พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ชตุกัณณิกเถราปทานที่ ๙ (๔๐๙) ว่าด้วยผลแห่งการบํารุงพระพุทธองค์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 พ.ย. 2564
หมายเลข  41412
อ่าน  446

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 993

เถราปทาน

เมตเตยยวรรคที่ ๔๑

ชตุกัณณิกเถราปทานที่ ๙ (๔๐๙)

ว่าด้วยผลแห่งการบํารุงพระพุทธองค์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 993

ชตุกัณณิกเถราปทานที่ ๙ (๔๐๙)

ว่าด้วยผลแห่งการบำรุงพระพุทธองค์

[๔๑๑] ในกาลนั้น เราเป็นบุตรเศรษฐีอยู่ในนครหังสวดี เพียบ พร้อมแวดล้อมอยู่ด้วยกามคุณทั้งหลาย.

ในกาลนั้น เราขึ้นอยู่ในปราสาท ๓ หลัง ใช้สอยโภคสมบัติมากมาย แวดล้อมด้วยการฟ้อนรำขับร้องอยู่ในปราสาท นั้น.

นักดนตรีอันประกอบด้วยเครื่องประโคมอย่างดีมาประโคม เรา หญิงทั้งปวงบำเรอมา นำเอาใจของเราไป.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 994

นักเจลาวกา นักวามนิกา กุญชวาสีหิมัชฌิตา๑ นักห้อยโหน นักจำอวด ย่อมแวดล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.

คนเฝ้ายาม คนตีกลอง นักเต้นรำ นักฟ้อนรำ ละคร และ พวกดีดสีตีเป่าเป็นอันมาก แวดล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.

นายภูษามาลา คนรับใช้เมื่ออาบน้ำ พ่อครัว ช่างดอกไม้ สุปาสกา ช่างกัลบกและนักมวย ทั้งหมดแวดล้อมเราอยู่ทุก เมื่อ.

เมื่อคนเท่านั้นแสดงกีฬาอยู่ เมื่อเราชื่นชมการบำเรอที่ คนเหล่านั้นทำ เราย่อมไม่รู้คืนและวัน เปรียบเหมือนพระอินทร์ในดาวดึงส์.

คนเดินทาง คนกำพร้า คนขอทาน นักสู้ (นักเที่ยว) เป็นอันมาก ย่อมเข้ามาของเราจนถึงเรือนเป็นนิตย์.

สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นบุญเขตอย่างยิ่ง เมื่อ จะยังบุญของเราให้เจริญ ย่อมมาจนถึงเรือนเรา.

พวกนิครนถ์นุ่งผ้าลฏุกา เอาดอกไม้กรองนุ่ง ถือไม้ ๓ อัน ขมวดผมรวมกัน ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.

พวกอาชีวกถอนผม ถือว่าตนประเสริฐ เกลือกลั้วด้วย ละอองธุลีเหล่านี้ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.


๑. ม. กุญฺชวาสี ติมชฺฌิกา.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 995

ปริวตฺตกา สิทฺธิปตฺตา โกธปุคฺคนิกา พหู ตปสี วนจารี จ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.

คนตาบอด คนทมิฬ สากุฬา มลยาฬกา สวรา โยนกา เจว ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.

คนฺธกา มุณฺฑกา สพฺเพ กุฏฺลา สานุวินฺทกา อาราวจีนรฏฺา จ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.

อลสนฺทกา ปลฺลวกา ปพฺพตานคฺคมารุหา พาหิกา เจตปุตฺตา จ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.

ชาวมธุรรัฐ ชาวโกศลรัฐ ชาวกาสี ชาวหัตถิบุรี ชาวอิสินทรัฐ ชาวมักกลรัฐ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.

เจลาวกา อารมฺพา จ โอภาสา เมฆลา พหู ขุทฺทกา สุทฺทกา เจว ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.

โรหกา สินฺธวา เจว จิตฺตกา เอกกณฺณิกา สุรฏฺา อปรนฺตา จ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.

ช่างสาน ช่างหูก ช่างหนัง ช่างถาก คนงาน และ ช่างหม้อ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.

ช่างแก้ว ช่างเหล็ก ช่างทอง ช่างเย็บผ้า และช่างดีบุก ทั้งหมดนั้น ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 996

ช่างศร ช่างกลึง คนรับใช้ส่งของ ช่างปรุงของหอม ช่างย้อม และช่างชุน ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.

คนขายน้ำมัน คนหาฟืน คนหาบน้ำ คนรับใช้ คนหุงต้ม คนตักน้ำ ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.

คนเฝ้าประตู ทหารช่างกรองดอกไม้ คนทิ้งดอกไม้ ควาญช้าง คนเลี้ยงช้าง ย่อมมาหาเราจนถึงเรือน.

เราได้ถวายแด่พระราชาพระนามว่า อานันทะ ทุกอย่าง เรายังความพร่องด้วยรัตนะมีวรรณะ ประการให้เต็ม.

คนทั้งหมดมากด้วยกัน มีวรรณะต่างกันเหล่าใด ที่เรา ตั้งไว้แล้ว เรารู้จิตของคนเหล่านั้นแล้ว ให้เขาอิ่ม (พอใจ) แม้ด้วยรัตนะ.

