พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ตีณุปปลมาลิยเถราปทานที่ ๓ (๓๗๓) ว่าด้วยผลแห่งกาลโปรยดอกอุบล ๓ ดอก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 พ.ย. 2564
หมายเลข  41375
อ่าน  312

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 849

เถราปทาน

โพธิวันทนวรรคที่ ๓๘

ตีณุปปลมาลิยเถราปทานที่ ๓ (๓๗๓)

ว่าด้วยผลแห่งกาลโปรยดอกอุบล ๓ ดอก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 849

ตีณุปปลมาลิยเถราปทานที่๓ (๓๗๓)

ว่าด้วยผลแห่งกาลโปรยดอกอุบล ๓ ดอก

[๓๗๕] ในกาลนั้น เราเป็นวานรอยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา เรา ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลสธุลี ประทับนั่งอยู่ใน ระหว่างภูเขา

ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว ดังพญารังมีดอกบานสะพรั่ง ทรงประกอบด้วยพระลักษณะและอนุพยัญชนะ.

เราเห็นแล้วดีใจ มีใจเบิกบานโสมนัส มีใจร่าเริงเพราะ ปิติ จึงโปรยดอกอุบล ๓ ดอกลงเบื้องบนพระเศียร (บูชา).

ครั้นบูชาดอกไม้แด่พระพุทธเจ้าพระนามว่า ผุสสะ ผู้แสวง หาคุณอันใหญ่หลวงแล้ว เป็นผู้มีความเคารพ บ่ายหน้ากลับ ไปทางทิศอุดร.

เมื่อเรากับไปด้วยใจอันเลื่อมใสยิ่งนัก ได้ตกลงใน ระหว่างซอกหินถึงความสิ้นชีวิต.

ด้วยกุศลกรรมที่เราทำแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตนามั่น เราละชาติเดิมแล้ว ได้ไปสู่ชั้นดาวดึงส์

ได้เสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๓๐๐ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ครั้ง.

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ ใด ด้วยการบูชา เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง พุทธบูชา.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 850

    ทราบว่า ท่านพระตีณุปปลมาลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล.

จบตีณุปปลมาลิยเถราปทาน