พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เหมกเถราปทานที่ ๗ (๔๐๗) ว่าด้วยผลแห่งการถวายตั่งแก้ว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 พ.ย. 2564
หมายเลข  41410
อ่าน  385

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 980

เถราปทาน

เมตเตยยวรรคที่ ๔๑

เหมกเถราปทานที่ ๗ (๔๐๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายตั่งแก้ว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 980

เหมกเถราปทานที่ ๗ (๔๐๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายตั่งแก้ว

[๔๐๙] ในกาลนั้น เราเป็นดาบสชื่ออโนมะ ทำอาศรมอย่าง สวยงามไว้ใกล้ยอดเงื้อมเขา อยู่ในบรรณศาลา.

กรรมคือตบะของเรานั้นสำเร็จแล้ว เราถึงความสำเร็จใน กำลังของตน กล้าหาญในสามัญของตน มีความเพียร มี ปัญญา เป็นมุนี.

แกล้วกล้าในลัทธิสมัยของตน ฉลาดในการโต้ตอบ ไปได้ ทั้งบนพื้นดินและในอากาศ ฉลาดในลางร้ายดี.

ปราศจากความเศร้าโศก ไม่แข่งดี มีอาหารน้อย ไม่โลภ จัด ยินดีทั้งด้วยลาภและความเสื่อมลาภ มีปรกติเพ่ง ยินดี ในฌาน เป็นมุนี.

ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้เลิศ มีพระกรุณา เป็นมุนี พระองค์ทรงประสงค์จะขนสัตว์ให้ข้าม จึงทรงแผ่พระกรุณาไป.

พระมหานุมีพระนามว่า ปิยทัสสี ทรงพิจารณาเห็นตน ผู้ควรตรัสรู้แล้ว ก็เสด็จไปประทานโอวาทในพันแห่งจักรวาล.

พระองค์ทรงประสงค์จะช่วยเหลือเรา จึงเสด็จเข้ามาสู่ อาศรมเรา พระชินเจ้าเราไม่เคยเห็นมาก่อนและไม่เคยได้ฟัง มาแต่ใครๆ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 981

แม้แต่การฝันเห็นก็ไม่เคยเกิดแก่เรา แต่ลักษณะทั้งหลาย เรารู้ดี เราไปได้ทั้งบนพื้นดินและในอากาศ ฉลาดในบท นักษัตร.

เรานั้นได้ฟังข่าวพระพุทธเจ้าแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสใน พระพุทธองค์ จะยืนหรือนั่งอยู่ก็ตาม ย่อมระลึกถึงเป็นนิตยกาล.

เมื่อเราระลึกอยู่อย่างนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงระลึก ถึง เมื่อเราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ปีติย่อมมีแก่เราทุกขณะ.

พระมหามุนี ทรงรอเวลาอีกหน่อยแล้ว จึงเสด็จเข้ามาหา เรา แม้เมื่อพระองค์เสด็จถึง เราก็ไม่รู้ว่าผู้นี้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้มหามุนี.

พระมหามุนีพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้สงเคราะห์ ประกอบ ด้วยพระกรุณา ทรงยัง (เรา) ให้ทราบว่า เราเป็นพระพุทธเจ้า ในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก.

ครั้นเรารู้จักพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มหามุนี แล้ว ยังจิตของตนให้เสื่อมใส ได้กราบทูลดังนี้ว่า

ขอภิกษุทั้งปวงจงนั่งบนตั่งบนบัลลังก์และบนอาสันทิ ส่วน พระองค์ผู้มีพระกรุณาในสัตว์ทั้งปวง เชิญประทับบนอาสนะ ทอง.

ในขณะนั้น เรานิรมิตตั่งอันสำเร็จด้วยแก้วล้วนๆ และ นิรมิตอาสนะด้วยฤทธิ์ ถวายแด่พระมุนีพระนามว่า ปิยทัสสี.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 982

เมื่อพระพุทธเจ้าประทับนั่งบนตั่งแก้วที่เรานิรมิตด้วยฤทธิ์ แล้ว เราได้ถวายผลหว้าโตประมาณเท่าหม้อข้าวทันที.

พระมหามุนีทรงยังความยินดีให้เกิดแก่เราแล้ว เสวย ผลหว้าในกาลนั้น เรายังจิตให้เลื่อมใสแล้ว ถวายบังคม พระศาสดา.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี เชษฐบุรุษของ โลก ประเสริฐกว่านระ ประทับนั่งอยู่บนอาสนะแก้ว ได้ตรัส พระคาถาเหล่านี้ว่า

ผู้ใดได้ถวายตั่งแก้วและผลหว้าแก่เรา เราจักพยากรณ์ ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๗๗ กัป จักได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง.

จักได้เป็นจอมเทวดาเสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๓๒ ครั้ง จักเป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้.

จักได้บัลลังก์ทองคำและบัลลังก์อันงาม บัลลังก์แก้วทับทิม และบัลลังก์รัตนะเป็นอันมากที่ทำอย่างสวยงาม.

บัลลังก์มากมายอันเป็นที่ชอบใจ จักแวดล้อมผู้นี้ ผู้พรั่ง พร้อมด้วยบุญกรรม แม้เดินอยู่ทุกเมื่อ.

ปราสาทอันเป็นเรือนยอดและที่นอนอันควรค่ามาก ดังจะรู้ จิตของผู้นี้ จักบังเกิดขึ้นทุกเมื่อ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 983

ช้างพลายหกหมื่น ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มี สายประคนพานหน้าและพานหลังแล้วด้วยทอง กอปรด้วย เครื่องประดับศีรษะและข่ายล้วนเป็นทอง อันควาญช้างผู้ถือ หอกซัดและขอขึ้นอยู่บนคอ ช้างเหล่านั้นจักบำเรอผู้นี้ นี้เป็น ผลแห่งการถวายตั่งแก้ว.

ม้าสินพอาชาไนยโดยกำเนิดหกหมื่น ม้าเป็นพาหนะ วิ่งเร็ว อันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง อันหมอม้ามีมือถือ ธนูสวมเกราะหนังขึ้นขี่อยู่ ม้าเหล่านั้นจักบำเรอผู้นี้ นี้เป็น ผลแห่งการถวายตั่งแก้ว.

รถหกหมื่น อันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง หุ้มด้วย หนังเสือเหลืองบ้าง หุ้มด้วยหนังเสือโคร่งบ้าง สอดใส่เครื่อง รบ ปักธงหน้ารถ อันนายสารถีมีมือถือสวมเกราะขึ้น ประจำรถอยู่ จักแวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการ ถวายตั่งแก้ว.

แม่โคนมและโคผู้ตัวงามหกหมื่นตัว จักยังลูกโคให้เกิด นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งแก้ว.

หญิง ๑๖,๐๐๐ คน อันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร ประดับประดาด้วยมณีและกุณฑล มีหน้าเบิกบานยิ้มแย้ม ตะโพกผึ่งผาย เอวเล็กเอวบาง จัก แวดล้อมผู้นี้อยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่งแก้ว.

ในกัปที่ ๑,๘๐๐ จักมีพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคดม ผู้มี จักษุ กำจัดความมืดมนอันธการในโลก จักทรงอุบัติขึ้นในโลก.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 984

ผู้นี้อาศัยการได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั่น จักตัดความ กังวลออกบวช จักยังพระศาสดาให้โปรดปรานแล้ว ยินดียิ่ง อยู่ในศาสนา ได้ฟังธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้นแล้ว จัก เผากิเลสทั้งหลาย จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มี อาสวะ นิพพาน.

ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำไปซึ่งธุระ นำมาซึ่งความ เกษมจากโยคะ เราปรารถนาประโยชน์อันสูงสุด อยู่ใน พระศาสนา.

ภพนี้เป็นภพที่สุดของเรา ภพต่อไปย่อมไม่มี เราเผา กิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่อง ผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเหมกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบเหมกเถราปทาน

จบภาณวารที่ ๑๘

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 985

๔๐๗. อรรถกถาเหมกเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

อปทานของท่านพระเหมกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺภารกูฏํ นิสฺสาย ดังนี้.

แม้ในเรื่องนั้น ท่านก็ได้บวชเป็นฤาษี อยู่ที่ป่าหิมวันต์ ได้พบ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ซึ่งเสด็จเข้าไปหาจึงได้ลาดตั่งที่ ทำด้วยแก้วถวายแล้ว ได้ยืนอยู่แล้ว ท่านได้นำเอาขนมกุมมาส และผล หว้ามาถวาย แด่พระพุทธเจ้า ซึ่งประทับนั่งบนเครื่องสาดนั้น เพื่อจะให้ เขามีใจเลื่อมใส พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสวยผลไม้นั้น ความแปลกกันมี เพียงเท่านี้นั้นแล.

จบอรรถกถาเหมกเถราปทาน