โตเทยยเถรปทานที่ ๘ (๔๐๘) ว่าด้วยผลแห่งการสร้างบรรณศาลา
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 986
เถราปทาน
เมตเตยยวรรคที่ ๔๑
โตเทยยเถรปทานที่ ๘ (๔๐๘)
ว่าด้วยผลแห่งการสร้างบรรณศาลา
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 986
โตเทยยเถรปทานที่ ๘ (๔๐๘)
ว่าด้วยผลแห่งการสร้างบรรณศาลา
[๔๑๐] ในกาลนั้น (เราเห็น) พระราชพระนามว่าวิชิตชัย เป็นผู้ กล้า ทรงถึงพร้อมด้วยความกล้าใหญ่ ประทับอยู่ในท่ามกลาง พระนครเกตุมดีอันอุดม.
ในกาลนั้น เมื่อพระราชาพระองค์นั้นประมาท โจรผู้ ประทุษร้ายแว่นแคว้นก็ตั้งขึ้น และโจรผู้หยาบช้าทางทิศเหนือ ก็กำจัดแว่นแคว้น.
เมื่อปัจจันตชนบทกำเริบ พระราชาจึงสั่งให้พลรบและ ทหารรักษาพระองค์ประชุมกัน รับสั่งให้ใช้อาวุธบังคับข้าศึก.
ในกาลนั้น พลช้าง พลม้า ทหารเสื้อเกราะผู้กล้าหาญ พล ธนูและพลรถมาประชุมกันทั้งหมด พวกพ่อครัว พนักงาน เครื่องต้น พนักงานสรงสนาน ช้างดอกไม้ผู้กล้าหาญ เคย ชนะสงคราม มาประชุมกันทั้งหมด.
พวกชายฉกรรจ์ผู้ถือดาบ ถือธนู สวมเกราะหนัง เป็น คนแข็งกล้าเคยชนะสงคราม มาประชุมกันทั้งหมด.
ช้างมาตังคะตกมัน ๓ ครั้ง มีอายุ ๖๐ ปี มีสายประคน พานหน้าพานหลัง และเครื่องประดับล้วนทอง มาประชุมกัน ทั้งหมด.
นักรบอาชีพ อดทนต่อหนาว ร้อน อุจจาระ ปัสสาวะ มี กรรมอันทำเสร็จแล้ว มาประชุมกันทั้งหมด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 987
ทหารเหล่านั้นยินดีด้วยเสียงสังข์ เสียงกลองและด้วย เสียงแตกตื่น มาประชุมกันทั้งหมด.
ทหารเหล่านั้นตีกันด้วยหลาว หอก แหลน ธนู และ ตรีศูล (สามง่าม) ล้มลงรวมกันทั้งหมด.
ในกาลนั้น เราสวนเกราะแล้ว สั่งให้จับพลรบ หกหมื่น พร้อมทั้งพระราชาผู้พ่ายแพ้ขึ้นเสียบหลาว.
พลรบเหล่านั้นพากันส่งเสียงร้องว่า พุทโธ่ พระราชา อาธรรม์ เมื่อถูกไฟไหม้อยู่ในนรก เมื่อไรจักมีที่สุด.
ในกาลนั้น เรานอนอยู่บนที่นอน ย่อมเห็นไฟนรก เรา นอนไม่หลับตลอดวันหนึ่งคืนหนึ่ง พวกนายนิริยบาลขู่เรา ด้วยหลาว.
(เราคิดว่า) ความมัวเมารัชสมบัติ สัตว์พาหนะ และ พลรบจะเป็นประโยชน์อะไร สิ่งเหล่านั้นไม่สามารถทรงไว้ได้ ย่อมยังเราให้สะดุ้งทุกเมื่อ.
บุตร ภรรยา และรัชสมบัติทั้งสิ้น จะเป็นประโยชน์อะไร แก่เรา ถ้าเช่นนั่น เราพึงบวช พึ่งชำระทางแห่งคติ.
