาสนถวิกเถราปทานที่ ๖ (๓๑๖)
ว่าด้วยผลแห่งการสรรเสริญ
[๓๑๘] ในกาลนั้น เราเที่ยวค้นหาพระเจดีย์ อันชื่อว่า อุตตมะ ของพระพุทธเจ้า พระนามว่า สิขี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก ในไพรวันอันเป็นป่าใหญ่.
เราออกจากป่าใหญ่ จึงได้พบพระที่นั่งทอง เราประนมกร อัญชลีเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง สรรเสริญพระพุทธเจ้าผู้นายกของ โลก.
ครั้นสรรเสริญพระพุทธเจ้า ผู้เป็นอัครนายกของโลก ใน ส่วนกลางวันแล้ว มีจิตโสมนัสยินดี ได้เปล่งวาจานี้ว่า
ขอนอบน้อมแด่พระองค์ ผู้บุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อมแด่ พระองค์ ผู้อุดมบุรุษ ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ผู้เชษฐบุรุษของ โลก ผู้ประเสริฐกว่านระ พระองค์เป็นสัพพัญญู.
ครั้นเราสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระนามว่า สิขี ด้วยการ ทำนิมิตกราบไหว้อาสนะแล้ว บ่ายหน้ากลับไปทางทิศอุดร.
ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้สรรเสริญพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าชน ด้วยการสรรเสริญนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้ เป็นผลแห่งการสรรเสริญ.
ในกัปที่ ๒๗ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ครั้ง ทรงพระนามว่า อตุลยะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 770
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอาสนถวิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.
จบอาสนถวิกเถราปทาน
๓๑๖. อรรถกถาอาสนวิกเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เจติยํ อุตฺตมํ นาม สิขิโน โลกพนฺธุโน ได้แก่พระเจดีย์อันชื่อว่า อุตตมะ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สิขี ผู้เป็น เผ่าพันธุ์คือเป็นญาติของชาวโลกหมดทั้ง ๓ โลก. เชื่อมความว่า ได้มี ในทุ่งที่ไร้ประโยชน์ คือปราศจากผู้คนสัญจรไปมา เป็นป่าใหญ่ปราศจาก ความสับสนอลหม่านแห่งหมู่มนุษย์. บทว่า อนฺธาหิณฺฑามหํ ตทา ความว่า ในกาลนั้น เราเป็นผู้มืดเพราะหลงทางในป่า. มิใช่มืดเพราะ ตาบอด จึงกล่าวว่า เราเที่ยวไปค้นหาหนทางดังนี้. บทว่า ปวนา นิกฺขมนฺเตน ความว่า เราออกจากป่าใหญ่ จึงได้พบสีหาสนะ คืออาสนะ ชั้นยอดเยี่ยม. อีกอย่างหนึ่ง หมายความว่า เราได้เห็นอาสนะของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สีหะ. บทว่า เอกํสํ อญฺชลึ กตฺวา ความว่า เราทำการเฉวียงบ่าข้างหนึ่งด้านซ้าย แล้วประคองอัญชลีไว้