เมื่อดนตรีมีเสียงไพเราะบรรเลงอยู่ เมื่อกลองดังก้องอยู่ เมื่อสังข์เขาเป่าอยู่ เรารื่นรมย์อยู่ในเรือนของตน.

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระองค์ผู้มีจักษุ พร้อมด้วยภิกษุขีณาสพประมาณแสนรูป เสด็จดำเนินรูปตามถนนด้วยกัน ทรงยังทิศทั้งปวงให้สว่าง โชติช่วง เหมือนต้นไม้ประจำทวีป.

เมื่อพระองค์ผู้นำของโลกกำลังเสด็จไป กลองทั้งปวง ยังดังก้องอยู่ รัศมีของพระองค์สว่างไสวดุจพระอาทิตย์อุทัย ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 997

ขณะนั้น แสงสว่างจ้าส่องเข้ารูปภายในเรือนของเรา ด้วย พระรัศมีที่ส่องเข้าไปทางช่องหน้าต่าง เราเห็นพระรัศมีของ พระพุทธเจ้าแล้ว ได้กล่าวกะพวกบริษัทว่า พระพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐสุด เสด็จมาถึงถนนนี้แน่แล้ว.

เรารีบลงจากปราสาทแล้ว ได้รูปสู่ระหว่างถนน ถวาย บังคมพระสัมพุทธเจ้า รู้ทราบทูลดังนี้ว่า

ขอพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงอนุเคราะห์ ข้าพระองค์ พระมุนีพระองค์นั้น พร้อมด้วยพระอรหันต์แสน รูป ทรงรับนิมนต์.

ครั้นเรานิมนต์พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้นำพระองค์มาสู่ เรือนของตน อังคาสพระมหามุนีให้ทรงอิ่มหนำ ด้วยข้าวและ น้ำในเรือนนั้น.

เรารู้เวลาที่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้คงที่ กำลังเสวย ได้บำรุงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ด้วยการขับร้องและดนตรี.

พระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ควรรับเครื่องบูชา ประทับนั่งอยู่ภายในเรือน ได้ตรัสพระ คาถาเหล่านี้ว่า

ผู้ใดบำรุงเราด้วยดนตรี และได้ถวายข้าวน้ำแก่เรา เราจัก พยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงพึงเรากล่าว คนผู้นี้จักเป็นผู้ มีอาหารมากมาย มีเงิน มีโภชนะ เสวยรัชสมบัติผู้เดียวใน ทวีปทั้งสี่.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 998

จักสมาทานศีล ๕ ยินดีในกรรมบถ ๑๐ ครั้นสมาทานแล้ว ก็ประพฤติ ยังบริษัทให้ศึกษา.

สตรีสาวแสนคน อันประดับประดาสวยงาม จักบรรเลง ดนตรีบำเรอผู้นี้อยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการบำรุง.

ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็น จอมเทวดา เสวยรัชสมบัติในเทวโลก ๖๔ ครั้ง.

จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๔ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า ประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้.

ในแสนกัปแต่กัปนี้ พระศาสดามีพระนามว่า โคดม จักทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากรา เสด็จอุบัติในโลก.

ผู้นี้เข้าถึงกำเนิดใด คือ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ จักมีโภคะ ไม่บกพร่อง.

จักเป็นผู้เล่าเรียน รู้จบไตรเพท จักเที่ยวแสวงหา ประโยชน์อันสูงสุดอยู่ในแผ่นดินในกาลนั้น.

และภายหลัง เขาบวชแล้ว อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จัก ยินดียิ่งในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โคดม.

ผู้นี้จักยังพระสัมพุพธเจ้าพระนามว่า โคดมศากยบุตร ให้ โปรดปราน เผากิเลสทั้งหลายแล้ว จักได้เป็นพระอรหันต์.

วันนี้ เราเป็นผู้ไม่ครั่นคร้ามอยู่ในศาสนาของพระศากยบุตร เปรียบเหมือนพญาเสือโคร่ง และพญาไกรสรราชสีห์ ในป่าใหญ่ฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 999

เราไม่เห็นการบังเกิดของเราในเทวโลกก็ดี ในมนุษยโลก ก็ดี เป็นคนยากจนหรือเข็ญใจเลย นี้เป็นผลแห่งการบำรุง.

เราเป็นผู้ขวนขวายในวิเวก สงบระงับ ไม่มีอุปธิ ตัดกิเลส เครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนขึ้นรู้ทั้งหมดแล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกดังช้างตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

การที่เราได้มาในสำนักพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นการ มาดีแล้วหนอ วิชชา ๓ เราบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของ พระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้ว.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระชตุกัณณิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบชตุกัณณิกเถราปทาน

๔๐๙. อรรถกถาชตุกัณณิกเถราปทาน

พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ ๙ ดังต่อไปนี้:-

อปทานของท่านพระชตุกัณณิกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นคเร หํสวติยา ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 20 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 1000

ในเรื่องนั้น ท่านเป็นบุตรของเศรษฐี การได้อยู่ในสุวรรณปราสาท การได้อยู่เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ การได้รู้ถึงศิลปะทุกอย่าง ของผู้อยู่ในทุกถิ่น และการมาคบหาสมาคมกัน (ทั้งหมด) จัดว่าเป็น ความแปลกกันแล.

จบอรรถกถาชตุกัณณิกเถราปทาน