พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อุกขิตตปทุมิยเถราปทานที่ ๑๐ (๓๔๐) ว่าด้วยผลแห่งดอกปทุมดอกเดียว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 พ.ย. 2564
หมายเลข  41342
อ่าน  365

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 813

เถราปทาน

คันโธทกวรรคที่ ๓๔

อุกขิตตปทุมิยเถราปทานที่ ๑๐ (๓๔๐)

ว่าด้วยผลแห่งดอกปทุมดอกเดียว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 813

อุกขิตตปทุมิยเถราปทานที่ ๑๐ (๓๔๐)

ว่าด้วยผลแห่งดอกปทุมดอกเดียว

[๓๔๒] ในกาลนั้น เราเป็นช่างดอกไม้อยู่ในพระนครหังสวดี เราลงสู่สระปทุมเลือกเก็บดอกบัวอยู่.

พระชินเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เป็นอุดมบุรุษ ทรงแสวงหาความเจริญแก่เรา จึงเสด็จมา พร้อมด้วยพระขีณาสพตั้งแสน ผู้มีจิตสงบระงับ ผู้คงที่ บริสุทธิ์ ได้อภิญญา ๖ เพ่งฌาน.

เราได้เห็นพระสยัมภู ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็นนายก ของโลก จึงเก็บดอกบัวที่ก้านแล้วโยนขึ้นไป [บูชา] ใน อากาศ.

ในขณะนั้น [ด้วยเปล่งวาจาว่า] ข้าแต่พระธีรเจ้า ถ้าพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าเชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระไซร้ ขอดอกบัวจงไปตั้งอยู่เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้าเองเถิด.

พระมหาวีรเจ้า เชษฐบุรุษของโลก ผู้ประเสริฐกว่านระ ทรงอธิษฐานแล้ว ดอกบัวเหล่านั้นได้ตั้งอยู่เหนือพระเศียรด้วย พระพุทธานุภาพ.

ด้วยกุศลกรรมที่เราทำมาแล้วนั้น และด้วยการตั้งจิตมั่น เราละกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ชั้นดาวดึงส์.

ในชั้นดาวดึงส์นั้น วิมานของเราบุญกรรมสร้างให้อย่าง สวยงาม เรียกชื่อว่า สัตตปัตตะ สูง ๖๐ โยชน์ กว้าง ๓๐ โยชน์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 814

เราได้เป็นจอมเทวดา เสวยรัชสมบัติ ในเทวโลกพันครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง.

และเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนานับ มิได้ เราเสวยกรรมของตนที่ทำไว้ดีแล้วในปางก่อน.

ด้วยดอกปทุมดอกเดียวนั้นแล เราได้เสวยสมบดีแล้ว ได้ กระทำธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โคดม ให้ แจ้งชัดแล้ว. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว เรา ตัดกิเลสเครื่องผูกขาดเหมือนช้างตัดเชือกได้แล้ว ไม่มีอาสวะ อยู่.

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้า ด้วยดอก ไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง ดอกปทุมดอกเดียว.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอุกขิตตปทุมิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบอุกขิตตปทุมิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 815

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. คันธธูปิยเถราปทาน ๒. อุทกปูชกเถราปทาน ๓. ปุนนาคปุปผิยเถราปทาน ๔. เอกทุสสทายกเถราปทาน ๕. ผุสสิตกัมมิยเถราปทาน ๖. ปภังกรเถราปทาน ๗. ติณกุฎิทายกเถราปทาน ๘. อุตตเรยยทายกเถราปทาน ๙. ธัมมสวนิยเถราปทาน ๑๐. อุกชิตตปทุมิยเถราปทาน

ท่านรวบรวมคาถาทั้งหมดได้ ๑๔๘ คาถา.

จบคันโธทกวรรคที่ ๓๔