เราไม่มีความห่วงใย ปล่อยช้างมาตังคะ หกหมื่นเชือก อันประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง มีรัตนประคนพานหน้า พานหลัง เครื่องประดับศีรษะและข่ายล้วนเป็นทอง อัน ควาญช้างผู้ถือหอกซัดและขอประจำคอ ไว้ที่ในสนามรบ เร่าร้อนด้วยกรรมของตน จึงออกบวชเป็นบรรพชิต.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 988
เราทิ้งม้าสินธพอาชาไนยโดยกำเนิด หกหมื่นม้า อัน ประกอบด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เป็นพาหนะวิ่งเร็ว อันนาย น้ำมือถือธนูสวมเกราะหนัง ขึ้นประจำหลังเสียทั้งหมดแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต.
เราสละรถ หกหมื่นคัน อันประดับด้วยเครื่องอลังการ ทั้งปวง หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองบ้าง ด้วยหนังเสือโคร่งบ้าง สอดเครื่องรบมีธงปักไว้หน้ารถ ทั้งหมดนี้แล้ว บวชเป็น บรรพชิต.
เราทิ้งแม่โคนม หกหมื่นตัว อันรองน้ำนมด้วยขันสำริด ทั้งหมดเสียแล้ว บวชเป็นบรรพชิต.
เราสละหญิง หกหมื่นคน ผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการ ทั้งปวง มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตร สวมใส่แก้วมณีและกุณฑล มีหน้าเบิกบาน ยิ้มแย้ม ตะโพกผึ่งผาย เอวเล็กเอวบาง ทุกคนคร่ำครวญอยู่แล้ว บวชเป็นบรรพชิต.
เราทิ้งบ้าน หกหมื่นหลัง อันบริบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง ซึ่งเป็นรัชสมบัตินั้นเสียแล้ว บวชเป็นบรรพชิต. เราออกจากพระนครแล้ว เข้ารูปสู่ภูเขาหิมวันต์ ได้สร้าง อาศรมไว้ ณ ที่ใกล้แม่น้ำภาคีรสี.๑
ทำกรรณศาลาเสร็จแล้ว ทำเรือนสำหรับบูชาไฟ เรา ปรารถนาความเพียรมีใจแน่วแน่ อยู่ในอาศรม.
๑. ภาคีรถี แม่น้ำคงคา อภิธาน. ๖๘๑/๑๙๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 989
เมื่อเราเพ่งฌานอยู่ในมณฑปก็ดี ที่โคนไม่ก็ดี ในเรือน ว่างก็ดี ความสะดุ้งย่อมไม่มีแก่เรา เราไม่เห็นภัยที่น่าหวาด กลัวเลย.
ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ ผู้เลิศ กอปรด้วยพระกรุณา เป็นมุนี ทรงยังแสงสว่างแห่งญาณให้ โชติช่วง เสด็จอุบัติในโลก.
โดยรอบอาศรมของเรา มียักษ์ (เทวดา) ผู้มีฤทธิ์อยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐอุบัติชั้นแล้ว ยักษ์บอกกะเราใน กาลนั้นว่า
พระพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ ผู้มีพระจักษุ เสด็จ อุบัติแล้วในโลก ทรงยังหมู่สัตว์ทั้งปวงให้ข้าม แม้ท่าน พระองค์ก็จักทรงให้ข้ามได้.
ขณะนั้นเราฟังคำของยักษ์แล้วมีความสลดใจ คิดอยู่ว่า พุทโธ พุทโธ เก็บอาศรมไว้ ทิ้งฟืนสำหรับบูชาไฟ และ เก็บสันถัต ไหว้อาศรมแล้ว ออกจากป่าใหญ่.
เราถือเอาไม้จันทน์จากที่นั้น จากบ้านนี้ไปบ้านโน้น จาก เมืองนี้ไปเมืองโน้น แสวงหาพระพุทธเจ้าอยู่ ได้เข้าไปเฝ้า พระองค์.
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธ ผู้นำของ โลก ทรงประกาศสัจจะ ๔ ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ตรัสรู้อยู่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 990
เราประนมกรอัญชลีเหนือเศียรเกล้า กระทำวันทนาการ ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
เมื่อต้นมะลิซ้อนดอกบาน กลิ่นหอมฟุ้งไปในที่ใกล้ ข้าแต่ พระวีรเจ้า พระองค์มีกลิ่นคือคุณ หอมขจรไปทั่วทิศ. เมื่อต้นจำปา ต้นกระถิ่นพิมาน ต้นอุโลก ต้นการะเกด และต้นรังกำลังดอกบาน กลิ่นหอมฟุ้งไปตามลม.
ข้าพระองค์สูดกลิ่นของพระองค์จากภูเขาหิมวันต์มาจนถึง ที่นี่ ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ผู้เชษฐบุรุษของโลก ทรงมียศมาก ข้าพระองค์ขอบูชาพระองค์.
เราไล้ทาพระพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ ผู้นำของโลก ด้วยแก่นจันทน์อันประเสริฐ ยังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว ได้ยืนนิ่งอยู่ ณ ที่นั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธ เชษฐบุรุษของโลก ผู้ประเสริฐกว่านระ ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์แล้ว ได้ ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ผู้ใดสรรเสริญคุณของเรา และได้บูชาเราด้วยแก่นจันทน์ เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจึงฟังเรากล่าว
ผู้นี้จักเป็นผู้กล่าวถ้อยคำที่ควรเชื่อถือได้ เป็นพรหม เป็น ผู้ซื่อตรง มีตบะ จักมีรัศมีอันสว่างไสวตลอด ๒๕ กัป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 991
จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอค ๒๖,๐๐๐ กัป จักได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิราช ๑,๐๐๐ ครั้ง.
จักได้เป็นจอมเทวดาเสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๓๓ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้.
คนผู้นี้จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว จักถึงความเป็นมนุษย์ ประกอบด้วยบุญกรรม จักเป็นบุตรพรหมณ์.
จักได้เป็นศิษย์ของพราหมณ์ชื่อว่าพาวรี ผู้เล่าเรียนทรง จำมนต์ ถึงที่สุดแห่งไตรเพท ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๓ ประการ.
จักเป็นผู้รู้จบมนต์ จักได้เข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า โคดมศากยบุตร.
ได้ทูลถามปัญหาอันละเอียด ยังใจให้โสมนัส กำหนดรู้ อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
เราดับไฟ ๓ กองได้สิ้นแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพขึ้นได้ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.
การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 992
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระโตเทยยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.
จบโตเทยยเถราปทาน
๔๐๘. อรรถกถาโตเทยยเถราปทาน
พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-
อปทานของท่านพระโตเทยยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ราชาสิ วิชโย นาม ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชาสิ วิชโย นาม ความว่า ตั้งแต่ เวลาเป็นหนุ่ม คือ ตั้งแต่เวลาที่ชนะสงครามทุกอย่าง ได้เป็นพระราชา พระนามว่า วิชัย เพราะทรงทำประชาชนให้ยินดี คือให้ติดใจ ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการแล. บทว่า เกตุมตีปุรุตฺตเม ความว่า ธงแผ่นผ้า ท่านเรียกว่า เกตุ, อีกความหมายหนึ่ง เสาหลักอันมีค่ามากดุจรัตนะ ที่ เขายกขึ้นปักไว้ตรงท่ามกลางพระนคร เพื่อให้พระนครสวยงาม ธงเหล่า นั้น เขายกขึ้นเป็นประจำ สวยงาม ย่อมมีแก่เนืองนั้น เหตุนั้น จึงชื่อ ว่า เมืองเกตุมดี. ชื่อว่า ปุรํ เพราะทำใจของประชาชนทั้งหมดให้เต็ม อิ่มด้วยทรัพย์และธัญชาติ เกตุมตีศัพท์ ๑ ปุระนั้นศัพท์ ๑ และอุตตมะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 993
ศัพท์ที่หมายความว่าประเสริฐศัพท์ ๑ รวมกันเป็น เกตุมตีปุรุตฺตมํ. ใน ท่ามกลางพระนครเกตุมดีอันอุดมนั้น. บทว่า สุโร วิกฺกมสมฺปนฺโน เชื่อม ความว่า พระราชาพระนามว่า วิชัย ทรงเป็นผู้กล้าหาญ สมบูรณ์ด้วย พระวิริยภาพ ประทับอยู่แล้ว เรื่องที่พระราชาทรงละทิ้งเมืองที่เป็นเช่นนี้ วัตถุและพาหนะทั้งหมด เข้าป่าหิมวันต์ บวชเป็นฤาษีอยู่ ได้พบเห็น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธ เกิดความโสมนัสใจ ทำการบูชา ด้วยไม้จันทร์ นี้เท่านั้นเป็นเรื่องที่แปลกกัน.
จบอรรถกถาโตเทยยเถราปทาน