ติสสเมตเตยเถราปทานที่ ๑ (๔๐๑) ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีปและผลมะพลับ
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 952
เถราปทาน
เมตเตยยวรรคที่ ๔๑
ติสสเมตเตยเถราปทานที่ ๑ (๔๐๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีปและผลมะพลับ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 952
เมตเตยยวรรคที่ ๔๐
ติสสเมตเตยเถราปทานที่ ๑ (๔๐๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีปและผลมะพลับ
[๔๐๓] ดาบสชื่อว่า โสภิตะ บริโภคแต่ผลไม้ที่หล่นเอง อาศัย ยอดเงื้อมเขา ประทับอยู่ในระหว่างแห่งภูเขา.
ในกาลนั้น เราแสวงหาประโยชน์อันสูงสุด เพื่อเข้าถึง พรหมโลก จึงนำเอาฟืนสำหรับติดไฟมาสุมไฟให้ลุกโพลง.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ สมควรรับเครื่องบูชา พระองค์ทรงประสงค์จะช่วยเหลือเรา จึงเสด็จมาในสำนักเรา ตรัสถามว่า
ทำอะไรหรือท่านผู้มีบุญหนัก ขอจงให้ฟืนสำหรับติดไฟ แก่เรา เราจะบำเรอไฟ เพราะการบำเรอไฟนั้น ความบริสุทธิ์ จักมีแก่เรา.
เราทูลว่า
ดูก่อนท่านผู้เป็นมนุษย์ ท่านเป็นผู้เจริญดี ท่านเข้าใจ เทวดาดี เชิญท่านบำเรอไฟ เชิญท่านเอาฟืนสำหรับติดไฟไป.
ลำดับนั้น พระชินเจ้าทรงถือเอาฝืนจะติดไฟให้ลุกโพลง ไฟไม่ติดฟืนในกองฟืนนั้น เพราะพระผู้แสวงหาคุณใหญ่ ทรงทำปาฏิหาริย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 953
พระปทุมุตตรพุทธเจ้าตรัสว่า
ไฟของท่านไม่ลุกโพลง เครื่องบูชาของท่านไม่มี การ บำเรอไฟของท่านไร้ประโยชน์ เชิญท่านบำเรอไฟของเรา บ้างซิ.
เราทูลถามว่า
ดูก่อนท่านผู้มีความเพียรใหญ่ ไฟของท่านเป็นเช่นไร ขอจงบอกไฟของท่าน เมื่อบอกแก่เราแล้ว เราทั้งสองจะ บำเรอไฟนั่น.
พระองค์ตรัสว่า
การบูชาของเรามี ๓ ประการ คือ เพื่อดับธรรมอันเป็น เหตุ ๑ เพื่อเผากิเลส ๑ เพื่อละความริษยาและความ ตระหนี่ ๑.
เราทูลถามว่า
ข้าแต่ท่านมหาวีระผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นเช่นไร มีโคตร อย่างไร อาจาระและข้อปฏิบัติของท่านเราชอบใจนัก.
พระองค์ตรัสตอบว่า
เราเกิดในสกุลกษัตริย์ ถึงที่สุดแห่งอภิญญา มีอาสวะ ทั้งปวงสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี.
ข้าแต่พระองค์ผู้ส่องแสงสว่าง ทรงบรรเทาความมืด ถ้า พระองค์เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ข้าพระองค์จักขอนมัสการพระองค์ พระองค์ผู้ทำที่สุดทุกข์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 954
เราได้เอาหนังสัตว์ลาดถวาย เป็นที่ประทับนั่ง พระสัพพัญญู ประทับนั่งบนหนังสัตว์นั้น เราอุปัฏฐากพระองค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งบนหนังสัตว์ที่เราลาดถวาย นั้น เรานิมนต์พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ไปสู่ภูเขา.
เก็บผลมะพลันใส่หาบจนเต็ม นำมาคลุกเคล้าด้วยน้ำผึ้ง แล้ว ได้ถวายแด่พระพุทธเจ้า.
เมื่อเรามองดูอยู่ พระชินเจ้าก็เสวยในขณะนั้น เรา มองดูพระองค์ผู้นำของโลก ยังจิตให้เลื่อมใสในพระองค์.
พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก สมควร รับเครื่องบูชา ประทับนั่งอยู่ในอาศรมของเรา ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดมีความเลื่อมใส ได้อังคาสเราให้อิ่มหนำ ด้วยผล มะพลับด้วยมือของตน เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลาย จงฟังเรากล่าว
ผู้นั้นจักได้เสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๒๕ ครั้ง และจักได้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง.
ข้าว น้ำ ผ้า และที่นอนอันสมควรแก่ค่ามาก ประกอบ ด้วยบุญกรรม (ดังจะ) รู้ความดำริของผู้นั้นผู้พร้อมเพรียงด้วย บุญกรรม จักบังเกิดขึ้นในทันที ผู้นี้จักเป็นผู้บันเทิงพร้อม และผู้มีความสบายทุกเมื่อ.
ผู้นี้เข้าถึงกำเนิดใด คือ ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ใน กำเนิดนั้น จักเป็นผู้มีสุขทุกแห่ง จักได้เป็นมนุษย์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 955
ผู้นั้นเป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท ได้เข้า เฝ้าพระสัมพุทธเจ้าแล้ว จักเป็นพระอรหันต์.
เราระลึกถึงตนได้ในกาลใด ถึงความเป็นผู้รู้แจ้ง ในกาล ใด ในกาลนั้น ความพร่องในโภคสมบัติไม่มีแก่เราเลย นี้ เป็นผลแห่งการถวายผลไม้.
เราบรรลุถึงธรรมอันประเสริฐแล้ว ถอนราคะและโทสะ ขึ้นได้แล้ว เป็นผู้มีอาสวะทั้งปวงสิ้นรอบแล้ว บัดนี้ภพใหม่ มิได้มี.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัด กิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน ของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติสสเมตเตยยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.
จบติสสเมตเตยยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 956
เมตเตยยวรรคที่ ๔๑
๔๐๑. อรรถกถาติสสเมตเตยยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๑ วรรคที่ ๔๑ ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระติสสเมตเตยยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺ- ภารกูฏํ นิสฺสาย ดังนี้.
ในเรื่องนั้น มีข้อแตกต่างกันแต่เพียงว่า ท่านบวชเป็นดาบสแล้ว ได้ถวายหนังเสือเพื่อเป็นที่ประทับนั่ง แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เท่านั้น. คำที่เหลือพอจะรู้ได้โดยง่าย ตามบาลีอปทานนั่นแล.
จบอรรถกถาติสสเมตเตยยเถราปทาน