พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เมตตคูเถราปทานที่ ๓ (๔๐๓) ว่าด้วยผลแห่งการถวายเนยใส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 พ.ย. 2564
หมายเลข  41406
อ่าน  380

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 959

เถราปทาน

เมตเตยยวรรคที่ ๔๑

เมตตคูเถราปทานที่ ๓ (๔๐๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายเนยใส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 959

เมตตคูเถราปทานที่ ๓ (๔๐๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายเนยใส

[๔๐๕] ภูเขาชื่อว่า อโสก มีอยู่ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ วิสสุ- กรรมเทพบุตร นิรมิตอาศรมให้แก่เราที่ภูเขาอโสกนั้น.

พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ ผู้เลิศ ประกอบด้วย พระกรุณา เป็นมุนี เวลาเช้าทรงครองผ้าแล้ว เสด็จเข้ามา ในสำนักเราเพื่อบิณฑบาต.

เราได้เห็นพระมหาวีรเจ้าพระนามว่า สุเมธ ผู้นำของโลก เสด็จเข้ามาแล้ว รับบาตรของพระสุคตแล้วเอาเนยใสและ น้ำมันใส่ให้เต็ม.

ถวายในพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด พระนามว่า สุเมธ ผู้ นำของโลก ประนมกรอัญชลีแล้ว ยังความโสมนัสให้เกิดโดย ยิ่ง.

ด้วยการถวายเนยใส (และน้ำมัน) นี้ และด้วยการตั้งจิต ไว้มั่น เราเป็นเทวดาหรือเป็นมนุษย์ ย่อมได้สุขอันไพบูลย์.

เราท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ เว้นภพวินิบาต ตั้ง จิตมั่นไว้ในพระพุทธเจ้านั้น. ย่อมได้บทอันไม่หวั่นไหว.

ดูก่อนพราหมณ์ การที่ท่านได้เห็นเรานั้น เป็นลาภที่ท่าน ได้ดีแล้ว ด้วยว่า บุคคลอาศัยการเห็นเราแล้ว จักบรรลุถึง พระอรหัต.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 960

ท่านจงเป็นผู้เบาใจ ไม่ต้องกลัว บรรลุถึงยศใหญ่ ท่าน ถวายเนยใสแก่เราแล้ว จักพ้นจากชาติทุกข์ได้.

ด้วยการถวายเนยใสนี้ และด้วยการตั้งจิตไว้มั่น ท่านเป็น เทวดาหรือมนุษย์ ย่อมได้สุขอันไพบูลย์

ด้วยอธิการนี้ และด้วยความเป็นผู้มีจิตเมตตา ผู้นั้นจักรื่น รมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๑,๘๐๐ กัป จักได้เป็นท้าวเทวราช ๑๘ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนา นับมิได้.

จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครอบครองแผ่นดิน มีสมุทร สาคร ๔ เป็นที่สุด มีความชนะวิเศษ เป็นใหญ่ในชมพูทวีป อันรุ่งเรือง ๕๑ ครั้ง.

มหาสมุทรกระเพื่อมไม่หยุด และแผ่นดินทรงไว้ยาก ฉันใด โภคสมบัติของเราจักนับประมาณมิได้ ฉันนั้น เรา ถวายเงิน ๖๐๐ ล้านแล้ว ออกบวชแสวงหากุศลอะไรอยู่ จึง เข้าไปหาพราหมณ์พาวรี.

เราเล่าเรียนลักษณะมีองค์ ๖ ในมนต์นั้นอยู่ ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์เสด็จอุบัติขึ้นกำจัดความมืดนั้นแล้ว ข้าแต่ พระมหามุนี ข้าพระองค์ประสงค์จะเฝ้าพระองค์จึงมา ได้ฟัง ธรรมของพระองค์แล้ว ได้บรรลุผลอันไม่หวั่นไหว.

ในกัปที่สามหมื่นแต่กัปนี้ เราได้ถวายเนยใสแด่พระพุทธเจ้า ในระหว่างนี้ เราไม่รู้จักทุคติเลย เราให้ขอเนยใส

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 961

แล้ว เนยใสดังจะรู้ความดำริของเรา ย่อมเกิดตามปรารถนา รู้ความดำริแล้วเกิดขึ้น เราอังคาสภิกษุทั้งปวงให้อิ่มหนำ.

โอ พระพุทธเจ้า โอ พระธรรม โอ ความที่เราถึงพร้อม ด้วยพระศาสดา ก็เราถวายเนยใสหน่อยเดียวแล้ว ย่อมได้ เนยใสหาประมาณมิได้.

น้ำในมหาสมุทรมีประมาณถึงยอดเขาเนรุ เมื่อเทียบกับ เนยใสของเรา จักไม่เท่าส่วนแห่งเสี้ยว.

โอกาสแห่งจักรวาลที่เขาทำให้เป็นกองประมาณเท่าใด โอกาสนั้น ย่อมไม่สมกับกองผ้าทั้งหลายที่เกิดขึ้นแก่เรา.

ขุนเขาหิมวันต์ ล้วนแต่หินแม้จะสูงสุด ก็จักไม่เท่าเครื่อง หอมสำหรับไล้ทาของเรา.

ผ้า ของหอม เนยใส และสิ่งอื่นอันเกิดในปัจจุบันและ นิพพานอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ย่อมเกิดแก่เรา นี้เป็นผลแห่ง การถวายเนยใส.

เราเป็นผู้มีสติปัฏฐานเป็นที่นอน มีสมาธิและฌานเป็น อารมณ์ วันนี้เราเป็นผู้ยังโพชฌงค์ให้เกิด นี้เป็นผลแห่งการ ถวายเนยใส.

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัด กิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่อาสวะอยู่.

การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอน ของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 962

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเมตตคูเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบเมตตคูเถราปทาน

๔๐๓. อรรถกถาเมตตคูเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระเมตตคูเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺส อวิทูเร ดังนี้.

ท่านเป็นพระดาบสอยู่ในบรรณศาลา ที่ภูเขาชื่อว่า อโสก ใกล้ป่า หิมวันต์นั้น ได้พบเห็นพระสุเมธสัมพุทธเจ้าแล้ว รับบาตรเอาเนยใสใส่ ถวายจนเต็ม (ดังนี้) เป็นความแตกต่างกัน. คำที่เหลือ และผลบุญ นักศึกษาพอจะรู้ได้โดยง่ายทีเดียว. และเนื้อความแห่งคาถาอปทาน ก็ ปรากฏชัดเจนอยู่แล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาเมตตคูเถราปทาน