พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ยัญญสามิกเถราปทานที่ ๔ (๓๒๔) ว่าด้วยผลแห่งการได้สัญญาในพระพุทธเจ้า

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 พ.ย. 2564
หมายเลข  41326
อ่าน  346

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 780

เถราปทาน

อุมมาปุปผิยวรรคที่ ๓๓

ยัญญสามิกเถราปทานที่ ๔ (๓๒๔)

ว่าด้วยผลแห่งการได้สัญญาในพระพุทธเจ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 780

ยัญญสามิกเถราปทานที่ ๔ (๓๒๔)

ว่าด้วยผลแห่งการได้สัญญาในพระพุทธเจ้า

[๓๒๖] เรามีอายุได้ ๗ ปีแต่กำเนิด เป็นผู้รู้จบมนต์ ได้ดำรง วงศ์สกุล เราตระเตรียมพิธีบูชายัญในกาลนั้น เราจะฆ่าสัตว์

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 781

เลี้ยง ๘๔,๐๐๐ ตัว และให้ผูกเข้าไว้ที่หลักไม้แก่น ตระเตรียม เพื่อประโยชน์แก่ยัญ.

พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ มีพระประสงค์ สำเร็จทุกอย่าง ทรงมีประโยชน์ใหญ่หลวงแก่โลก ๓ ร่าเริง ดังปากเบ้า มีพระรัศมีสุกสกาวเช่นกับถ่านเพลิงไม้ตะเคียน ดังพระอาทิตย์อุทัย เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ.

เสด็จเข้ามาหา (เรา) แล้วได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูก่อน กุมาร ความไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง การงดเว้นจากความ เป็นขโมย การประพฤตินอกใจและการดื่มน้ำเมา

ความยินดีในการประพฤติสม่ำเสมอ พาหุสัจจะ และ ความเป็นผู้กตัญญู เราชอบใจธรรมเหล่านี้ บัณฑิตพึงสรรเสริญทั้งในปัจจุบันและอนาคต.

ท่านเจริญธรรมเหล่านี้ ยินดีในความเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง ยังจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแล้วจงเจริญมรรคอันสูงสุด.

พระสัพพัญญูเชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ตรัส ดังนี้ ครั้นทรงพร่ำสอนเราอย่างนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นสู่เวหาส ไป.

เราชำระจิตให้บริสุทธิ์ก่อนแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสในภาย หลัง ด้วยความเลื่อมใสแห่งจิตนั้น เราได้เข้าถึงชั้นดุสิต.

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เรายังจิตให้เลื่อมใสในกาลใด ด้วยกรรมในกาลนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญา ในพระพุทธเจ้า.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 782

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระยัญญสามิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบยัญญสามิกเถราปทาน