ธัมมสวนิยเถราปทานที่ ๙ (๓๓๙) ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรม
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 811
เถราปทาน
คันโธทกวรรคที่ ๓๔
ธัมมสวนิยเถราปทานที่ ๙ (๓๓๙)
ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 811
ธัมมสวนิยเถราปทานที่ ๙ (๓๓๙)
ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรม
[๓๔๑] พระชินเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง ทรงประกาศสัจจะ ๔ ยังชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้น (ทุกข์) สมัยนั้น เราเป็นชฎิลผู้มีตบะอันสูงเด่น สลัดผ้าเปลือกไม้ กรอง (ผ้าคากรอง) เหาะไปในอัมพรในบัดนั้น.
แต่เราไม่อาจจะไปในเบื้องบนแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ สุดได้ เวลานั้น เราเป็นเหมือนนกกระทบหินไปไม่ได้.
ความเป็นไปที่ผิดแปลกเช่นนี้ ไม่เคยมีแก่เราเลย เรา เหาะไปในอัมพร เหมือนดังหลังคาไปในน้ำ.
ก็มนุษย์ซึ่งเป็นผู้ประเสริฐ จักมีอยู่ภายใต้นี้กระมังหนอ ถ้าเช่นนั้น เราจักค้นหาเขา บางทีจะพึงได้ประโยชน์บ้าง.
เมื่อเราลงจากอากาศ ได้ฟังเสียงของพระศาสดาซึ่งกำลัง ตรัสอนิจจตาอยู่ เราจึงเรียนอนิจจตานั้นในขณะนั้น.
ครั้นเรียนอนิจจสัญญาแล้ว ได้กลับไปสู่อาศรมของเรา เราอยู่ตลอดกำหนดอายุแล้ว ทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น.
เมื่อภพที่สุดยังเป็นไปอยู่ เราระลึกถึงการฟังธรรมนั้นได้ ด้วยกุศลกรรมที่เราทำแล้วนั้น เราไปสู่ดาวดึงส์.
เรารื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป ได้เสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๕๑ ครั้ง.
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๑ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้า ประเทศราชอันไพบูลย์ โดยจะคณนานับมิได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 812
พระสมณะผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว นั่งบนเรือนของบิดา แสดงคาถาเปล่งวาจาถึงความไม่เที่ยง.
เราระลึกถึงสัญญานั้นได้ ท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ยังไม่ได้แทงตลอดซึ่งที่สุด คือนิพพานอันเป็นบทไม่เคลื่อน.
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไป เป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความที่สังขารเหล่านั้น สงบระงับเป็นสุข.
เราระลึกถึงบุรพกรรมได้ พร้อมกับได้ฟังคาถา เรานั่งอยู่ บนอาสนะเดียวนั่นเอง ได้บรรลุพระอรหัต.
เรามีอายุ ๗ ปีแต่กำเนิด ได้บรรลุพระอรหัต พระพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุทรงรู้คุณแล้ว ให้เราอุปสมบท.
กิจอะไรที่เราพึงทำในวันนี้ ในศาสนาของพระศากยบุตร เรายังเป็นเด็กอยู่เทียว ได้ทำกิจที่พึงทำนั้นสำเร็จแล้ว.
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลเพราะการฟังธรรม.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระธัมมสวนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.
จบธัมมสวนิยเถราปทาน