พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปิลินทวัจฉเถราปทานที่ ๑ (๓๙๑) ว่าด้วยผลแห่งการถวายไทยธรรมอันสมควร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 พ.ย. 2564
หมายเลข  41393
อ่าน  541

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 880

เถราปทาน

ปิลินทวรรคที่ ๔๐

ปิลินทวัจฉเถราปทานที่ ๑ (๓๙๑)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายไทยธรรมอันสมควร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 880

ปิลินทวรรคที่ ๔๐

ปิลินทวัจฉเถราปทานที่ ๑ (๓๙๑)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายไทยธรรมอันสมควร

[๓๙๓] เราเป็นนายประตูอยู่ที่นครหังสวดี เรารวบรวมโภคสมบัติ เก็บไว้ในเรือนมากมายนับไม่ถ้วน.

ในกาลนั้น เราอยู่ในที่ลับทำใจให้รื่นเริง นั่งอยู่ในปราสาท อันประเสริฐแล้ว ได้คิดอย่างนี้ว่า

โภคสมบัติของเรามีมากมายแพร่หลายไปภายในบุรี แม้ พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินพระนามว่าอานนท์ ก็ทรงเชื้อ เชิญเรา.

พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เป็นมุนี เสด็จอุบัติขึ้นแล้วใน โลกนี้ และโภคสมบัติของเราก็มีอยู่ เราจักถวายทานแด่ พระศาสดา.

พระราชบุตรพระนามว่าปทุม ทรงถวายทานอันประเสริฐ คือ ช้างตัวประเสริฐ พร้อมด้วยบัลลังก์และพนักพิง มี ประมาณไม่น้อย ในพระชินเจ้า.

แม้เราก็จักถวายทานในสงฆ์ อันเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐ สูงสุด ทานอันประเสริฐที่ใครยังไม่เคยถวาย เราจักเป็นคน แรกในทานนั้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 881

เราคิดที่จะถวายทานหลายวิธี สุขเป็นผลเพราะการบูชา ทานใด จึงได้เห็นการถวายบริขารนั้น อันจะเป็นเครื่องทำ ความดำริของเราให้เต็ม.

เราจักถวายบริขาร ในสงฆ์อันเป็นหมู่คณะที่ประเสริฐสุด การถวายบริขารที่คนอื่นยังไม่เคยถวาย เราจักทำเป็นคนแรก.

ในขณะนั้นเราจึงเข้าไปหาช่างจักสาน จ้างให้ทำฉัตร ได้รวบรวมฉัตรไว้หนึ่งแสนคัน ได้รวบรวมผ้าไว้หนึ่งแสน ผืน ให้ทำบาตรหนึ่งแสนใย รวบรวมไว้.

จ้างช่างให้ทำมีด [โกน] พร้า เข็ม และมีสำหรับตัด เล็บ อันสมควรแล้ว ให้วางไว้ภายใต้ฉัตรทั้งหลาย.

จ้างช่างให้ทำพัดใบตาล พัดขนปีกนกยูง พัดจามร ผ้า กรองน้ำ และภาชนะน้ำมัน อันสมควร.

จ้างช่างให้ทำ กล่องเข็ม ผ้าอังสะ ประคดเอว และ เชิงรองบาตรที่ทำอย่างสวยงาม อันสมควร.

ให้เอาเภสัชใส่ในภาชนะสำหรับใส่ของบริโภคและในขัน สำริดให้เต็มแล้ว ให้วางไว้ภายใต้ฉัตร.

ให้ใส่ว่านน้ำ หญ้าคา ชะเอม ดีปลี พริก ผลสมอ และขิงสด ให้เต็มไว้ภาชนะทุกๆ อย่าง.

จ้างให้ทำรองเท้า เขียงเท้า ผ้าสำหรับ เช็ดน้ำ และ ไม้เท้าคนแก่ ให้ทำอย่างสวยงาม อันสมควร.

จ้างช่างให้ทำหลอดใส่ยาหยอดตา ไม้ป้ายยาตา ธรรมกุตตรา กุญแจ และแเม่กุญแจ อันเย็บท่อด้วยผ้า ๕ สี.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 882

สายโยก กล้องเป่าควันไฟ ตะเกียงตั้ง คนโทน้ำ และ ผอบ อันสมควรกัน.

จ้างช่างให้ทำคีม กรรไกร ผ้าสำหรับเช็ดขัดสนิม และ ถุงสำหรับเภสัช อันสมควรกัน. จ้างช่างให้ทำเก้าอี้นอน ตั่ง บัลลังก์อันมีเท้าสี่เท้าให้ สมควรแล้ว ให้ตั้งไว้ภายใต้ฉัตร.

จ้างช่างให้ทำฟูกยัดด้วยขนสัตว์และยัดด้วยนุ่น ฟูกนั่ง และให้ทำหมอนอย่างดี อันสมควรกัน.

จ้างช่างให้ทำผงผสมน้ำอาบ ขี้ผึ้งทาตัว น้ำมันทามือและ เท้าอันสะอาดใส่ในภาชนะเล็กๆ เตียงพร้อมด้วยเครื่องลาด เสนาสนะ ผ้าสำหรับเช็ดเท้า ที่นอน ที่นั่ง ไม้เท้า ไม้ชำระฟัน [แปรงฟัน] กระเบื้อง ของหอมสำหรับไล้ทาศีรษะ.

ไม้สีไฟ ตั่งแผ่นกระดาน ฝาบาตร ถุงบาตร กระบวย ตักน้ำ ผงย้อมผ้า รางย้อมผ้า.

ไม้กวาด ขันน้ำ (๑) ผ้าอาบน้ำฝน ผ้านิสีทนะ ผ้าปิดฝี ผ้าอันตรวาสก ผ้าอุตราสงค์ ผ้าสังฆาฏิ ยานัตถุ์ ผ้าเช็ดหน้า น้ำส้ม น้ำเกลือ น้ำผึ้ง นมส้ม น้ำปานะ.

ขี้ผึ้ง ผ้าเก่า ผ้าเช็ดปาก ด้าย สิ่งใดชื่อว่าเป็นของ ควรให้ทานมีอยู่ และสมควรแด่พระศาสดา.

เรารวบรวมสิ่งนั้นทั้งหมดแล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าอานนท์ ครั้น เข้าไปเฝ้าพระราชาผู้นำหมู่ชน ผู้มียศมากแล้ว.


๑. ม. อุทปตฺตํ ขันน้ำ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 883

ถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าแล้วได้กราบทูลว่า เราทั้งสอง เจริญโดยชาติร่วมกัน มียศร่วมกัน มีความเท่าเทียมกันในสุข ในทุกข์ และประพฤติตามกัน.

ทุกข์ทางใจมีอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้ปราบข้าศึก ข้าพระองค์ พึงทรงไว้ซึ่งทุกข์ของพระองค์ ข้าแต่กษัตริย์ ถ้าพระองค์ สามารถ ก็ขอได้ทรงพระกรุณาบรรเทาทุกข์นั้นเถิด.

พระราชาตรัสว่า ทุกข์ของท่าน ก็เป็นทุกข์ของเรา เรา ทั้งสองมีใจร่วมกัน ท่านย่อมรู้ว่าสำเร็จได้ ถ้าท่านพึงเปลื้อง ทุกข์นั้น.

ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่ ขอจงทรงทราบ ทุกข์ของข้าพระองค์บรรเทาได้ยาก.

ท่านร่ำร้องมากไป สิ่งที่มีอยู่ในแว่นแคว้นประมาณเท่าใด ชีวิตของเราประมาณเท่าใด สิ่งนั้น [แม้] เป็นทรัพย์ที่ท่าน สละได้ยาก.

ถ้าท่านต้องการด้วยสิ่งเหล่านี้ เราก็ไม่หวั่นไหวจักให้ เที่ยว ขอเดชะ พระองค์ทรงร่ำร้องแล้ว การร่ำร้องมากนั้นผิด.

ข้าพระองค์จักทราบด้วยเกล้าว่า วันนี้ พระองค์ทรงดำรง อยู่ในธรรมทั้งปวง พระองค์ทรงให้การบีบคั้นหนักนัก เมื่อ ข้าพระองค์ขอ.

ท่านจะต้องการด้วยการพูดไปทำไม ท่านปรารถนาสิ่งใด

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 884

จงบอกแก่เรา ข้าแต่พระราชาผู้พระ ข้าพระองค์ปรารถนา พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐยิ่ง.

ข้าพระองค์จักนิมนต์พระสัมพุทธเจ้าให้เสวย ชีวิตของ ข้าพระองค์อย่าเป็นโทษ พระองค์ตรัสว่า เราจะให้พรอย่างอื่น แก่ท่าน ท่านอย่าขอพระตถาคตเลย.

ใครไม่พึงให้พระพุทธเจ้า ผู้เปรียบเหมือนแก้วมณี มี รัศมีรุ่งเรือง, ขอเดชะ พระองค์ทรงบันลือแล้วมิใช่หรือว่า ตลอดถึงชีวิตอันมีอยู่ เมื่อพระองค์ประทานชีวิตได้ ก็ควร พระราชทานพระตถาคตได้.

พระมหาวีรเจ้าควรงดไว้ เพราะใครๆ ไม่พึงให้พระชินเจ้า พระพุทธเจ้าเรารับให้ไม่ได้ ท่านจงรับเอาทรัพย์จนนับ ไม่ถ้วนเถิด.

เราจะต้องถึงการวินิจฉัย จักถามผู้วินิจฉัยทั้งหลาย ผู้ วินิจฉัยจักตัดสินละเอียด ฉันใด เราจักสอบถามข้อนั้น ฉันนั้น เราได้จับที่พระหัตถ์ของพระราชา พากันไปสู่ศาลที่พิจารณา พิพากษา.

เราได้กล่าวคำนี้ตรงหน้าของตุลาการและผู้พิพากษาทั้งหลายว่า ขอตุลาการและผู้พิพากษาจงฟังเรา พระราชาได้ พระราชทานพรแก่เราว่า

เราไม่ยกเว้นอะไรๆ แม้ชีวิตก็ปวารณาให้ได้ เมื่อเราขอพระราชทานพร เราจึงขอพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.

พระพุทธเจ้า ย่อมเป็นอันพระองค์พระราชทานแก่เราด้วยดี ท่านทั้งหลาย จงตัดความสงสัยของเรา เราทั้งหลายจะเชื่อ

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 885

ฟังคำท่านผู้เป็นพระราชารักษาแผ่นดิน เราทั้งหลายฟังคำของ ทั้งสองฝ่ายแล้ว จักตัดความสงสัยในข้อนี้.

ขอเดชะ พระองค์พระราชทานสิ่งทั้งปวง ท่านผู้นี้ ก็เป็น อันถือเอาสิ่งทั้งปวงหรือพระเจ้าข้า.

เราไม่ยกเว้นอะไรๆ ปวารณาแม้ชีวิต เป็นผู้ถึงความยาก ตลอดชีวิตเป็นอย่างยิ่งเทียว เรารู้ว่าผู้นี้มีทุกข์ด้วยดี จึงได้ให้ ถือเอาสิ่งทั้งปวง.

ขอเดชะ พระองค์เป็นผู้แพ้ ควรพระราชทานพระตถาคต เราตัดความสงสัยของทั้งสองฝ่ายแล้ว ท่านทั้งสองจงตั้งอยู่ ในคำมั่นอย่างนั้น.

พระราชาประทับอยู่ ณ ที่นั้นแล ได้ตรัสกะตุลาการและ ผู้พิพากษาว่า ท่านทั้งหลายพึงให้แม้แก่เราโดยชอบ เราพึง ได้พระพุทธเจ้าอีก ท่านยังความดำริของท่านให้เต็ม นิมนต์ พระตถาคตให้เสวยแล้ว พึงคืนพระสัมพุทธเจ้าให้แก่พระเจ้า อานนท์ผู้มียศอีก.

