พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อุปสีวเถราปทานที่ ๕ (๔๐๕) ว่าด้วยผลแห่งการสร้างอาศรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 พ.ย. 2564
หมายเลข  41408
อ่าน  373

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 968

เถราปทาน

เมตเตยยวรรคที่ ๔๑

อุปสีวเถราปทานที่ ๕ (๔๐๕)

ว่าด้วยผลแห่งการสร้างอาศรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 968

อุปสีวเถราปทานที่ ๕ (๔๐๕)

ว่าด้วยผลแห่งการสร้างอาศรม

[๔๐๗] เราสร้างอาศรม สร้างบรรณศาลาอย่างสวยงาม ณ ที่ใกล้ ภูเขาชื่อว่า อโนมะ อันมีอยู่ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์.

ณ ที่นั้นมีแม่น้ำไหลอยู่ มีท่าน้ำราบเรียบ น่ารื่นรมย์ใจ กอปทุมและกออุบลเป็นอันมาก ย่อมเกิดที่ท่าน้ำอันชุ่มชื้นใน แม่น้ำนั้น.

มีปลาฉลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลา ตะเพียน และเต่าชุกชุม มีน้ำไหลอยู่ในกาลนั้น.

มีต้นดีหมี ต้นอโศก ต้นเข็ม ต้นชาตบุษย์ มะงั่ว และ มะนาว มีดอกบาน ขึ้นอยู่รอบอาศรมของเรา. มีอัญชันเขียว มะลิซ้อน ต้นรัง ต้นสน ต้นจำปา ขึ้น อยู่เป็นหมู่ๆ มากด้วยกัน มีดอกบาน.

ต้นกุ่ม ต้นอุโลก สลัดได มีดอกบาน ต้นประดู่ และ มะซางหอม มีดอกบาน มีอยู่ในที่ใกล้อาศรมของเรา.

ต้นราชพฤกษ์ แคฝอย ต้นคัดเค้า ต้นประยงค์ มะกล่ำหลวง ไม้ช้างน้าว มีดารดาษอยู่โดยรอบกึ่งโยชน์.

มาตกรา (๑) ต้นชบาซ้อน ต้นโลดแดง ขึ้นเป็นหมู่อยู่ใกล้ แม่น้ำ ไม้ปรู สมอพิเภก กำลังมีดอกบาน มีอยู่มาก ต้น


๑. ม. ว่า มาตคฺคารา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 969

สมอมีอยู่มาก กำลังมีดอกบาน อยู่ใกล้อาศรมของเรา.

เมื่อต้นไม้เหล่านี้มีดอก ต้นไม้ทั้งหลายก็งานมาก โดย รอบที่อาศรมของเรา ย่อมหอมตลบไปด้วยกลิ่นดอกไม้นั้น.

มีต้นสมอไทย มะขามป้อม มะม่วง ไม้หว้า สมอพิเภก ต้นกระเบา ต้นรกฟ้า ต้นมะตูม ต้นมะปราง.

ต้นมะพลับ ต้นมะหาด ต้นมะซาง ต้นมะดูก ต้นขนุนสำมะลอ ต้นขนุน ต้นกล้วย ต้นพุทรา

ต้นมะกอก ต้นวลฺลิการผลานิ มีมากมาย ผลกำลังสุก งอม หล่นอยู่ใกล้อาศรมของเรา.

อาฬกา อิสิมุคฺคา จ ตโต โสรผลา พหู อวฏา ปกฺกภริตา มิลกฺขุทุมฺพรานิ จ.

เถาดีปลี กระวาน ต้นไทร ต้นมะขวิด ต้นมะเดื่อ มีมากมาย มีผลสุก ปาริโย.

ต้นไม้เหล่านี้และชนิดอื่นมีมากมาย กำลังมีผลใกล้อาศรม ของเรา แม้ต้นไม้ดอกก็มีมาก กำลังบานใกล้อาศรมของเรา.

เช่นมะลิวัลย์ ต้นกระทุ่ม ต้นนมแมว และคนทา อาลกา และต้นปาล์ม มีอยู่ใกล้อาศรมของเรา.

ในที่ไม่ไกลอาศรมของเรานั้น มีสระใหญ่ที่เกิดเองสระ หนึ่ง มีน้ำใสแจ๋ว จืด เย็นสนิท ทีท่าน้ำราบเรียบน่ารื่นรมย์ใจ.


