พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทานที่ ๗ (๓๒๗) ว่าด้วยผลแห่งกรรมดี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 พ.ย. 2564
หมายเลข  41329
อ่าน  313

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 785

เถราปทาน

อุมมาปุปผิยวรรคที่ ๓๓

นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทานที่ ๗ (๓๒๗)

ว่าด้วยผลแห่งกรรมดี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 785

นิคคุณฑิปุปผิยเถราปทานที่ ๗ (๓๒๗)

ว่าด้วยผลแห่งกรรมดี

[๓๒๙] เมื่อใดเทวดาจะจุติจากหมู่เทวดา เพราะสิ้นอายุ เมื่อนั้น เทวดาทั้งหลาย ผู้พลอยยินดี ก็เปล่งเสียง ๓ ประการว่า

ท่านผู้เจริญ ท่านจากภพนี้ จงไปสู่สุคติ สู่ความเป็นสหาย ของมนุษย์ เป็นมนุษย์แล้ว จงได้ศรัทธาอันยอดเยี่ยมใน พระสัทธรรม.

ศรัทธาของท่านตั้งมั่นแล้ว จะเกิดเป็นมูลเค้าเป็นที่พึ่ง จงมั่นคงในพระสัทธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศดีแล้ว ตลอดชีวิต.

จงทำกุศลด้วยกาย จงทำกุศลด้วยวาจา จงทำกุศลด้วยใจ ให้มาก จงทำความไม่เบียดเบียน จงทำความไม่มีอุปธิ.

จงทำบุญให้ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยการให้ทานให้มาก จง ชักชวนผู้อื่นให้ตั้งมั่นในพรหมจรรย์ อันเป็นสัทธรรมอย่าง ประเสริฐ.

หมู่เทวดาย่อมอนุโมทนากะเทวดาผู้จุติ ด้วยความ อนุเคราะห์นี้ สั่งว่า จงมาบ่อยๆ นะเทวดา ดังท่านผู้รู้แจ้ง อนุโมทนากะพระพุทธเจ้าฉะนั้น.

ในกาลนั้น เมื่อหมู่เทวดามาประชุมกัน ข้าพระองค์เกิด ความสลดใจว่า เราจุติจากภพนี้แล้ว จักไปสู่กำเนิดอะไรหนอ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 786

พระสมณะ ผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว ท่านมีนามชื่อว่า สุมนะ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ รู้ ความสลดใจของข้าพระองค์ ประสงค์จะช่วยเหลือ จึงมาสู่ สำนักของข้าพระองค์ พร่ำสอนอรรถธรรมแล้ว ยัง ข้าพระองค์ให้สังเวชในกาลนั้น.

จบภาณวารที่ ๑๒

ข้าพระองค์ฟังคำของท่านแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า อภิวาทท่านผู้เป็นนักปราชญ์แล้ว ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น.

ข้าพระองค์นั้นอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว อุบัติในภพนั้นแล อยู่ในครรภ์มารดา ทรงอยู่ในครรภ์มารดาอีก.

ข้าพระองค์จุติจากกายนั้นแล้ว ได้อุบัติในไตรทศ (ดาวดึงส์) ในเวลานี้ ข้าพระองค์ไม่เห็นความโทมนัสในกาลนั้น เลย.

ข้าพระองค์เคลื่อนจากดาวดึงส์แล้ว ลงสู่ครรภ์มารดา ออกจากครรภ์มารดาแล้ว ไม่รู้ทุกข์อะไรๆ.

ข้าพระองค์มีอายุ ๗ ปีแต่กำเนิด ได้เข้าสู่อารามของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โคดมศากยบุตร ผู้คงที่.

ได้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ทำตามคำสอนของพระศาสดา ใน ศาสนาอันเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากนั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 787

พระนครชื่อว่า สาวัตถี พระเจ้าโกศลเป็นใหญ่ในนครนั้น พระองค์เสด็จไปสู่โพธิพฤกษ์ อันอุดม ด้วยรถเทียมด้วย ช้างพลาย.

ข้าพระองค์เห็นช้างพลายของพระเจ้าโกศลนั้นแล้ว ระลึก ถึงบุรพกรรม ประนมกรอัญชลีแล้ว ได้ไปสู่ที่ประชุม.

ข้าพระองค์มีอายุ ๗ ปีแต่กำเนิด ได้บวชเป็นบรรพชิต พระเถระชื่ออานนท์ เป็นพระสาวกอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า.

ท่านมีคติ มีธิติ มีสติ เป็นพหูสูต มีความรุ่งเรืองมาก ยังจิตของพระราชาให้ทรงเลื่อมใสส่งกลับไป.

ข้าพระองค์ได้ฟังธรรมของท่านพระอานนท์แล้ว ระลึกถึง บุรพกรรมอยู่ในที่นั้นเอง ได้บรรลุอรหัต.

ข้าพระองค์ห่มจีวรเฉวียงบ่า ประนมกรอัญชลีบนเศียร เกล้า ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้เปล่งวาจานี้.

ข้าพระองค์ถือเอาดอกไม้ย่างทราย ไปวางไว้ที่อาสนะทอง ของพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นจอมสัตว์ ผู้คงที่.

ข้าแต่พระองค์ผู้จอมสัตว์ เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ กว่านระ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ละความชนะและความ แพ้แล้ว บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว.

ในกัปที่ ๒๕,๐๐๐ (แต่กัปนี้) ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จอมกษัตริย์ ๘ ครั้ง ซึ่งมีพระชนมายุยืนยาวถึงอัพพุทะก็มี

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 788

ถึงนิรัพพุทะก็มี.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระนิคคุณฑิปปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบนิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน

๓๒๗. อรรถกถานิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมยํ อคมาสหํ ความว่า เราได้ไปหาหมู่เพื่อสมาคมกัน บทว่า อพฺพุทนิรพฺพุทานิ ความว่า ใน ๒๕,๐๐๐ กัป (แต่กัปนี้ไป) ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์กัปละ ๘ ครั้ง ซึ่งมีพระชนมายุมาก ถึงอัพพุทะก็มี นิรัพพุทะก็มี ตามอายุ เพราะท่านได้กล่าวไว้ว่า ๑๐๐ แสน ปโกฏิ เป็น ๑ อัพพุทะ, ๑๐๐ แสนอัพพุทะเป็น ๑ นิรัพพุทะ ดังนี้.

จบอรรถกถานิคคุณฑิปุปผิยเถราปทาน