เราไหว้ตุลาการและผู้พิพากษา และถวายบังคมพระเจ้า อานนท์จอมกษัตริย์ เป็นผู้ยินดีปราโมทย์ เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะ ผู้ไม่ มีอาสวะ.

ถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า ขอ พระองค์ผู้มีจักษุพร้อมด้วยพระอรหันต์หนึ่งแสน โปรดทรงรับ นิมนต์.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 886

ขอจงทรงยังจิตของข้าพระองค์ให้รื่นเริง เสด็จเข้านิเวศน์ ของข้าพระองค์ พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้ แจ้งโลก สมควรรับเครื่องบูชา.

พระผู้มีจักษุทรงรู้ความดำริของเรา จึงทรงรับนิมนต์ (ด้วย ดุษณีภาพ) เราทราบว่า พระองค์ทรงรับนิมนต์แล้ว ถวาย บังคมแด่พระศาสดา.

มีจิตร่าเริงเบิกบาน เข้ามายังนิเวศน์ของตน ประชุมมิตร และอำมาตย์แล้ว ได้กล่าวดังนี้ว่า เราได้สิ่งที่ได้โดยยากนัก แล้ว เปรียบเหมือนแก้วมณีมีรัศมีโชติช่วง เราจักบูชาองค์ พระพุทธเจ้าด้วยอะไร พระชินเจ้ามีคุณหาประมาณมิได้ หา ที่เปรียบมิได้ ผู้มีพระคุณอันชั่งไม่ได้ ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นนักปราชญ์ ไม่มีบุคคลเปรียบ หาผู้เสมอเหมือนเช่นนั้น มิได้ ไม่มีที่สอง ประเสริฐกว่านระ.

ก็อธิการอันสมควรแด่พระพุทธเจ้า เราทำได้โดยยาก เรา ทั้งหลายจงรวบรวมดอกไม้ต่างๆ เอามาทำมณฑปดอกไม้เถิด.

สิ่งนี้ย่อมสมควรแด่พระพุทธเจ้า จักเป็นอันบูชาด้วยสิ่ง ทั้งปวง เราจึงให้ทำดอกบัวเผื่อน ดอกบัวหลวง ดอกมะลิ ดอกลำดวน ดอกจำปา ดอกกระถินพิมานให้เป็นมณฑป ปูลาด อาสนะหนึ่งแสนที่ไว้ภายในเงาฉัตร. อาสนะของเรามีค่ายิ่งกว่าร้อยมีอยู่เบื้องหลัง ปูลาดอาสนะ หนึ่งแสนที่ไว้ภายในเงาฉัตร.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 887

จัดแจงข้าวและน้ำเสร็จแล้ว ให้คนไปทูลเวลาภัตกาล เมื่อคนไปทูลภัตกาลแล้ว พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ พร้อมด้วยพระอรหันต์หนึ่งแสน เสด็จเข้าสู่นิเวศน์ของเรา ฉัตรทรงอยู่ในเบื้องบน ในมณฑปดอกไม้อันบานดี.

พระพุทธเจ้าผู้อุดมบุรุษ ประทับนั่งพร้อมด้วยพระอรหันต์ หนึ่งแสน (เราทูลว่า) ขอพระองค์ผู้มีจักษุ โปรดทรงรับฉัตร หนึ่งแสนและอาสนะหนึ่งแสน อันควรและไม่มีโทษเถิด.

พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควร รับเครื่องบูชา พระองค์ประสงค์จะช่วยเหลือเรา จึงทรงรับไว้.

เราได้ถวายบาตรแก่ภิกษุแต่ละรูป รูปละหนึ่งบาตร ภิกษุ ทั้งหลายละบาตรที่จัดเอง ทรงบาตรเหล็ก พระพุทธเจ้า ประทับนั่งอยู่ในมณฑปดอกไม้ตลอด ๗ คืน ๗ วัน.

ทรงยังสัตว์เป็นอันมากให้ตรัสรู้ ทรงประกาศพระธรรมจักร เมื่อทรงประกาศพระธรรมจักรภายใต้มณฑปดอกไม้.

ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดาและมนุษย์ ๘๔,๐๐๐ เมื่อถึง วันที่ พระมหามุนี พระนามว่าปทุมุตตระ ประทับนั่งอยู่ ภายในเงาฉัตร ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

มาณพผู้ใดได้ถวายทานอันประเสริฐไม่พร่องแก่เรา เราจัก พยากรณ์มาณพนั้น ท่านทั้งหลาย จงฟังเรากล่าว.

จตุรงคินีเสนา คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า จักแวดล้อมมาณพนั้นเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการให้สิ่งทั้งปวง.

ยานช้าง ยานม้า วอ จะไหลมาเทมา ชนทั้งหลายจัก

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 888

บำรุงมาณพนั้นเนืองนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการให้สิ่งทั้งปวง.

รถหกหมื่นคัน อันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง จัก แวดล้อมมาณพนั้นเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการให้สิ่งทั้งปวง.

ดนตรีหกหมื่น กลองเภรีทั้งหลายอันประดับดีแล้ว จัก ประโคมมาณพนั้นเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการให้สิ่งทั้งปวง.

นารี ๘๖,๐๐๐ นาง อันประดับประดาสวยงาม มีผ้าและ อาภรณ์อย่างวิจิตร สวมใส่แก้วมณีและกุณฑล มีหน้าแฉล้ม ยิ้มแย้ม ตะโพกผึ่งผาย เอาเล็กเอวบาง จักแวดล้อมมาณพ นั้นเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการให้สิ่งทั้งปวง.

มาณพนั้น จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็นเทวดาเสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๑,๐๐๐ ครั้ง และ จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า ประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณนานับมิได้.

เมื่อมาณพนี้อยู่ในเทวโลก พรั่งพร้อมด้วยบุญกรรม เทวดาจักทรงฉัตรแก้วไว้ในที่สุดแห่งเทวโลก มาณพนี้จัก ปรารถนาเมื่อใด ฉัตรอันเกิดแต่ผ้าและดอกไม้ (ดังจะ) รู้จิต ของมาณพนี้ จักกั้นอยู่เนืองนิตย์เมื่อนั้น.

มาณพนี้จุติจากเทวโลกแล้ว อันกุศลตักเตือนประกอบ ด้วยบุญกรรม จักเกิดในตระกูลพราหมณ์.

ใน (อีก) แสนกัป พระศาสดามีพระนามว่าโคดม ซึ่งมี

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 889

สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราชจักเสด็จอุบัติในโลก พระศากยโคดมผู้ประเสริฐ ทรงทราบคุณข้อนี้ทั้งหมดแล้ว.

จักประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งไว้ในเอคทัคคสถาน มาณพผู้นี้จักได้เป็นพระสาวกของพระศาสดา มีชื่อว่า ปิลินทวัจฉะ.

จักเป็นผู้อันเทวดา อสูร คนธรรพ์ ภิกษุ ภิกษุณี และ คฤหัสถ์ทั้งหลาย สักการะ จักเป็นที่รักของคนทั้งปวง จัก ไม่มีอาสวะ นิพพาน กรรมที่เราทำแล้วในแสนกัป ได้ให้ผล แก่เราแล้วในภพนี้.

เราหลุดพ้นดี ดังกำลังลูกศร เผากิเลสทั้งหลายแล้ว โอ กุศลกรรมเราได้ทำแล้ว ในบุญเขตอันยอดเยี่ยมอันเป็นฐานะ ที่เราทำกุศลกรรมแล้ว ได้บรรลุผลอันไม่หวั่นไหว.

ก็มาณพใดได้ให้ทานอันประเสริฐไม่บกพร่อง มาณพนั้น ได้เป็นหัวหน้า นี้เป็นผลแห่งทานนั้น.

เราได้ถวายฉัตร ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๘ ประการ อันสมควร แก่กรรมของเรา

คือ เราไม่รู้สึกหนาว ๑ ไม่รู้สึกร้อน ๑ ละอองและ ธุลีไม่แปดเปื้อน ๑ เราเป็นผู้ไม่มีอันตราย ๑ ไม่มีจัญไร ๑ อันมหาชนยำเกรงทุกเมื่อ ๑ เป็นผู้มีผิวพรรณละเอียด ๑ เป็น ผู้มีใจสร้างขวาง ๑.

เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ ฉัตรหนึ่งแสนคัน อันประกอบ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 890

ด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง เว้นชาตินี้แล้ว ทรงไว้เหนือศีรษะ ของเรา เพราะผลแห่งกรรมนั้น.

เพราะเหตุไร๑ ในชาตินี้การทรงฉัตรจึงไม่มีแก่เรา กรรม ทั้งปวงที่เราทำแล้ว เพราะผลบุญแห่งฉัตรหลุดพ้นรูปแล้ว.

เราได้ถวายผ้า ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๘ ประการ อันสมควร แก่กรรมของเรา

คือ เราเป็นผู้มีผิวพรรณเปล่งปลั่งดังทองคำ ๑ ปราศจาก ธุลี ๑ มีรัศมีผ่องใส ๑ มีเดช ๑ ตัวของเราละเอียดอ่อน ๑ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ มีผ้าขาวแสนผืน ๑ สีเหลืองแสน ผืน ๑ สีแดงแสนผืน ๑ ทรงอยู่เหนือศีรษะของเรา นี้เป็นผล แห่งการถวายผ้า.

เราย่อมได้ผ้าไหม ผ้ากัมพล ผ้าป่าน และผ้าฝ่าย ใน ที่ทุกแห่ง เพราะผลอันหลั่งออกแห่งการถวายผ้านั้น.

เราได้ถวายบาตร ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๑๐ ประการ อัน สมควรแก่กรรมของเรา

คือ เราย่อมบริโภคโภชนาหารในภาชนะทองคำ ภาชนะ แก้วมณี ภาชนะเงิน และภาชนะที่ทำด้วยทับทิมในกาล ทั้งปวง ๑ เราเป็นผู้ไม่มีอันตราย ๑ ไม่มีจัญไร ๑ มหาชน ยำเกรงทุกเมื่อ ๑ เป็นผู้ได้ข้าว น้ำ ผ้า และที่นอนเป็น


๑. ม. กสฺมา เพราะเหตุไร.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 891

ปกติ ๑ โภคสมบัติของเราไม่พินาศ. เราเป็นผู้มีจิตมั่นคง ๑ เป็นผู้ใคร่ธรรมทุกเมื่อ ๑ เป็นผู้ไม่มีกิเลส ๑ ไม่มีอาสวะ ๑.

คุณเหล่านี้ ติดตามเราไปทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก ย่อมไม่ละเราในที่ทุกแห่ง เปรียบเหมือนเงาไม่ละรูปฉะนั้น.

เราได้ถวายมีดโกน ที่ทำอย่างสวยงาม อันเนื่องด้วยเครื่อง ผูกอย่างวิจิตรมากมาย แด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดและ แก่พระสงฆ์แล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๘ ประการ อัน สมควรแก่กรรมของเรา

คือ เราเป็นผู้กล้า ๑ เป็นผู้ไม่มีความเดือดร้อน ๑ ถึง ที่สุดในเวสารัชธรรม ๑ เป็นผู้มีธิติ ๑ มีความเพียร ๑ มีใจ อันประคองไว้ทุกเมื่อ ๑ ย่อมได้ญาณอันสุขุมเครื่องตัดกิเลส ๑ ความบริสุทธิ์อันชั่งไม่ได้ ๑ ในที่ทั้งปวง เพราะผลอันหลั่ง ออกแห่งกรรมของเรานั้น.

เรามีจิตเลื่อมใสได้ถวายพร้า อันราบเรียบ ไม่หยาบ ไม่ ต้องขัดถู เป็นอันมากในพระพุทธเจ้าและในสงฆ์แล้ว ย่อม ได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา

คือ เราย่อมได้ความเพียรอันเป็นกัลยาณมิตร ๑ ขันติ ๑ ศัสตราคือความไมตรี ๑ ศัสตราคือปัญญาอันยิ่ง เพราะตัด ลูกศรคือตัณหา ๑ ญาณอันเสมอด้วยแก้ววิเชียร ๑ เพราะ ผลอันหลั่งออกแห่งกรรมเหล่านั้น.

เราได้ถวายเข็ม ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐ สุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่ กรรมของเรา

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 892

คือ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ ย่อมเป็นผู้อัน มหาชนนอบน้อม ๑ ตัดความสงสัย ๑ มีรูปงาม ๑ มีโภคสมบัติ ๑ มีปัญญากล้า ๑ ทุกเมื่อ.

เราพิจารณาเห็นอรรถอันเป็นฐานะละเอียดลึกซึ้ง ด้วยญาณ ญาณของเราอันเสมอด้วยแก้ววิเชียรอันเลิศ เป็นเครื่องกำจัด ความมืด.

เราได้ถวายมีดตัดเล็บ ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ ประเสริฐแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควร แก่กรรมของเรา

คือ เราย่อมได้ทาสชายหญิง วัวและม้า ลูกจ้าง คน ฟ้อนรำ ช่างตัดผม พ่อครัวทำอาหารเป็นอันมาก ในที่ ทั้งปวง.

เราได้ถวายพัดใบตาลอันงาม ในพระสุคตเจ้าแล้ว ย่อมได้ เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา

คือ เราย่อมไม่รู้สึกหนาว ๑ ไม่รู้สึกร้อน ๑ ความเร่าร้อน ไม่มีแก่เรา ไม่รู้สึกความกระวนกระวาย ๑ ไม่รู้สึกความ เดือดร้อนจิตของเรา ๑ เราดับไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และไฟทั้งปวงได้แล้ว เพราะผลอันหลั่งออก แห่งกรรมนั้นของเรา.

เราได้ถวายพัดจามรี มีขนนกยูงเป็นด้าม ในคณะสงฆ์ผู้ สูงสุดแล้ว ย่อมเป็นผู้มีกิเลสสงบระงับ ไม่มีกิเลสเครื่องยั่ว ยวนอยู่.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 893

เราได้ถวายผ้ากรองน้ำ และ ธมกรก ในพระสุคตเจ้า แล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรม ของเรา

คือ เราก้าวล่วงอันตรายทั้งปวง ๑ ย่อมได้อายุอันเป็น ทิพย์ ๑ เป็นผู้อันโจรหรือข้าศึกไม่ข่มขี่ในกาลทุกเมื่อ ๑ ศัสตรา หรือยาพิษย่อมไม่ทำความเบียดเบียนเรา ๑ ไม่มีความตาย ในระหว่าง เพราะผลอันหลั่งออกแห่งกรรมนั้นของเรา.

เราได้ถวายภาชนะน้ำมัน ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อัน สมควรแก่กรรมของเรา

คือ เราเป็นผู้มีรูปสวยงาม ๑ มีความเจริญดี ๑ มีใจเบิก บาน มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้อันอารักขาทั้งปวงรักษาแล้ว ๑.

เราได้ถวายกล่องเข็ม ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๓ ประการ อัน สมควรแก่กรรมของเรา

คือ เราย่อมได้คุณทั้งหลายนี้ คือความสุขใจ ๑ ความ สุขกาย ๑ ความสุขอันเกิดแต่อิริยาบถ ๑ เพราะผลอันหลั่ง ออกแห่งกรรมนั้น.

เราได้ถวายผ้าอังสะ ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๓ ประการ อันสมควรแก่ กรรมของเรา

คือ เราย่อมได้ความหนักในพระสัทธรรม ๑ ย่อมระลึกถึง

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 894

ภพที่สองได้ ๑ เป็นผู้มีฉวีวรรณงามในที่ทั้งปวง ๑ เพราะผล อันหลั่งออกแห่งกรรมนั้น.

เราได้ถวายประคดเอว ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๖ประการ อันสมควร แก่กรรมของเรา

คือ เราย่อมไม่หวั่นไหวในสมาธิ เป็นผู้มีความชำนาญ ในสมาธิ ๑ มีบริษัทไม่แตกกัน ๑ มีถ้อยคำอันมหาชนเชื่อถือ ทุกเมื่อ ๑ มีสติตั้งมั่น ๑ ความสะดุ้งกลัวไม่มีแก่เรา ๑ คุณ เหล่านี้ ติดตามเราไปทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก.

เราได้ถวายเชิงรองบาตร ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีภัยในเพราะวรรณะ ๕ ไม่ หวั่นไหวด้วยอะไรๆ ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งอันเป็นเครื่อง ตรัสรู้ด้วยสติและญาณ เราฟังแล้ว ธรรมที่เราทรงไว้ย่อม ไม่พินาศ เป็นอันวินิจฉัยดีแล้ว.

เราได้ถวายภาชนะและเครื่องบริโภค ในพระพุทธเจ้าและ ในคณะสงฆ์ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๓ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา

คือ เราย่อมได้ภาชนะทองคำ ภาชนะแก้วมณี ภาชนะ แก้วผลึก และภาชนะแก้วทับทิม ๑ ภริยา ทาสชายหญิง พลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า และหญิงมีวัตรยำเกรง นาย ๑ ได้เครื่องบริโภคทุกเวลา ๑ วิชาในบทมนต์ และใน อาคมต่างๆ เป็นอันมาก เราย่อมใคร่ครวญศิลปะทั้งปวง ใช้ ได้ทุกเวลา.

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 895

เราได้ถวายขัน ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐ สุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๓ ประการ อันสมควรแก่กรรม ของเรา

คือ เราย่อมได้ขันทองคำ ขันแก้วมณี ขันแก้วผลึก และ ขันแก้วทับทิม ย่อมได้ขันทำด้วยแผ่นไม้โพธิ์ ขันมีรูปใบบัว และขันที่ทำด้วยสังข์ ทำน้ำดื่มให้หวาน ย่อมได้คุณเหล่านี้ คือ ข้อปฏิบัติในวัตรอันงาม ในอาจาระและกิริยา เพราะ ผลอันหลั่งออกแห่งกรรมนั้น.

เราได้ถวายเภสัช ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๑๐ ประการ อันสมควรแก่ กรรมของเรา

คือ เราเป็นผู้มีอายุยืน ๑ มีกำลัง ๑ มีปัญญา ๑ มีวรรณะ ๑ มียศ ๑ มีสุข ๑ ไม่มีอันตราย ๑ ไม่มีจัญไร ๑ มหาชน ยำเกรงทุกเมื่อ ๑ เราไม่มีความพลัดพรากจากของที่รัก ๑ เพราะกรรมนั้นให้ผลแก่เรา.

เราได้ถวายรองเท้า ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๓ ประการ อันสมควรแก่ กรรมของเรา

คือ ยานช้าง ยานม้า วอ ย่อมไหลมาเทมา ๑ รถหกหมื่น คันแวดล้อมเราทุกเมื่อ ๑ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ รองเท้า แก้วมณี รองเท้าทองแดง รองเท้าทองคำ รองเท้าเงิน ย่อม เกิดขึ้นในขณะที่ยกเท้าขึ้น ๑ บุญกรรมทั้งหลาย ย่อมช่วย

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 896

ชำระอาจารคุณให้สะอาดแน่นอน เราย่อมได้คุณเหล่านี้ เพราะกรรมนั้นให้ผล.

เราได้ถวายเขียงเท้า ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ได้สวมเขียงเท้ามีฤทธิ์แล้วอยู่ได้ตามปรารถนา.

เราได้ถวายผ้าเช็ดหน้า ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อัน สมควรแก่กรรมของเรา

คือ เราเป็นผู้มีผิวพรรณดุจทองคำปราศจากธุลี ๑ มีรัศมี ผ่องใส ๑ มีเดช ตัวของเราละเอียดอ่อน ๑ ฝุ่นละอองไม่ ติดตัวเรา ๑ เราได้คุณเหล่านี้เพราะกรรมนั้นให้ผล.

เราได้ถวายไม้เท้าคนแก่ ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควร แก่กรรมของเรา

คือ เรามีบุตรมาก ๑ เราไม่มีความสะดุ้งกลัว ๑ เป็น ผู้อันอารักขาทุกอย่างรักษาไว้ ใครๆ ข่มขี่ไม่ได้ทุกเมื่อ ๑ ย่อมไม่รู้สึกความพลั้งพลาด ๑ ใจของเราไม่ขลาดกลัว ๑.

เราได้ถวายหยอดตา ในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๘ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา

คือ เราเป็นผู้มีนัยน์ตากว้างใหญ่ ๑ มีสีขาวมีสีเหลือง ๑ มีสีแดง ๑ เป็นผู้มีนัยน์ตาไม่มัว ๑ มีนัยน์ตาแจ่มใส ๑ เว้น จากโรคตาทั้งปวง ๑ ย่อมได้ตาทิพย์ ๑ ได้ปัญญาจักษุอันสูง สุด ๑ เราได้คุณเหล่านี้ เพราะกรรมนั้นให้ผล.

เราได้ถวายลูกกุญแจ ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 897

ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้ลูกกุญแจ คือ ญาณอันเป็นเครื่อง เปิดทวารธรรม.

เราได้ถวายแม่กุญแจ ในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๒ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา

คือ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ เป็นผู้มีความโกรธน้อย ๑ ไม่มีความคับแค้นใจ ๑.

เราได้ถวายสายโยก ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อัน สมควรแก่กรรมของเรา

คือ เราย่อมไม่หวั่นไหวในสมาธิ ๑ มีความชำนาญใน สมาธิ ๑ มีบริษัทไม่แตกกัน ๑ มีถ้อยคำอันมหาชนเชื่อถือทุก เมื่อ ๑ โภคสมบัติย่อมเกิดแก่เรา เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพ ๑.

เราได้ถวายกล้องเป่าควัน ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๓ ประการ อัน สมควรแก่กรรมของเรา

คือ สติของเราเป็นธรรมชาติตรง ๑ เส้นเอ็นของเราต่อ เนื่องกันดี ๑ เราย่อมได้ตาทิพย์ เพราะกรรมนั้นให้ผล.

เราได้ถวายตะเกียงตั้ง ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๓ ประการ อัน สมควรแก่กรรมของเรา

คือ เราเป็นผู้มีสกุล ๑ มีอวัยวะสมบูรณ์ ๑ มีปัญญาอัน พระพุทธเจ้าสรรเสริญ เราได้คุณเหล่านี้เพราะกรรมนั้นให้ผล.

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 898

เราได้ถวายคนโทน้ำและผอบ ในพระพุทธเจ้าและใน คณะสงฆ์ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๑๐ ประการ อัน สมควรแก่กรรมของเรา

คือ ในกาลนั้น เราได้รับการคุ้มครองดีแล้ว ๑ พร้อมพรั่ง ด้วยสุข ๑ มียศมาก มีคติ ๑ ไม่มีความวิบัติ ๑ เป็น สุขุมาลชาติ ๑ เว้นจากจัญไรทั้งปวง ๑ เป็นผู้ได้คุณอัน ไพบูลย์ ๑ หวั่นไหวด้วยความนับถือ ๑ มีความหวาดเสียว อันดีแล้ว ๑ เพราะการถวายคนโทน้ำและผอบ เราได้วรรณะ ๔ ช้างแก้ว และม้าแก้ว คุณของเราเหล่านั้นไม่พินาศ ผลนี้ เพราะถวายคนโทน้ำและผอบ.

เราได้ถวายผ้าสำหรับเช็ดขัดสนิม ในพระพุทธเจ้าและ ในคณะสงฆ์ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อัน สมควรแก่กรรมของเรา คือ เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยลักษณะทั้งปวง ๑ มีอายุยืน ๑ มีปัญญา ๑ จิตมั่นคง ๑ กายของเราพ้นแล้วจากความยาก ลำบากทุกอย่างในกาลทั้งปวง ๑.

เราได้ถวายมีดบางอันลับคมดีและกรรไกร ในสงฆ์แล้ว ย่อมได้ญาณเป็นเครื่องตัดกิเลส อันหาน้ำหนักมิได้ สะอาด.

เราได้ถวายคีม ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐ สุดแล้ว ย่อมได้ญาณเป็นเครื่องถอนกิเลสอันหาน้ำหนักมิได้ สะอาด.

เราได้ถวายยานัตถุ์ ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประ-

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 899

เสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๘ ประการ อันสมควร แก่กรรมของเรา

คือ ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ขันติ ๑ และปัญญาเป็นคุณข้อที่ ๘ ของเรา.

เราได้ถวายตั่ง ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐ สุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ประการ อันสมควรแก่กรรม ของเรา

คือ เราย่อมเกิดในสกุลสูง เป็นผู้มีโภคสมบัติมาก ๑ ชน ทั้งปวงยำเกรงเรา ๑ ชื่อเสียงของเราฟุ้งไป ๑ บัลลังก์สี่เหลี่ยม จตุรัส ย่อมแวดล้อมเราเป็นนิตย์ตลอดแสนกัป ๑ เราเป็น ผู้ยินดีในการจำแนกทาน ๑.

เราได้ถวายที่นอน ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๖ ประการ อันสมควร แก่กรรมของเรา

คือ เรามีร่างกายสมส่วน อันบุญกรรมก่อให้ ๑ เป็นผู้ อ่อนโยน มีรูปงาม น่าดู เราย่อมได้ญาณอันประเสริฐ ๑ นี้เป็นผลแห่งการถวายที่นอน เราย่อมได้นวม ผ้าลาดลายรูป สัตว์ ผ้าลาดทอด้วยพรหม ผ้าลาดอันจิตร ผ้าลาดอย่างดี และผ้ากัมพลต่างๆ เป็นอันมาก ๑ ย่อมได้ผ้าปวารกะมีขน อ่อนนุ่ม ผ้าทำด้วยขนสัตว์อ่อนนุ่ม ในที่ต่างๆ ๑ นี้เป็นผล แห่งการถวายที่นอน เมื่อใด เราระลึกถึงตน เมื่อใด เราเป็น

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 900

ผู้รู้เดียงสา เมื่อนั้น เราเป็นผู้ไม่เปล่า มีฌานเป็นเตียง นอน ๑ นี้เป็นผลแห่งการถวายที่นอน.

เราได้ถวายหมอน ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๖ ประการ อันสมควรแก่ กรรมของเรา

คือ เราย่อมวางศีรษะของเรา หนุนบนหมอนอันยัดด้วย ขนสัตว์ หมอนยัดด้วยเกสรบัวหลวง และยัดด้วยจันทน์แดง ทุกเมื่อ ๑ เรายังญาณให้เกิดในอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ และในสามัญผล ๔ เหล่านั้นแล้ว ย่อมอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ๑ ยังญาณให้เกิดในทาน ทมะ สัญญมะ อัปปมัญญา และ รูปฌานเหล่านั้นแล้ว ย่อมอยู่ตลอดกาลทั้งปวง ๑ ยังญาณให้ เกิดในวัตรคุณ รูปปฏิมาและรนอาจารกิริยาแล้ว ย่อมอยู่ใน กาลทั้งปวง ๑ ยังญาณให้เกิดในการจงกรม ความเพียรอัน เป็นประธาน และในโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมอยู่ ตามปรารถนา ๑ ยังญาณให้เกิดในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และในวิมุตติญาณทัสสนะเหล่านั้นแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ๑.

เราได้ถวายตั่งแผ่นกระดาน ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๒ ประการ อัน สมควรแก่กรรมของเรา

คือ เราย่อมได้บัลลังก์อันประเสริฐ อันทำด้วยทองคำ แก้วมณี และทำด้วยงาช้างสารเป็นอันมาก นี้เป็นผลแห่งการ ถวายตั่งแผ่นกระดาน.

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 901

เราได้ถวายตั่งรองเท้า ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๒ ประการ อัน สมควรแก่กรรมของเรา

คือ เราย่อมได้ยวดยานเป็นอันมาก ๑ นี้เป็นผลแห่งการ ถวายตั่งรองเท้า ทาสหญิงชาย ภรรยา และคนอาศัยเลี้ยง ชีวิตเหล่าอื่น ย่อมบำเรอเราโดยชอบ ๑ นี้เป็นผลแห่งการ ถวายตั่งรองเท้า.

เราได้ถวายน้ำมันสำหรับทาเท้า ในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุด แล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรม ของเรา

คือ ความที่เราเป็นผู้ไม่ป่วยไข้ ๑ มีรูปงาม ๑ เส้นเอ็น ประสาทรับรสได้เร็ว ๑ ความได้ข้าวและน้ำ ๑ ได้อายุยืน นานเป็นที่ห้า

เราได้ถวายเนยใสและน้ำมัน ในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุด แล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรม ของเรา

คือ เราเป็นผู้มีกำลัง ๑ มีรูปสมบูรณ์ ๗ เป็นผู้ร่าเริงทุก เมื่อ ๑ มีบุตรทุกเมื่อ ๑ และเป็นผู้ไม่ป่วยไข้ทุกเมื่อ ๑ นี้ เป็นผลแห่งการถวายเนยใสและน้ำมัน.