๑. ม. ว่า โมทผลา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 970

ในสระนั้น มีกอปทุม กออุบล และกอบุณฑริก มากมาย ดาดาษด้วยบัวขาวและบัวเผื่อน ลมพัดพากลิ่นหอมต่างๆ มา.

กอปทุมกอหนึ่งกำลังตูม กออื่นๆ มีดอกบาน ดอกปทุม บานแล้ว ร่วงหล่นลง คงมีแต่ฝักบัวเป็นอันมาก.

น้ำหวานที่ไหลออกจากรากเหง้าบัว รสหวานปานดังน้ำผึ้ง นมสด และเนยใส ดอกโกมุท มีกลิ่นหอมต่างๆ ด้วย กลิ่นหอมนั้น มีดอกบานมากมาย.

ดอกโกมุท และมะม่วงสุกส่งกลิ่นหอม เราเห็นอยู่โดย รอบเสมอ ที่ใกล้ขอบสระ มีไม้เกดเป็นอันมากมีดอกบาน.

ต้นชะบาดอกบานสะพรั่ง อัญชันขาว ดอกมีกลิ่นหอม จระเข้ ตะโขง คหกา ย่อมเกิดอยู่ในสระนั้น ในสระ นั้น มีอุคฺคาหกา งูเหลือมมาก ปลาฉลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาตะเพียน เต่า มากมาย อโถ สปฏเกหิ จ.

นกพิราบ นกคับแค นกกวัก นกกาน้ำ นกต้อยตีวิด นกสาลิกา นกค้อนหอย นกโพระดก กระรอก นกเขา เหยี่ยว อุทฺธรา มีอยู่มาก.

หมาจิ้งจอก ลูกนกแขกเต้า ไก่ป่า ฟาน มีอยู่มาก กาเสนิยา จ ติลกา ย่อมอาศัยสระนั้นเลี้ยงชีวิต.

ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาใน เสือดาว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 971

ลิง กินนร ปรากฏอยู่ใกล้อาศรมของเรา.

เราสูดกลิ่นหอมเหล่านั้น บริโภคผลไม้ และดื่มน้ำหอม อยู่ใกล้อาศรมของเรา.

เนื้อทราย หมู เนื้อฟาน ขุทฺทรูปกา อัคคิกา (นกเขาไฟ) นกโชติกร หงส์ นกกะเรียน นกยูง และประกอบด้วย นกดุเหว่า อยู่ใกล้อาศรมของเรา หน่อไม้ ไม้กำคูน ต้น โปตฺถสีสกา มีอยู่มาก.

พวกปีศาจ อสูร กุมภัณฑ์ ผีเสื้อน้ำ มีมาก พวกนก ครุฑ งู ย่อมอยู่ใกล้อาศรมของเรา.

ฤาษีทั้งหลายมีอานุภาพมาก มีจิตสงบระงับมั่นคง ทั้ง หมดล้วนทรงคนโทน้ำ นุ่งหนังสัตว์ทั้งเล็บ สวมชฎา และมี หาบ อยู่ใกล้อาศรมของเรา.

ทอดตาดูประมาณชั่วแอก มีปัญญา มีความประพฤติสงบ สันโดษด้วยลาภและความเสื่อมลาภ อยู่ใกล้อาศรมของเรา.

ฤๅษีเหล่านั้นสลัดผ้าเปลือกไม้กรอง เคาะหนังสัตว์ แข็งแรงด้วยกำลังของตน ย่อมเหาะได้ในอากาศในกาลนั้น.

นำเอาน้ำใหม่และไม้สำหรับทำฟืนใส่ไฟมา และบวชเอา เอง นี้เป็นผลแห่งปาฏิหาริย์ของตนๆ.

ฤๅษีเหล่านั้นถือหม้อโลหะ อยู่ในท่ามกลางป่า เปรียบ เหมือนช้างกุญชรมหานาค และไกรสรราชสีห์ผู้ไม่ครั่นคร้าม.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 972

ฤๅษีพวกหนึ่งไปสู่อปรโคยานทวีป พวกหนึ่งไปสู่ปุพพวิเทหทวีป พวกหนึ่งไปสู่อุตตรกุรุทวีปต่างๆ ตามกำลังของ ตนๆ.

ฤๅษีเหล่านั้นต่างนำเอาอาหารจากทวีปนั้นๆ มาบริโภค ร่วมกัน เมื่อฤๅษีทั้งหมดผู้มีเดชรุ่งเรือง ผู้คงที่ หลีกไป.

ด้วยเสียงหนังสัตว์ ป่าย่อมมีเสียงดังลั่นในกาลนั้น ข้าแต่ พระมหาวีระ พวกศิษย์ของข้าพระองค์เหล่านั้นมีเดชรุ่งเรือง เช่นนี้.

ข้าพระองค์แวดล้อมด้วยฤๅษีเหล่านั้น อยู่ในอาศรมของ ข้าพระองค์ ฤๅษีเหล่านี้ยินดีด้วยกรรมของเรา ข้าพระองค์ แนะนำแล้วมาประชุมกัน.

เพลิดเพลินในกรรมของตน ยังข้าพระองค์ให้ยินดี และ เป็นผู้มีศีล มีปัญญาฉลาดในอัปปมัญญา.

พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควร รับเครื่องบูชา เป็นผู้นำวิเศษ ทรงทราบเวลาแล้ว เสด็จเข้ามา ใกล้.

ครั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีความเพียร มีปัญญาเป็นมุนี เสด็จมาใกล้ จึงทรงถือบาตร แล้วเสด็จเข้ามาเพื่อภิกษา.

ข้าพระองค์ได้เห็นพระมหาวีระ พระนามว่า ปทุมุตตระ เสด็จเข้ามา จึงปูลาดเครื่องลาดหญ้าแล้วเกลี่ยด้วยดอกรัง.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 973

ทูลเชิญพระสัมพุทธเจ้าประทับนั่งแล้วทั้งดีใจและสลดใจ ได้รีบขึ้นไปบนภูเขา นำเอากฤษณามา.

ได้เก็บเอาขนุนอันมีกลิ่นหอม ผลโต ประมาณ เท่าหม้อ ยกขึ้นบ่าแบกมา เข้ารูปเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้นำ ชั้นพิเศษ.

ได้ถวายผลขนุนแด่พระพุทธเจ้าแล้ว ไล้ทากฤษณา ข้าพระองค์มีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐ.

พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควรรับเครื่องบูชา ประทับนั่งในท่ามกลางพวกฤาษี ได้ ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ผู้ใดได้ถวายผลขนุน กฤษณาและอาสนะแก่เรา เรา จักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

โภชนาหารดังจะรู้จิตคนผู้นี้ จักเกิดขึ้นทั้งในบ้าน ในป่า ที่เงื้อมเขาหรือในถ้ำ คนผู้นี้บังเกิดในเทวโลกหรือในมนุษยโลก จักอิ่มเอิบบริบูรณ์ด้วยโภชนาหารและผ้าทั้งหลาย.

คนผู้นี้เข้าถึงกำเนิดใด คือเป็นเทวดาหรือมนุษย์ จักเป็น ผู้มีโภคสมบัติร้อยล้านแสนโกฏิท่องเที่ยวไป.

จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 974

จักเสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๗๑ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า ประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้.

ในแสนกัป จักมีการสมภพในสกุลโอกกากราช พระศาสดามีพระนามว่า โคดม จักเสด็จอุบัติในโลก.

ผู้นี้จักเป็นทายาทในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา โดยมีนามชื่อว่า อุปสีวะ จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวง เป็นผู้ ไม่มีอาสวะอยู่.

การที่เราได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกนี้ เป็นลาภที่เรา ได้ดีแล้ว วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.

ในบ้านก็ตาม ในป่าก็ตาม ที่เงื้อมเขาก็ตาม ในถ้ำก็ตาม โภชนาหารดังจะรู้ความดำริของเรา ย่อมมีแก่เราทุกเมื่อ.

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 975

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอุปสีวเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบอุปสีวเถราปทาน

๔๐๕. อรรถกถาอุปสีวเถราปทาน

พึงทราบวินิฉัยในอปทานที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระอุปสีวเถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้มากมายใน ภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่าน ได้เกิดในเรือนอันมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว ละเพศฆราวาสบวชเป็นฤๅษี อยู่ในป่าหิมวันต์ ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ลาด เครื่องปูลาดที่ทำด้วยหญ้าแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยดอกสาละแด่พระผู้มี-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 976

พระภาคเจ้า ผู้ประทับนั่งบนเครื่องลาดอันนั้น ดังนี้ นี้จัดว่าเป็นความ แตกต่างกัน. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอุปสีวเถราปทาน