พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เอกปทุมิยเถราปทานที่ ๑ (๓๔๑) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกบัว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 พ.ย. 2564
หมายเลข  41343
อ่าน  398

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 816

เถราปทาน

เอกปทุมวรรคที่ ๓๕

เอกปทุมิยเถราปทานที่ ๑ (๓๔๑)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกบัว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 816

เอกปทุมวรรคที่ ๓๕

เอกปทุมิยเถราปทานที่ ๑ (๓๔๑)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกบัว

[๓๔๓] พระชินเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรม ทั้งปวง ทรงทำให้แจ้งซึ่งภพน้อยภพใหญ่ ทรงยังประชุมชน เป็นอันมากให้ข้าม [ทุกข์] ได้.

ในกาลนั้นเราเป็นพญาหงส์ ผู้ประเสริฐกว่านกทั้งหลาย เราโผลงยังสระน้ำแล้ว เล่นน้ำอยู่อย่างสำราญใจ.

ในขณะนั้น พระชินเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้ง โลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา เสด็จ [เหาะ] มาเหนือสระน้ำ.

เราได้เห็นพระสยัมภู ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ผู้เป็นนายก ของโลก จึงหักดอกบัวหลวงอันเป็นที่รื่นรมย์ใจที่ก้านแล้ว.

เอาจะงอยปากคาบ โยนขึ้นไปในอากาศ ได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ด้วยใจอันเลื่อมใสยิ่งนัก.

พระศาสดาพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ สมควรรับเครื่องบูชา ประทับอยู่ในอากาศ ได้ทรงทำ อนุโมทนาว่า

ด้วยดอกปทุมดอกเดียวนี้ และด้วยการตั้งจิตมั่น ท่านจะ ไม่ต้องไปสู่วินิบาตตลอดแสนกัป.

พระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้อุดม ครั้น ตรัสอย่างนี้ ทรงสรรเสริญกรรมของเราแล้ว ได้เสด็จไปตาม พระประสงค์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 817

ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้น ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเอกปทุมิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบเอกปทุมิยเถราปทาน