ปุปผฉัตติยเถรปาทานที่ ๙ (๓๒๙) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยฉัตรดอกบัว
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 790
เถราปทาน
อุมมาปุปผิยวรรคที่ ๓๓
ปุปผฉัตติยเถรปาทานที่ ๙ (๓๒๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยฉัตรดอกบัว
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 790
ปุปผฉัตติยเถรปาทานที่ ๙ (๓๒๙)
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยฉัตรดอกบัว
[๓๓๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ เชษฐ- บุรุษของโลก ผู้คงที่ ทรงประกาศสัจจะ ยังสัตว์ทั้งหลาย ให้ดับอยู่.
เรานำดอกบัวซึ่งเกิดในน้ำ เป็นที่รื่นรมย์ใจ มาทำเป็นฉัตร ดอกไม้ บูชาแด่พระพุทธเจ้า.
ก็พระศาสดาพระนามว่า สิทธัตถะ ทรงรู้แจ้งโลก เป็น ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ประทับอยู่ ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสคาถานี้ว่า
ผู้ใดยังจิตให้เลื่อมใส ได้กั้นฉัตรดอกไม้ให้เรา ด้วยความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 791
เลื่อมใสแห่งจิตนั้น จะไม่ไปสู่ทุคติเลย.
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้เป็นนายกของ โลก ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงส่งบริษัทไปแล้ว เสด็จเหาะขึ้น นภากาศ.
เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่านระ เสด็จลุกขึ้น แม้ ฉัตรขาวก็ตั้งขึ้น ฉัตรอันอุดมไปข้างหน้าแห่งพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด.
ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยฉัตรใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา พระพุทธเจ้าด้วยฉัตรดอกไม้.
ในกัปที่ ๗๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๘ ครั้ง ทรงมีพระนามว่า ชลสิขะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระปุปผฉัตติยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.
จบปุปผฉัตติยเถราปทาน