พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นันทกเถราปทานที่ ๖ (๔๐๖) ว่าด้วยผลแห่งการถวายมณฑป

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 พ.ย. 2564
หมายเลข  41409
อ่าน  332

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 976

เถราปทาน

เมตเตยยวรรคที่ ๔๑

นันทกเถราปทานที่ ๖ (๔๐๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายมณฑป


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 976

นันทกเถราปทานที่ ๕ (๔๐๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายมณฑป

[๔๐๘] ในกาลก่อน เราได้เป็นพรานเนื้อ (เที่ยว) อยู่ในป่าใหญ่ เที่ยวแสวงหาเนื้อฟานอยู่ ได้พบพระสยัมภู.

ในกาลนั้น พระสยัมภูสัมพุทธเจ้า ผู้ไม่แพ้อะไรๆ พระนามว่า อนุรุทธะ ผู้เห็นนักปราชญ์ ทรงพระประสงค์ วิเวก จึงเสด็จเข้าป่า.

เราถือเอาท่อนไม้ ๔ ท่อนมาปักลงในที่ ๔ มุม ทำเป็น มณฑปเรียบร้อยแล้ว มุงด้วยดอกปทุม.

ครั้นมุงมณฑปแล้ว ได้ถวายบังคมพระสยัมภู ทิ้งธนูไว้ ณ ที่นั้นเอง แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต.

เมื่อเราบวชแล้วไม่นาน โรคก็เกิดขึ้นแก่เรา เราระลึกถึง บุรพกรรมได้ ได้ทำกาละ ณ ที่นั้น.

เราประกอบด้วยบุรพกรรม จึงได้ไปสู่เทวโลกชั้นดุสิต ใน ชั้นดุสิตนั้น วิมานทองย่อมเกิดขึ้นแก่เราตามปรารถนา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 977

เราอธิฐานยานอันเป็นทิพย์ อันเทียมด้วยม้าพันตัว ขึ้นบนยานนั้นแล้ว ย่อมไปตามความปรารถนา.

เมื่อเราอันบุญกรรมนำจากมนุษยโลกนั้น มาเป็นเทวดา มณฑปย่อมทรงไว้แก่เราในที่ร้อยโยชน์โดยรอบ.

เรานั้นนอนอยู่บนที่นอนที่ไม่มีเครื่องมุง ลาดด้วยดอกไม้ ดอกปทุมทั้งหลายย่อมตกลงมาจากอากาศเป็นนิตยกาล.

เมื่อพยับแดดเต้นไหวอยู่ เมื่อแดดแผดเผาอยู่ แดดย่อม ไม่แผดเผาเรา นี้เป็นผลแห่งการทำมณฑปถวาย.

เราล่วงพ้นทุคติแล้ว ปิดอบายทั้งหลาย (เมื่อเราอยู่) ที่ มณฑปหรือที่โคนไม้ ความร้อนย่อมไม่มีแก่เรา.

เราอธิษฐานกำหนดว่าเป็นแผ่นดินแล้ว ข้ามทะเลไปก็ได้ เรานั้นได้ทำกุศลกรรมแล้วหนอ นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

เราทำทางในอากาศแล้ว เหาะไปในอากาศก็ได้ โอ เรา ได้ทำกุศลกรรมแล้ว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

เราย่อมระลึกชาติก่อนๆ ได้ ชำระทิพยจักษุแล้ว อาสวะ ทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

ชาติก่อนๆ เราละได้แล้ว เราเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า และทายาทในสัทธรรม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

เราเป็นผู้ยังพระสุคตเจ้าพระนามว่า โคดมศากยบุตร ให้ โปรดปรานแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม เป็นทายาทในธรรม นี้เป็น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 978

ผลแห่งพุทธบูชา.

เราบำรุงพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โคดมศากยบุตร แล้วได้ทูลถามพระองค์ผู้นำของโลกถึงทางที่จะไปสู่นิพพาน.

พระพุทธเจ้าอันเราทูลถามแล้ว ได้ตรัสบอกบทอันลึกซึ้ง ละเอียด เราฟังธรรมของพระองค์แล้ว ได้บรรลุความสิ้น อาสวะ.

โอ เราทำกรรมดีแล้ว เราพ้นจากชาติทุกข์แล้ว มีอาสวะ ทั้งปวงสิ้นรอบแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี.

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นให้หมดแล้ว ตัด กิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระนันทกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบนันทกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 979

๔๐๖. อรรถกถานันทกเถราปทาน

พึงทราบวินิจฉัยในอปทานที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระนันทกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโท ปุเร อาสึ ดังนี้.

เล่ากันมาว่า พระเถระรูปนี้ ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้ (เกิด) เป็นนกการเวก ทำการเปล่งเสียงร้องอันไพเราะ ได้กระทำประทักษิณพระศาสดาแล้ว ในชาติต่อมา ท่าน ได้เกิดเป็นนกยูง อยู่ ณ ที่ประตูถ้ำ อันเป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า องค์หนึ่ง มีใจเลื่อมใส ได้เปล่งเสียงร้องอันไพเราะวันละ ๓ ครั้ง ได้ ทำบุญไว้มากมายในภพนั้นๆ อย่างนี้แล้ว ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ของพวกเรา ท่านได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุลในกรุงสาวัตถี ได้มีนามว่า นันทกะ ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาแล้ว บวช เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว.

ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงบุรพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัส ใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึง กล่าวคำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโท ปุเร อาสึ ดังนี้ ในเรื่องนั้นข้อความ แปลกกันตรงที่ว่า สร้างมณฑปแล้ว เอาดอกปทุมทั้งหลายมามุงถวายแด่ พระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้นแล.

จบอรรถกถานันทกเถราปทาน