เราได้ถวายน้ำบ้วนปาก ในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 902

คือ เราเป็นผู้มีลำคอบริสุทธิ์ ๑ มีเสียงไพเราะ ๑ เว้น จากโรคไอ โรคหืด ๑ กลิ่นดอกอุบลฟุ้งออกจากปากของ เราทุกเมื่อ ๑.

เราได้ถวายนมส้มอย่างดี ในพระพุทธเจ้าและในคณะสงฆ์ ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้บริโภคภัตอันไม่ขาดสาย คือ กายคตาสติอันประเสริฐ.

เราได้ถวายน้ำผึ้งอันประกอบด้วยสีกลิ่นและรสดี ในพระชินเจ้าและในคณะสงฆ์แล้ว ย่อมได้รส คือ วิมุตติอันไม่มี รสอื่นเปรียบ ไม่เป็นอย่างอื่น.

เราได้ถวายรสตามเป็นจริง ในพระพุทธเจ้าและในคณะ สงฆ์ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้เสวยผล ๔ ประการ อันสมควรแก่ กรรมของเรา.

เราได้ถวายข้าวและน้ำ ในพระพุทธเจ้าและในคณะสงฆ์ ผู้อุดมแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๑๐ ประการ อันสมควร แก่กรรมของเรา

คือ เราเป็นผู้มีอายุยืน ๑ มีกำลัง ๑ เป็นนักปราชญ์ ๑ มีวรรณะ ๑ มียศ ๑ มีสุข ๑ เป็นผู้ได้ข้าว ๑ น้ำ ๑ เป็น คนกล้า ๑ มีญาณรู้ทั่ว ๑ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพ ย่อม ได้คุณเหล่านี้.

เราได้ถวายธูป ในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐ สุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๑๐ ประการ อันสมควรแก่ กรรมของเรา

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 903

คือ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ เป็นผู้มีกลิ่นตัว หอมฟุ้ง ๑ มียศ ๑ มีปัญญาเร็ว ๑ มีชื่อเสียง ๑ มีปัญญา คมกล้า ๑ มีปัญญากว้างขวาง ๑ มีปัญญาร่าเริง ๑ มีปัญญา ลึกซึ้ง ๑ มีปัญญาเครื่องแล่นไปไพบูลย์ ๑ เพราะผลการ ถวายธูปนั้น บัดนี้ เราเป็นผู้บรรลุนิพพานอันเป็นสันติสุข ๑.

การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการมา ดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัด กิเลสเครื่องผูกดุจช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระปิลินทวัจฉเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบปิลินทวัจฉเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 904

ปิลินทวัจฉวรรคที่ ๔๐

๓๙๑. อรรถกถาปิลินทวัจฉเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ วรรคที่ ๔๐ ดังต่อไปนี้ :- อปทานของท่านพระปิลินทวัจฉเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นคเร หํสวติยา ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากใน ภพนั้น ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้ บังเกิดในตระกูลนายประตู ในหังสวดีนคร ได้มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติ มาก เขาแลดูกองทรัพย์สมบัติที่สั่งสมไว้เป็นจำนวนโกฏิแล้ว จึงไปนั่งใน ที่ลับๆ คิดว่า เราควรจะถือเอาทรัพย์ทั้งหมดนี้ไว้ในทางที่ถูกแล้วจึงไป ดังนี้แล้ว จึงตกลงใจว่า ควรที่เราจะถวายบริขารทั้งหมดแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จึงให้ช่างกระทำเริ่มต้นแต่ฉัตรแสนคัน จนถึง เครื่องบริโภคและบริขารทั้งหมดอย่างละแสนชิ้นแล้ว นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ครั้นถวายทานได้ ๗ วันอย่างนี้แล้ว ในวันสุดท้าย เขาได้ปรารถนาที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานเสร็จแล้ว ก็ทำแต่บุญเป็นอัน มากจนตลอดชีวิต สิ้นชีวิตแล้ว ได้ไปบังเกิดในเทวโลก ได้เสวยทิพยสมบัติมากมายในกามาวจรทั้ง ๖ ชั้น และได้เสวยสมบัติ มีจักรพรรดิ- สมบัติเป็นต้นในมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิดในตระกูล

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 905

พราหมณ์ เรียนจบศิลปศาสตร์ทุกสาขาแล้ว ได้ปรากฏชื่อว่า ปิลินทวัจฉะ ด้วยอำนาจแห่งโคตร.

วันหนึ่ง ปิลินทวัจฉะนั้น ได้ฟังพระธรรมเทศนาในสำนักของ พระศาสดาแล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ (ท่าน) ระลึกถึงบุรพกรรมของตนได้เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศ เรื่องราวอันนั้นด้วยอำนาจอุทาน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า นคเร หํสวติยา ดังนี้ เนื้อความแห่งอุทานนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวได้แล้วในหนหลังแล. บทว่า อาสึ โทวาริโก อหํ ความว่า เราได้เป็นนายประตู รักษาประตู พระราชวังของพระราชาในหังสวดีนครแล้ว. บทว่า อกฺโขภํ อมิตํ โภคํ ความว่า เพราะค่าที่ตนเป็นราชวัลลภ คนอื่นจึงไม่สามารถจะทำทรัพย์ให้ หวั่นไหว ให้เคลื่อนจากที่ได้ ทรัพย์ที่หาประมาณมิได้ จึงได้มีอยู่ใน เรือนของเราเป็นกอง. บทว่า พหู เมธิคตา โภคา ความว่า โภคะเป็น จำนวนมากมาย ได้ถึง ได้มีแก่เราแล้ว. ชื่อของบริขารทั้งหลายมีมีดน้อย เป็นต้น ก็พอจะรู้ได้โดยง่ายด้วยการประกอบไปตามลำดับเนื้อความ. และ อานิสงส์แห่งการถวายเครื่องบริขาร ก็พอจะรู้ได้ง่ายเหมือนกันแล.

จบอรรถกถาปิลินทวัจฉเถราปทาน