การเป็นนักบวช ดูจากสรีระหน้าตาได้ไหม

 
bua
วันที่  28 มิ.ย. 2550
หมายเลข  4141
อ่าน  2,258

ดิฉันรู้สึกว่ามีคนที่ดิฉันรู้จักคนนึง หน้าตาเขาเหมือนพระพุทธรูปในวัดมาก ที่หน้าผากเขาจะมีรอยหยัก และนิ้วก็เรียวยาว ซึ่งดิฉันเห็นว่านักบวชส่วนใหญ่มีสรีระและหน้าตาแบบนี้ และมีคนบอกเขาว่า ชาติก่อนเขาเคยเป็นนักบวช และชาตินี้ก็จะต้องเป็นคนของศาสนา และบอกว่าอย่าให้เขาแต่งงานเพราะเขาจะมีห่วงมาก และเขาจะมีหน้าที่สำคัญ วันนึงเขาจะมีลูกศิษย์มากและต้องทำหน้าที่ประกาศพระศาสนา ดิฉันอยากรู้ว่าเป็นไปได้ไหม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

การเป็นนักบวชไม่ได้อยู่ที่หน้าตาหรือเครื่องนุ่งห่มเท่านั้น แต่นักบวช หมายถึงผู้เว้นทั่ว คือเว้นจากการกระทำที่เป็นบาปทั้งปวง หรือเป็นผู้สงบจากกิเลสอกุศล (สมณะ) จริงอยู่บุคคลบางคนมีรูปร่างลักษณะดี เพราะเป็นผลของบุญเก่าที่เคยกระทำมา แต่ถ้าเขาไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่ได้คบกับบัณฑิต คบแต่คนพาล คนที่มีรูปร่างดีนั้นอาจเป็นคนชั่ว คนโกงก็ได้ ฉะนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า จะรู้ว่าใครมีศีล ต้องอาศัยการอยู่ร่วมกันนานๆ ต้องคอยสังเกต และผู้มีปัญญาเท่านั้นจึงจะรู้ได้ ถ้าไม่มีปัญญารู้ไม่ได้

เชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

ไม่ควรไว้วางใจเพราะผิวพรรณและรูปร่าง [ชฏิลสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 29 มิ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 65

๔. บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นเถระ เพราะมีผมหงอกบนศีรษะ ผู้มีวัยแก่รอบแล้วนั้น เราเรียกว่า แก่เปล่า (ส่วน) ผู้ใดมีสัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และทมะ ผู้นั้นแล ผู้มีมลทินอันคายแล้ว ผู้มีปัญญาเรากล่าวว่า เป็นเถระ.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 66

๕. นระผู้มีความริษยา มีความตระหนี่ โอ้อวดจะชื่อว่าคนดี เพราะเหตุสักว่าทำการพูดจัดจ้าน หรือเพราะมีผิวกายงามก็หาไม่ ส่วนผู้ใดตัดโทสชาต มีความริษยาเป็นต้นนี้ได้ขาด ถอนขนให้รากขาด ผู้นั้นมีโทสะอันคายแล้ว มีปัญญา เราเรียกว่า คนดี.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 66

๖. ผู้ไม่มีวัตร พูดเหลาะแหละ ไม่ชื่อว่าสมณะเพราะศีรษะโล้น ผู้ประกอบด้วยความอยากและความโลภจะเป็นสมณะอย่างไรได้ ส่วนผู้ใดยังบาปน้อยหรือใหญ่ ให้สงบโดยประการทั้งปวง ผู้นั้นเรากล่าวว่าเป็นสมณะ เพราะยังบาปให้สงบแล้ว.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 66

๗. บุคคลชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะเหตุที่ขอกะคนพวกอื่นหามิได้ บุคคลสมาทานธรรมอันเป็นพิษ ไม่ชื่อว่าเป็นภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น ผู้ใดในศาสนานี้ลอยบุญและบาปแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ ในโลกด้วยการพิจารณาเที่ยวไป ผู้นั้นแล เราเรียกว่า ภิกษุ.

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 29 มิ.ย. 2550
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ajarnkruo
วันที่ 29 มิ.ย. 2550

ขออนุโมทนา ครับ

เรียนถามถึงความหมายของคำว่า โลกสันนิวาส ครับ คำนี้ไม่แน่ใจความหมาย และที่พระพุทธองค์ทรงเปรียบผู้ที่มีปํญญา กับผู้ที่มีปัญญาทราม ในการบอก เพื่อแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกกระทำให้ตื้น ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้น ทั้งโดยย่อหรือพิสดารได้ว่าเป็นดังบุรุษผู้เห็นกิริยาการผุดจากน้ำของปลาต่างขนาดกัน ก็โดยนัยถึงการแสดงธรรมให้ผู้อื่นได้เข้าใจโดยความกระจ่าง ชัดเจน คือกระทำให้ตื้นของธรรมนั้นหรือไม่ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
reflect
วันที่ 29 มิ.ย. 2550
Never judge a book by the cover, check the contents!
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
wannee.s
วันที่ 30 มิ.ย. 2550

เชิญคลิกอ่านได้ที่...

โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง [อุทาน]

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จากความเห็นที่ 9

โลกสันนิวาส มีหลายความหมาย คือ ขันธ์ ๕ ก็ได้ หรือโลกทั้งหมดตั้งแต่ภวัคคพรหมจนอเวจีมหานรก หรือหมายถึงหมู่สัตว์ก็ได้ครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 1105

บทว่า โลกสนฺนิวาโส - โลกสันนิวาส ได้แก่ เบญจขันธ์ ชื่อว่า โลก ด้วยอรรถว่าสลายไป. ชื่อว่า สันนิวาส เพราะเป็นที่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ. ที่อาศัยคือโลกนั่นแหละ. ชื่อว่า โลกสันนิวาส. แม้หมู่สัตว์ก็ชื่อว่า โลกสันนิวาส เพราะเป็นที่อาศัยของสัตว์โลก ที่เรียกกันว่า สัตว์ เพราะอาศัยขันธสันดานอันเป็นทุกข์. แม้โลกสันนิวาสนั้นก็เป็นไปกับด้วยขันธ์เหมือนกัน.
และจากเรื่องที่พูดถึงคนที่มีปัญญาและปัญญาทราม โดยการแสดงธรรม
คนที่มีปัญญาจะแสดงสิ่งที่ธรรมลึกซึ้งและก็อธิบายให้เข้าใจได้ด้วย นี่คือ ผู้ที่มีปัญญาครับ ส่วนการจะรู้ว่าใครจะมีปัญญาไม่มีปัญญาก็ต้องด้วยการสนทนากัน แต่คนนั้นต้องมีปัญญาด้วยถึงจะรู้ ดังเช่น คนที่ยืนที่ห้วงน้ำ (คนมีปัญญา) เมื่อเห็นอาการผุดของปลา ก็รู้ว่า ปลาตัวใหญ่ หรือตัวเล็ก (เพราะตัวเองมีปัญญาจึงรู้) มีคลื่นมากหรือน้อย เป็นต้น ดังข้อความในพระไตรปิฎกครับ ลองอ่านดูนะ จะเข้าใจขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 30 มิ.ย. 2550


จากความเห็นที่ 9

เชิญคลิกอ่านได้ที่...

ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา [ฐานสูตร]

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